ข้อดีข้อเสีย "การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน"

ทางโครงการ มีจดหมายแจ้งประชุมเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน เลยอยากทราบว่า

– มีขั้นตอน และกระบวนการอย่างไร
– แล้วหน้าที่ความรับผิดชอบ ของนิติบุคคลมีอะไรบ้าง
– มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
– ถ้าแบบนี้แสดงว่าทางโครงการไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อโครงการนี้แล้วหรือไม่

ขอความคิดเห็นเพิ่มเติม สิ่งที่ต้องระวัง หรือควรให้ความสำคัญในการจัดตั้ง

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

By: tgclub
Since: 24 ก.ค. 55 14:39:46

13 thoughts on “ข้อดีข้อเสีย "การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้าน"

  1. admin Post author

    ถ้าอยู่เขต กทม ลองศึกษาเรื่องการจัดตั้งเป็นชุมชน ดูครับ

    By: พ่อน้องแนนท์
    Since: 24 ก.ค. 55 15:03:00

  2. admin Post author

    ขอถามคำถามพ่วงด้วยนะคะ

    ที่ต่างจังหวัดหมู่บ้านเราก็มีหนังสือแจ้งมาว่าจะทำเรื่องเป็นเขตชุมชน ให้ผู้ต้องการสมัครเป็นผู้แทนชุมชนไปเข้าฟังรายละเอียดที่เขตเทศบาลเร็วๆนี้ ยังไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันค่ะว่าเหมือนหรือแตกต่างจากนิติบุคคลอย่างไร

    By: meyamotim
    Since: 24 ก.ค. 55 16:17:50

  3. admin Post author

    ข้อดีในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

    1.รับโอนทรัพย์สินและสาธารณูปโภคในโครงการจากผู้จัดสรรที่ดินมาเป็นของผู้ซื้อบ้านทุกๆ คน อาทิ โฉนดที่ดินแปลงที่เป็นถนน ทางเท้า สวนพักผ่อน สนามเด็กเล่น เป็นต้น

    2.ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนทรัพย์สินและภาษีอากรจากรัฐ ไม่ว่าในส่วนที่กรมที่ดินเรียกเก็บขณะทำนิติกรรมหรือภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร

    3.เจ้าของกรรมสิทธิ์ทุกรายในโครงการมีส่วนร่วม ในการบริหารงานหมู่บ้าน ตั้งแต่ออกกฎระเบียบที่ใช้ในชุมชนการออกสิทธิ ออกเสียงคัดค้าน หรือให้ความเห็นชอบในที่ประชุมใหญ่ รวมทั้งการแต่งตั้งสมาชิกคนหนึ่งคนใดเป็นคณะกรรมการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

    4.ปัญหาความเดือดร้อนรำคาญจะได้รับการแก้ไขให้ลดน้อยลงไป ไม่ว่าจะเป็นการตั้งอุปกรณ์หาบเร่แผงลอยที่วางระเกะระกะบนถนนทางเท้า เป็นต้น เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านมีอำนาจหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย

    5.ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา อีกทั้งบริการสาธารณะที่ชำรุดทรุดโทรม จะมีงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม

    6.มีกฎหมายจัดระเบียบชุมชนเป็นของตนเอง ซึ่งเรียกว่าข้อบังคับของหมู่บ้าน

    7.สร้างความเป็นธรรมและพิทักษ์ความสะอาด ความปลอดภัยให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    8.มูลค่าทรัพย์สินจะทวีเพิ่มขึ้นในระยะยาว ภายหลังจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว

    By: sorosto (sorosto)
    Since: 24 ก.ค. 55 16:57:15

  4. admin Post author

    ข้อเสียในการไม่จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

    1.คณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการจัดระเบียบชุมชนของตนเอง เนื่องจากไม่ได้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

    2.คณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทย์ฟ้องร้องแทนสมาชิกในกรณีที่มีผลกระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกภายในหมู่บ้าน

    3.การเรียกเก็บค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายส่วนกลางจากท่านสมาชิก ไม่ได้รับความร่วมมือชำระค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนงบประมาณในการบริหารงานหมู่บ้าน

    4.ไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม/บำรุงรักษา ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา อีกทั้งการบริการสาธารณะที่ชำรุดทรุดโทรม

    5.มูลค่าทรัพย์สินภายในหมู่บ้านจะลดลง จากที่เคยซื้อมาราคาแพง เวลาขายจะไม่ค่อยได้ราคา เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านไม่ได้รับการดูแลรักษา

    6.ผู้จัดสรรที่ดิน โอนทรัพย์สินที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้กับหน่วยงานราชการ เพื่อให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ทำให้ไม่สามารถควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้านไว้ได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ บุคคลภายนอกสามารถผ่านเข้าออกได้ หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทำให้ถนนหนทางชำรุดทรุดโทรม

    7.ปัญหาความเดือดร้อนของท่านสมาชิกไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของท่านสมาชิกได้

    8.พื้นที่ส่วนกลางสกปรกเลอะเทอะ ไม่มี ผู้ควบคุมดูแล รวมทั้งไม่มีงบประมาณในการ จัดจ้างพนักงานรักษาความสะอาด

    9.เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ส่วนกลางมาเป็นพื้นที่ส่วนตัว หาบเร่ แผงลอย ของระเกะระกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ปัญหาสุนัขที่มีเจ้าของและสุนัขจรจัดภายในหมู่บ้านถ่ายมูลเลอะเทอะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทั้งหมดหลายๆ หมู่บ้านไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากไม่มีระเบียบควบคุมไว้อย่างชัดเจน

