ต่อหลังคาระเบียงหน้าบ้านค่ะ

รบกวนผู้รู้ห้องชายคาช่วยดูการต่อหลังคาระเบียงหน้าบ้านให้ จขกท หน่อยค่ะ

หลังคาของเก่าเป็นซีแพคค่ะ  แต่ผู้รับเหมาเอาหลังคาไตรลอนต่อยื่นออกมาตรงส่วนระเบียงหน้าบ้านค่ะ

ผรม ทำการต่อหลังคาให้แบบนี้ถูกต้องหรือเปล่าค่ะ

จากกระทู้เก่า

http://www.pantip.com/cafe/home/topic/R12239515/R12239515.html#20

By: เก้าอี้น้อย
Since: 28 มิ.ย. 55 09:30:55

21 thoughts on “ต่อหลังคาระเบียงหน้าบ้านค่ะ

  1. admin Post author

    รูปที่ ผรม ทำการต่อหลังคาหน้าบ้านให้ค่ะ
     
    สังเกตจากโครงเหล็กสีแดงเดิม  

    ช่างทำการต่อหลังคาโดยการตัดกระเบื้องหลังคา (อันที่ทำการมุงใหม่)ค่ะ

    By: เก้าอี้น้อย
    Since: 28 มิ.ย. 55 09:36:50

  2. admin Post author

    มีรูยาวตลอดแนวหลังคาหน้าบ้านในส่วนระเบียง

    By: เก้าอี้น้อย
    Since: 28 มิ.ย. 55 09:38:28

  3. admin Post author

    ขอสอบถามว่า  ผรม ทำวิธีนี้ถูกต้องหรือเปล่าค่ะ

    ควรให้รื้อหลังคาใหม่หรือเปล่าค่ะ  เห็นแต่ละรูใหญ่มาก ๆ ค่ะ

    กลัวน้ำจะรั่วในอนาคตค่ะ

    By: เก้าอี้น้อย
    Since: 28 มิ.ย. 55 09:39:51

  4. admin Post author

    เรื่องหลังคา ถ้าเป็นผมจะต่อจันทันยื่นออกไปในองศาเดิมครับ
    ตรงรอยต่อจะเพิ่มเหล็กประกับจุดเชื่อม
    ถ้าตั้งเสารับอะเสเพิ่มไม่ได้
    ก็จะ bracing จันทันให้แข็งแรงขึ้น
    (เหล็กเชื่อมโยงยึดจันทันให้คล้ายโครงถัก)

    รอความเห็นท่านต่อไปนะครับ…..

    By: ขาประจำบัตรผ่าน
    Since: 28 มิ.ย. 55 09:52:54

  5. admin Post author

    ตามหลักแล้ว ควรตัดและต่อในองศาเดิมครับ จะทำให้กระเบื้องใหม่และเก่า แนบสนิทกัน ไม่มีช่องห่างทำให้เกิดการรั่วเมื่อลมแรงขณะฝนตกครับ

    By: Moonlight Sonata
    Since: 28 มิ.ย. 55 10:39:44

  6. admin Post author

    ถูกตามมาดู

    งานโครงสร้าง ห่างเหินมานานแล้วจ้ะ
    ขอตอบแบบใช้สายตา ไร้ทฤษฎีแล้วกันนะ

    มองแปลกๆมาก แปตัวสุดท้ายดูเหมือนจะใช้เหล็กCทำฝ้าใช่ไหมน่ะ
    คาน,จันทัน ก็เหมือนๆจะใช้เหล็กกล่องสองนิ้วเอง
    จะเซฟไปถึงไหนกัน
    ถามว่ายอมได้ไหม มันก็ไม่แอ่นจนเกินไป แต่ห้ามคนไปเหยียบหลังคาช่วงปลายก็แล้วกัน

