น้าจะโอนทีให้หลาน ควรทำวิธีใด ที่ประหยัดที่สุดคะ

อยากทราบว่า ถ้าน้าต้องการโอนที่ให้หลาน ควรทำวิธีใด ที่ประหยัดที่สุด

ตอนแรก น้าคิดจะ โอนที่โดยตรงให้หลาน แต่ค่าโอนน่าจะแพง เพราะที่ดินอยู่ในเมือง เชียงใหม่

หรือถ้าโอนเป็นมรดกจะได้หรือไหม น้าเป็นสาวโสด แต่มีลุง น้าชาย และหลานคนอื่นๆ ไม่ทราบว่า ลุง กับ น้าชาย มีสิทธิ คัดค้านหรือไหม

ส่วน จขกท ซึ่งเป็นหลาน ไม่รีบร้อน ที่จะทำขาย หรือทำธุรกิจใดๆ กับที่ดิน แต่อยากมั่นใจว่า ที่ดินจะเป็นของเราในอนาคต เพราะ จขกท เป็นคนส่งเงินให้น้าใช้ตลอด และไม่อยากมีเรื่องขัดแย้งกับญาติคนอื่น

และไม่ทราบว่า ต้องดำเนินการกี่วัน ต้องมีหลักฐานอะไรบ้าง เพราะ ตอนนี้ จขกท ทำงานอยู่ต่างประเทศ ลางานกลับเมืองไทย ได้ไม่กี่อาทิตย์ อยากจะเตรียมการให้พร้อม

ขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คำค้นหา:

  • โอนที่ดินให้หลาน
  • โอนที่ดินโดยเสน่หา
  • ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน
  • ขั้นตอนการโอนที่ดิน
  • โอนที่ดิน เอกสาร
  • วิธีการโอนที่ดิน
  • การโอนที่ดินโดยเสน่หา
  • การโอนที่ดินให้โดยเสน่หา
  • การให้ที่ดินโดยเสน่หา
  • โอนที่ดินต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

12 thoughts on “น้าจะโอนทีให้หลาน ควรทำวิธีใด ที่ประหยัดที่สุดคะ

  1. NongSunny19

    น่าจะต้องเสีย ค่าโอนตามราคาประเมินนะครับ เพราะความสัมพันธ์ ไม่ใช่ บุพการี

  2. milkyland

    รายละเอียดการทำนิติกรรมดูได้จากเวบของกรมที่ดินค่ะ
    http://www.dol.go.th/
    ส่วน คุณ จขกท สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้คนอื่นดำเนินการให้ก็ได้ค่ะ ไม่ต้องมาดำเนินการเองก็ได้
    ส่วนค่าโอน น่าจะต้องไปเช็คที่กรมที่ดินดูก่อนว่าเท่าไหร่

  3. ป้าซิ่ง (Naomichan)

    อย่างความเห็นที่ 1 และ 2 ค่ะ
    ส่วนตัวเคยเดินเรื่องมาแล้วค่ะ
    ผู้รับก็ต้องมีสำเนาทะเบียนบ้าน และ บัตรประชาชน
    ส่วนผู้ให้มีโฉนดที่ดิน สำเนาทะเบียนบ้าน และ บัตรประชาชน
    ผู้รับเตรียมเงินค่าโอนไปด้วย
    ตามราคาประเมินของกรมที่ดิน เจ้าหน้าที่จะบอกในวันนั้นเลยค่ะ
    ไปแต่เช้าๆ วันเดียวก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ

    อาจมีสัมภาษณ์ต่อหน้าเจ้าหน้าที่นิดหน่อยว่า
    ผู้ให้ตกลงมีความเต็มใจให้ผู้รับโฉนดนั้นแน่นอน
    จากนั้นก็ไปเสียค่าธรรมเนียมและค่าโอนตามระบบ
    เจ้าหน้าที่พิมพ์ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของผู้รับสลักหลังโฉนด
    เป็นอันเสร็จพิธี กลับบ้านได้ค่ะ

  4. Nopparat_r1

    การโอนระหว่าง น้า กับ หลานเนี่ย !!!