    By: sorosto (sorosto)
    Since: 24 ก.ค. 55 16:58:06

  5. admin Post author

    1 ข้อดีตามความเห็นข้างบน
    2 ข้อเสียโดยสรุปมีอย่างเดียว คือสมาชิกมีหน้าที่ชำระค่าสาธารณูปโภค
    3 ผู้จัดสรรที่ดิน (เจ้าของโครงการ) พ้นภาระรับผิดชอบค่าสาธารณูปโภค
    4 ขั้นตอนกระบวนการโดยสรุป การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
      สมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีมติ 1 จัดตั้งนิติบุคคลฯ  2 เห็นชอบข้อบังคับ
      3 แต่งตั้งตัวแทนยื่นจดทะเบียน
    ซึ่งโดยทั่วไปผู้จัดสรรจะจ้างบริษัทบริหารเข้าดำเนินการให้
    5 หน้าที่ความรับผิดชอบแบบกว้างๆของนิติบุคคลฯ คือรับมอบ และดูแลสาธารณูปโภค
    และบริการสาธารณะ ตลอดจนทรัพย์สิน/พื้นที่ส่วนกลาง

    By: ภูมิพลัง
    Since: 24 ก.ค. 55 17:07:18

  6. admin Post author

    #2 และ #7

    ไม่มีนิติฯ แล้วมีหลักประกันอะไรหรือมีกฏหมายใดรองรับหรือไม่? ว่าจะไม่มีหน่วยงาน, องค์กรอื่นใด มาเก็บเงินจากเราไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใดๆ

    จริงๆแล้ว ต้องเปรียบเทียบระหว่างจ่ายแล้วตรวจสอบได้ กับจ่ายแล้วตรวจสอบไม่ได้ ถึงจะถูก

    สรุป ไม่มีข้อเสียค่ะ

    By: ม่วยถ่าว
    Since: 25 ก.ค. 55 07:58:21

  7. admin Post author

    ทุกวันนี้ทางเจ้าของโครงการยังดูแลอยู่ และต้องการผลักภาระตรงนี้ให้กับลูกบ้าน จึงพยายามจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อถ่ายโอนความรับผิดชอบ

    – มีขั้นตอน และกระบวนการอย่างไร
     ถ้าโครงการเสนอให้จัดตั้ง เขาจะช่วยจัดการให้เอง

    – แล้วหน้าที่ความรับผิดชอบ ของนิติบุคคลมีอะไรบ้าง
     หลักการคือดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ของหมู่บ้าน รายละเอียดสามารถสอบถามโครงการได้

    – มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
     ข้อดีคือมีคณะกรรมการคอยดูแลหมู่บ้าน แต่ข้อเสียคือมีการเก็บค่าส่วนกลาง

    – ถ้าแบบนี้แสดงว่าทางโครงการไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อโครงการนี้แล้วหรือไม่
     ใช่ แต่ถ้านิติบุคคลที่มีความรู้และเก่ง ๆ จะมีการต่อรองกับโครงการ เช่น โครงการต้องการโอนสาธารณูปโภคให้นิติบุคคลดูแล แต่ถ้านิติบุคคลเก่ง ๆ จะมีการตรวจสอบถนน หากพบจุดไหนชำรุดจะแจ้งให้เจ้าของโครงการแก้ไขก่อนค่อยรับโอน ไม่อย่างนั้นก็ต้องดูแลกันต่อไป หรือให้จัดสวนส่วนกลางให้สวยก่อนค่อยรับโอน เป็นต้น

    By: TLL01
    Since: 25 ก.ค. 55 10:00:34

  8. admin Post author

    ในความคิดผม มีนิติบุคคล ผมชอบตรงที่ว่า ใครๆไม่สามารถเข้าออกหมู่บ้านได้ตามอำเภอใจ ถ้าเป็นของเทศบาล ก็หมายถึง ของสาธารณะ นั่นก็คือ ใครๆก็สามารถเข้ามาในหมู่บ้านได้ อย่างนี้ รถขายของก็เพียบ (เหตุผลส่วนตัวนะครับ)
    ส่วนค่าส่วนกลาง ก็เสียเป็นเรื่องปกติ ซื้อบ้าน ราคาหลายล้าน เสียค่าส่วนกลางเพิ่มอีกนิด จะเป็นไร เพราะผมไม่คิดว่า คนที่ซื้อหมู่บ้านจัดสรร อยากจะให้ คนภายนอก เข้าๆออกๆ มั่วไป มั่วมา สักเท่าไร

    By: emm&pla
    Since: 25 ก.ค. 55 10:55:11

  9. admin Post author

    ข้อเสียที่เห็นกันในหลายหมู่บ้านคือ คนที่เข้ามาเป็นกรรมการมักเล่นพรรคเล่นพวก ทะเลาะกันจนเละ

    By: MirrorLake
    Since: 25 ก.ค. 55 15:20:59

  10. admin Post author

    ทางโครงการขายหมดแล้ว เขาจะมาดูแลเราทำไมละครับ
    ขืนต้องดูแลต่อไปเรื่อยๆจะเอาเงินที่ไหนมาดูแล
    จะเก็บเงินจากลูกบ้านก็ไม่มีกฏหมายรองรับใครจะไม่จ่ายก็ได้

    เข้าใจว่าถ้าเป็นหมู่บ้านรุ่นใหม่ เขาบังคับจดนิติบุคคลอยู่แล้ว

    By: charlee-k
    Since: 27 ก.ค. 55 13:05:40

Leave a Reply