    รูเห็นไม่ชัด อยู่ที่ปลายเหล็กแดงๆใช่ไหม หากใช่ก็ต้องรื้อล่ะ

    By: ต้นโพธิ์ต้นไทร
    Since: 28 มิ.ย. 55 10:43:07

  7. admin Post author

    เท่าที่เคยออกแบบ พวกอาคารจัดสรร ทาวเฮาส์ ตึกแถว
    เจ้าของโครงการมักจะให้รีดตัววัสดุให้ใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
    หรือเรียกว่าให้ใช้วัสดุเล็กและประหยัดที่สุดเท่าที่กฎหมายจะยอมให้
    ส่วนเปอร์เซ็นต์ของความความปลอดภัย (Safety Factor)
    ที่ผู้ออกแบบต้องคำนวณตามข้อกฏหมายนั้น
    หลายๆ ทานมักจะคิดว่า "วิศวกรเผื่อไว้แล้ว" จึงไม่ต้องกลัวอะไร

    ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว
    Safety Factor ที่มีอยู่นั้น เป็นการเผื่อที่มักจะถูกใช้ในระหว่างการก่อสร้างไปแล้ว
    อันเนื่องจากการใช้วัสดุ และวิธีการที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ตรงตามที่คนวณออกแบบไว้

    ยกตัวอย่างเช่น คอนกรีตผสมเสร็จ ออกแบบไว้ 210 ksc.
    เมื่อทำการเก็บตัวอย่างตามขั้นตอน แบบหล่อสะอาด
    โดยมีการกระทุ้งเป็นชั้นๆ ตามข้อกำหนด และบ่มน้ำไว้ตลอด
    เมื่อทำการทดสอบแรงอัด ก็มักจะใกล้เคียงตามที่ออกแบบไว้ คือ ไม่น้อยกว่า 210 ksc.

    แต่ในความเป็นจริงของการทำงานก่อสร้างในบ้านเรานั้น มันแย่กว่านั้นมากครับ
    โดยเฉพาะงานก่อสร้างโครงการต่างๆ มีการผสมน้ำเพิ่ม แบบหล่อสกปรก
    การจี้คอนกรีต การบ่มแบบมักง่าย ฯลฯ
    เรียกได้ว่าสภาพจริงแตกต่างจากวิธีที่เก็บตัวอย่างไว้มาก  
    เคยมีอาจารย์บางท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านเคยเจาะเอาตัวอย่างคอนกรีตที่เทไว้จริง
    มาทดสอบแรงอัดดู หลายครั้งพบว่าเหลือไม่ถึง 100 ksc.

    นี่ยังไม่พูดถึงกรณีของการแอบลดสเปกของผู้รับเหมาต่างๆ
    เช่น ใช้เหล็กบาง เหล็กไม่เต็ม  ใส่ไม่ครบจำนวน  ระยะไม่ถูกต้อง ฯลฯ

    นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผมอยากให้หลายๆ ท่านที่ยังคิดว่า "วิศวกรเผื่อไว้แล้วนั้น"
    ได้ทราบว่า เป็นการเผื่อสำหรับในขั้นตอนการก่อสร้าง และส่วนที่เผื่อนั้นมักจะถูกใช้ไปแล้ว

    งานที่เผื่อไว้สำหรับการใช้งาน จริงๆ ก็มีครับ
    แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานออกแบบและก่อสร้างเฉพาะประเภท  เช่น การออกแบบโรงงาน หอสมุด หอประชุม
    หรืออาคารอเนกประสงค์ต่างๆ ที่วิศวกรได้รับข้อมูลมาว่าอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเป็นอย่างอื่น  ก็จะมีการออกแบบเผื่อไว้

    แต่ในงานประเภทโครงการต่างๆ นั้น เท่าที่พบเห็น ก็อย่างที่กล่าวไว้แต่ต้นว่า
    มักจะถูกรีดมาแล้ว เพื่อให้ประหยัดต้นทุนมากที่สุด
    จึงอย่าพยายามคิดว่าจะใช้ส่วนที่วิศวกรเผื่อไว้เลยครับ
    มันอาจจะมีเหลืออยู่ก็ได้ แต่จะมากจะน้อยเท่าใด นั้นไม่ทราบได้