    กรมที่ดิน มักจะ ไม่ยอมให้เป็น การ ให้โดยเสน่ห์ หาครับ
    เพราะ มีกรณีซื้อขายแบบนี้ กันเยอะ

    กรณี โอนด้วยความเส่ห์หา หรือ มรดก
    เสียค่า อการ 0.5% และ ภาษี 0.5% รวมเป็น 1 % ของราคาประเมิน

    ตัวผมเอง เคย ไปโอนที่ดิน มา ราคาประเมิน 29000 บาท / ตรว  ทั้งหมด 120 ตารางวา เสียไป 34000 กว่าบาทครับ

    มีอีกแปลง ยังไม่กล้าโอนครับ เพราะมันตารางวาละ 60000 กว่าบาท 2 ไร่ครึ่ง เจอ ภาษี อวกแตกเลยครับ (ขนาดแม่กับลูกนะครับ)

    แต่ กรณีของ คุณ จขกท มันก้ำกึ่งครับ
    ผมเกรงว่า จนท ที่ดิน จะไม่ยอม ครับ
    ควรโทรไปถามให้แน่ชัดก่อนครับ ว่า
    สามารถ ทำได้ เหมือน บิดา โอนให้บุตรหรือไม่

    หรือไม่เช่นนั้น ทำพินัยกรรม จะดีกว่าครับ

    หรืออีกวิธี ให้จดทะเบียนเป้นบุตร บุญธรรมครับ
    แล้วเอาเอกสาร ดังกล่าวไปประกอบ น่าจะได้ครับ

    ส่วนคน คัดค้าน .. ถ้าไม่ใช่ บุตร หรือ สามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฏหมาย
    ไม่มีสิทธ์ คัดค้านตอนยังมีชีวิตครับ

    แต่ถ้า เสียชีวิตไปแล้ว … มีสิทเหมือนกัน ถ้าไม่ได้เขียนพินัยกรรม

  5. โสดจัง

    จริงๆแล้ว ถึงไม่ใช่ญาติก็ให้โดยเสน่หา ได้ครับ

    เพียงแต่ เสี่ยงสูง ที่จะถูกเจ้าของเดิมฟ้องเรียกคืน

    ในกรณีนี้ คุณ จขกท เป็นผู้ให้ ก็ไม่ต้องคิดมาก

  6. แม่อ๊บ (obst)

    โอนเป็นบุตรบุญธรรมดีที่สุด
    ทำพินัยกรรมที่ถูกต้องตากกฏหมายด้วยและโอนที่ให้เลย

    การให้ด้วยความเสน่หาอาจถูกทายาทคนอื่นฟ้องกลับได้

    ซื้อขายจะขาดเลยแต่ค่าธรรมเนียมแพง

  7. เอื้ออารี

    ณ ตอนนี้ โอนวิธีไหนก็เสียค่าธรรมเนียมเท่ากันทุกประการค่ะ
    (ค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 +ภาษี 2.5 +อากร 0.5 อันนี้โดยประมาณนะคะ ข้อเท็จจริงขึ้นอยู่กับประวัติของที่ดิน)

    ในเมื่อข้อเท็จจริงเป็นการให้โดยเสน่หาจริง ก็สามารถทำเป็นเรื่องให้ได้

    แต่ถ้ากังวลเรื่องการเรียกคืนภายหลัง(ซึ่งไม่ใช่ง่าย ๆ) ก็ทำเป็นเรื่องซื้อขาย

    และถ้ายังไม่อยากโอนในตอนนี้ ก็สามารถทำพินัยกรรมไว้ได้ ง่าย ๆ ก็ไปทำที่อำเภอ เรียกว่าพินัยกรรมฝ่ายเมือง ในอนาคตหากเจ้าของที่ดินเสียชีวิต ก็เอาเอกสารซึ่งอำเภอออกให้ไปขอรับพินัยกรรมจากอำเภอแล้วไปโอนที่ดิน (ซึ่งอันนี้ค่าโอนถูกสุดคือ ค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 บาท ไม่ต้องเสียภาษีและอากร เพียงแต่ต้องรอเวลาคือเจ้าของต้องเสียชีวิตก่อน)

  8. paupau

    ส่วนตัวเคยทำค่ะ แต่ไม่รู้อัตราค่าธรรมเนียมเปลี่ยนไปรึยัง (2-3 ปีแล้ว)