    By: Penguin Knight
    Since: 28 มิ.ย. 55 11:09:37

  8. admin Post author

    ย้อนกลับมาที่คำถามของ จขกท.
    เหล็กจันทันที่ยื่นมานั้น
    ขนาด-ความหนา-จำนวน
    มันคงจะถูกออกแบบไว้ให้รับน้ำหนักเท่าที่ออกแบบไว้แต่แรก
    (ยังไม่ได้คิดถึงกรณีที่ ผรม.อาจใช้เหล็กไม่ได้ความหนาตามที่ออกแบบ)

    ลักษณะการต่อเติมดังกล่าว จึงไม่ถูกต้องครับ
    ควรจัดชุดโครงสร้างหลังคาใหม่ไม่เกี่ยวกับโครงสร้างเดิมจะดีกว่าครับ

    โครงสร้างเหล็กโดยทั่วไปไม่ได้พังง่ายๆ ครับ
    แต่ลองคิดถึงว่าตอนนี้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และมีฝนตกลมแรงๆ
    มันก็จะแอ่น เสียรูป  เมื่อแอ่น เสียรูป ก็มีผลต่อพวกหลังคา
    ซึ่งต้องการแนวและระดับสำหรับความสวยงามและการระบายน้ำ
    โดยเฉพาะพวกกระเบื้องลอนที่บางและเปราะ เมื่อโดนแดดฝนนานๆ จะเปราะง่าย
    ก็อาจมีปัญหาหลังคารั่วซึมได้ในอนาคต

    By: Penguin Knight
    Since: 28 มิ.ย. 55 11:21:13

  9. admin Post author

    ตอนนี้ฝนตกแทบทุกวัน หนักบ้างเบาบ้าง รั่วหรือไม่ก็รู้ทันที

    By: KittySP
    Since: 28 มิ.ย. 55 13:45:18

  10. admin Post author

    มีผู้รู้ที่ใจดีช่วยแนะนำมาดังนี้ค่ะ  ไม่ทราบว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้หรือเปล่าค่ะ

    ให้ช่างนำปูนผสมน้ำยากันซึมเยอะหน่อยแล้วอุดเข้าไป
    จากนั้นเมื่อปูนแห้งนำ sista กันซึมหลังคาทาทับอีกรอบ
    จากนั้นทาสีหลังคา proof steal ของ Toa ทับอีกชั้นก็จะหมดปัญหารื่องการรั่วซึมแล้ว

    ไม่ทราบว่าท่านอื่นมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างค่ะ  ขอบคุณค่ะ

    By: เก้าอี้น้อย
    Since: 28 มิ.ย. 55 13:57:33

  11. admin Post author

    หลังคาเดิมมันเป็นซีแพค ไปต่อด้วยลอนคู่ มันก็ต้องลดระดับลงแบบนั้นแหล่ะนะ
    เพราะแปมันไม่เท่ากัน แถมยังต้องดันเข้ามาใต้ซีแพคเดิมอีก

    ดูจากระยะที่ต่อไปแล้ว เจอลมแรง ฝนหนักๆ
    มีลุ้นเลยล่ะนะ มันยาวเกิ๊น

    … มันน่าจะเสริมอเสเหล็กตรงช่วงที่ต่อจันทันออกไป
    แล้วค้ำยันอเสไว้กับเสาเป็นช่วงๆๆไป
    (แทนเจ้าไม้ยาวๆๆ ในรูป 3 อ่ะนะ)

    ยิ่งเอาปูนไปอุดตามร่องรอยต่อหลังคา ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่
    ระวังมันจะพังเสียก่อนจะเสร็จนะครับผม

    By: tzu149
    Since: 28 มิ.ย. 55 16:48:59

  12. admin Post author

    คุณครับ

    ผมว่างานต่อเติม (ที่คุณคิดว่า) เล็กเล็กนี้ มันจะก่อเหตุให้คุณมากกว่าที่ผมประเมินไว้
    ตอนที่ผมเห็นเสารับระเบียงของคุณ

    พอเห็นเหล็กโผล่ไปที่หลังคาแบบนั้น ประกอบกับมีบางท่านแนะนำว่า แผลแบบนี้ใช้ปูนอุดก็ได้
    ผมก็ประเมินได้ว่า ผลเสียจะเกิดกับการต่อเติมครั้งนี้ของคุณ

                                   ตั้งแต่ฝนแรก
    จะลองคิดดูใหม่ หาช่างใหม่ ปรึกษาผู้รู้จริง น่าจะหยุดปัญหาในอนาคตได้ดีกว่านี้นะครับ

    By: บาเยงนอง
    Since: 28 มิ.ย. 55 21:29:03

  13. admin Post author

    กำลังสงสัยเพิ่มเติมว่า ไอ้ไม้ยาวๆที่ตีขึ้นมานั่นเอาไว้ทำอะไร

    ยกเหล็กอยู่รึว่ายังไง จขกท ถ่ายรูปมาเพิ่มหน่อยได้รึเปล่าครับ

    เป็นไปได้อยากเห็นด้านหน้าแบบว่า ระยะองศาของหลังคาทั้งลอนคู่และไตรลอน

    ระยะทับซ้อนของหลังคาทั้งสองแบบ

    ดูแบบนี้มันเหมือนกับหลังคาทั้งสองอย่างไม่ทับกันและเหล็กที่ใช้คือเหล็กอะไร หนาเท่าไหร่ ?

    By: ข้าวปั้น /at/ ฮาเฮ
    Since: 28 มิ.ย. 55 21:42:21

  14. admin Post author

    Update รูปหน้าบ้านค่ะ  

    ผรมใจดี  ยอมแก้ไขเรื่องทับหลังของประตูอลูมิเนียมบานเลื่อนขนาดใหญ่ 3 เมตรให้แล้วค่ะ

    By: เก้าอี้น้อย
    Since: 28 มิ.ย. 55 22:41:00

  15. admin Post author

    เ้อ้อ…..

    น่าเป็นห่วง ครับ

    คือดูจากรูปการณ์แล้ว
    ลักษณะการทำงานแบบนี้
    มันเแป็นแบบ จำเอามาว่า เท่านี้ พอ  เท่าี้ ได้ ทำแบบนี้มาแล้ว ไม่พังหรอก  ใคร ๆ  เค้าก็ทำกันน่ะครับ

    บอกไปแบบนี้ ก็เกรงว่าเจ้าของกระทู้ไม่สบายใจอีก

    ช่างส่วนใหญ่ มักจะทำ ง่าย ๆ แบบนี้
    ด้วยคำพูดที่ว่า ทำมาเยอะแล้ว ไม่เป็นไรหรอก

    (แต่บ้านหลังที่เป็นน่ะเค้าอาจจะตามหาตัวช่างอยู่ก็ได้)

    ระยะยาว ไม่ค่อยมั่นใจกับการก่อสร้างลักษณะนี้เลย ครับ
    แรก ๆ  ก้อาจจะอยู่ดี สวยงาม
    แต่พอนานวันไป เหล้กจะเริ่มล้า เริ่มแอ่น ให้เห็น
    หลังคาเริ่มตกท้องช้าง
    เริ่มมีน้ำรั่วซึมบ้าง

    จะขึ้นไปซ่อมก็ โยกเยกไปมา

    แบบนี้ จะพาลให้สิ้นเปลืองได้อีกน่ะครับ

    แต่งานมาถึงขั้นนี้แล้ว จะเปลี่ยนแปลงก็คงเรื่องใหญ่
    ต้องคุยกับช่างว่า เพิ่มเติมด้อย่างไรจะดีกว่า