    โอนให้โดยสเน่หา เสียค่าใช้จ่าย สูงกว่า เป็นการซื้อขายกัน

    ผู้ให้ สามารถเรียกคืนได้ หากพิสูจน์ได้ว่า ผู้รับกระทำการเนรคุณ

    แต่ถ้าเป็นการซื้อขาย ถ้าผู้รับแต่งงานและจดทะเบียนมาก่อน จะกลายเป็นสินสมรสค่ะ

  9. หมอที่ดิน

    ให้ทำตามที่ คห 8 บอกไว้ดีที่สุด

    ที่ดินเป็นของคนโสดแบบนี้มีสิทธิยกให้ใครก็ได้  ไม่มีัใครคัดค้านได้หรอก
    มันไม่ถือเป็นมรดกด้วยหากยกให้ตอนมีชีวิตอยู่  

    การทำพินัยกรรมที่อำเภอนั้นแน่นหนาสุด  ใครจะหาว่าปลอมนั้นแทบอ้างไม่ได้เลย  เพราะมีหลักฐานแน่นหนามาก  พยานและเจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนได้เสียเลย

    แต่แนะนำให้ยกให้กันตอนนี้เลย  เพราะสะดวกดี  และคุณเป็นเจ้าของเลย
    แต่หากจะรอให้ตายก่อนซึ่งอาจอีกนานมากๆ  ตอนนั้นที่ดินอาจแพงกว่านี้มากราคาประเมินก็ย่อมสูงตามไป  และท้ายสุดค่าธรรมเนียมโอนมรดกอาจมากกว่ายกให้ตอนนี้ก็ได้(แม้ว่าไม่ต้องเสียภาษีแบบการขายหรือยกให้ก็ตาม)

    การยกให้มันมีข้อเสียเพียงว่าอาจถูกฟ้องเอาคืนฐานเนรคุณได้  แต่เหตุที่จะเนรคุณนั้นมันก็ไม่เกิดหรอกหากคุณเป็นคนดีจริง  เลี้ยงดูเขาตามทีให้ได้ อย่าไปทำร้าย  ด่าว่า  หมิ่นประมาทเขา

  10. หมอที่ดิน

    การทำหนังสือมอบอำนาจก็ไม่ยากหรอกให้ไปเข้าเวปกรมที่ดินดาวน์โหลดแบบฟอร์มมา  และดูตัวอย่างที่เขาทำไว้ก็ได้

    และจะไปดูที่ผมแนะนำเพิ่มเติมไว้ที่นี่ก็ได้http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=landclinic&group=15

  11. Dhan (ca_jaoa)

    ถ้าป้าต้องการยกที่ดินให้หลาน ณ ตอนนี้เลย แนะนำทำเป็นน้าขายที่ให้หลานดีที่สุดครับ เพราะถ้าให้กันเฉยๆโดนที่มิได้เป็นบิดา มารดาโอนให้บุตร จะโดนภาษี 2 เด้งนะครับ เด้งแรกจะโดนภาษีโอนที่กรมที่ดิน  เด้งที่ 2  ทางหลานจะโดนประเมินรายได้จากการได้รับที่ดินดังกล่าวด้วย(การยกอสังหาริมทรัพย์เช่นที่ดินให้บุคคลอื่นๆที่มิใช่บิดามารดาให้บุตร หรือบุตรให้บิดามารดา ทางสรรพากรจะถือเป็นประโยชน์ที่ได้รับ โดยจะต้องนำมูลค่าจากการได้รับที่ดินดังกล่าวมาคำนวนภาษีบุคคลธรรมดาด้วยนะครับ)  อีกอย่างการไปจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมไม่มีประโยชน์นะครับ เพราะถ้าทำกันได้ ทุกคนที่จะซื้อขายที่ดินหรือบ้านกัน ก็จะใช้ช่องโหว่นี้เลี่ยงภาษีกันหมดครับ ดังนั้นแนะนำให้ทำเป็นซื้อขายกันครับ เสียภาษีแค่ครั้งเดียวก็จบ หรือทำเป็นพินัยกรรมระบุยกให้หลานเพียงผู้เดียวตามที่จขกท.ถามก็ได้ครับ เพราะเป็นเจตนาของเจ้าของพินัยกรรมญาติพี่น้องอื่นๆมีสิทธิที่จะฟ้องคัดค้านได้ก็แต่ประเด็นพินัยกรรมปลอมเท่านั้นครับ แต่อย่าลืมว่าการทำพินัยกรรมก็แสดงว่าน้าต้องเสียชีวิตก่อนหลานถึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ซึ่งวิธีทำพินัยกรรมนี้ผู้รับจะเสียภาษีต่ำมากครับรู้สึกจะแค่ร้อยละ 0.5 ของราคาทุนประเมินเท่านั้น

Comments are closed.