    แต่ทำี่สำคัญ ราคา ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
    จะไหวรึปลา่าวนี่สิครับ

    By: HiPex
    Since: 28 มิ.ย. 55 22:52:45

  16. admin Post author

    จากรูปเพิ่มเติม  เสาไม้นั่นไม่ได้เกี่ยวกับหลังคาเป็นตัวรับทับหลังเท่านั้น

    ส่วนกระเบื้องไตรลอน  อิกไปแค่แผ่นเดียว ( ถ้าดูไม่ผิด ) เหล็กที่เห็นเชื่อมยื่นออกไปมีเสารองรับทั้งสองฝั่ง

    ผมว่าไม่มีปัญหาเรื่องการพังครับ เพราะน้ำหนักลงน้อยมากและมีการขึ้นเสารองรับไว้แล้ว

    แต่เรื่องของระยะทับ องศาดูสูง น้ำจะย้อนมั๊ย มีวิธีกันน้ำย้อนรึเปล่า

    ลองปรึกษากับ ผรม ดูครับ ว่า ผรม มีวิธีกันน้ำย้อนยังไง

    หรือเปลี่ยนองศากระเบื้องแล้วใช้กระเบื้องโมเนียแทน จะทำให้ไม่มีรอยต่อของกระเบื้องสองชนิด

    ก็จะจบปัญหาเรื่องน้ำย้อนหรือน้ำซึมได้ครับ

    By: ข้าวปั้น /at/ ฮาเฮ
    Since: 29 มิ.ย. 55 06:19:59

  17. admin Post author

    รูปใน คห 16 – อิฐมวลเบา วางบนคานคอนกรีต รึว่า บน คานเหล็กครับ

    บ้านหลังนี้ น่ารัก น่าลุ้น – ช่างยิ้มน่ารัก

    ผมขอดูเมื่อบ้านเสร็จเรียบร้อย ดีกว่าครับ

    By: อาโป๊ง
    Since: 30 มิ.ย. 55 11:52:59

  18. admin Post author

    ผ.ร.ม  แจ้งว่าแก้ปัญหาโดยใส่เชิงชายให้แล้วค่ะ

    รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ  ว่าเชิงชายมันแก้ปัญหาน้ำรั่วได้จริง ๆ หรือค่ะ

    เพราะจำได้ว่าเชิงชายมันช่วยเรื่องความสวยงามไม่ใช่หรือค่ะ

    ขอบคุณทุก ๆ ท่านค่ะ

    By: เก้าอี้น้อย
    Since: 3 ก.ค. 55 22:19:13

  19. admin Post author

    ต้องถามก่อนว่า ตอนนี้บ้านคุณเกเาอี้น้อยมีปัญหาน้ำรั่วจากหลังคาที่ทำใหม่ รึน้ำย้อน  เพราะ

    เชิงชายมีหน้าที่หลักคือ กันน้ำย้อนเข้าใต้หลังคาหรือฝ้าใต้หลังคา  และเพื่อปิดโครงหลังคาครับ

    ทีนี้จากที่ดูถ้าระยะทับซ้อนหลังคาเกิน 30 ซม และ ระหว่างหลังคาเดิมและหลังคาใหม่ มีวัสดุอุกันน้ำ เช่น ปูนผสมน้ำยากันซึม หรือ วัสดุอุดกันน้ำประเภทอื่นๆ เอาไว้ แล้วปิดด้วยเชิงชายอีกที ก็ไม่น่าห่วงครับ

    ถ้ายังไงช่วงนี้ฝนตกหนักทุกเย็นลองเข้าไปดูหน่อยก็ดีครับ  ถ้าเจอน้ำย้อนให้แจ้งแก้แบบ  แต่ถ้าไม่มีแสดงว่าช่างป้องกันกรณีน้ำย้อนไว้ได้แล้วครับ

    By: ข้าวปั้น /at/ ฮาเฮ
    Since: 5 ก.ค. 55 07:15:31

Leave a Reply