ไอศกรีมที่ละลาย (กลับมาแข็งได้ไหม) กับ ตู้เย็นที่มีแรงดันน้อย

เรื่องมีอยู่ว่า..เรามีบ้านอยู่ต่างจังหวัด 1 สัปดาห์ไป 1-2 ครั้ง
เราได้ตู้เย็นมือ2 มา 1 ตู้ 12 คิว มี 3 ช่อง (ช่องฟรีส,ช่องแช่เย็น,ช่องแช่ผักผลไม้) ยี่ห้อ mitsubishi ใช้ระบบ rotary เครื่องของญี่ปุ่นแท้
พอเสียบปลั๊กก็เย็นไม่ทั่วถึงเรียกช่างมาซ่อม เค้าเปลี่ยนพัดลมให้บอกมันไม่หมุน (อยู่ช่องบนสุดแกะแผงด้านหลังออก) ใช้ได้ดีสักพักหนึ่ง

"เกิดอาการแช่ไอศกรีมไม่แข็งกลับละลายเละเป็นน้ำ…"

เรียกช่างมาดูอีก ช่างบอกพัดลม+คอมทำงานปกติ แต่คอมแรงดันน้อย ถ้าต้องซ่อมควรเปลี่ยนคอมประมาณ 3,XXX บ.

ปัญหาคือ :

1. ช่างสันนิษฐานว่าไอศกรีมละลายอาจเป็นเพราะมีบางช่วง (ที่เราไม่อยู่บ้าน) ไฟดับ ทำให้ไอศกรีมละลายแล้วไม่อาจรวมเป็นก้อนได้อีกเพราะเมื่อละลายแล้วจะจับตัวไม่ได้เหมือนเดิม…ข้อนี้อยากทราบว่าจริงหรือไม่ ถ้าเปรียบกับน้ำที่ใส่ถาดทำน้ำแข็งทำไมจับตัวเป็นก้อนน้ำแข็งได้ตามปกติ ???

2. อีกข้อสันนิษฐานช่างบอกว่าไอศกรีมอาจละลายเพราะอยู่ในช่วงตัด….ตัดแล้วก็ทำความเย็นใหม่ได้มิใช่หรือ ???

รบกวนผู้รู้เกี่ยวกับตู้เย็น+ไอศกรีม ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ อันไหนถูกต้องกันแน่ และที่ช่างตั้งข้อสังเกตว่าเรื่อง "ความดันตู้เย็นน้อย" มีจริงหรือค่ะ ถ้าแก้ไขตามที่ช่างบอกจะหายขาดไหม เพราะช่างเองก็ไม่แน่ใจ

***อีกข้อที่สำคัญ "ตู้เย็นแรงดันน้อย" มีคำนี้ในสารบบวงการตู้เย็นด้วยหรือค่ะ เป็นอย่างไรและแก้ไขอย่างไร ???

By: ป้าบางแค
Since: 20 เม.ย. 55 18:07:18

คำค้นหา:

  • ตู้แช่แข็งมือสอง 2012

6 thoughts on “ไอศกรีมที่ละลาย (กลับมาแข็งได้ไหม) กับ ตู้เย็นที่มีแรงดันน้อย

  1. admin Post author

    น้ำแข็งจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 0 องศาเซลเซียส(C)
    ไอศครีม มีจุดเยือกแข็งต่ำกว่า 0 C

    แต่ช่องแช่แข็งอุณหภูมิติดลบสิบกว่าองศา ขึ้นกับขนาด และชนิดตู้เย็น แต่อย่างไรก็ตาม มันต่ำกว่่าจุดเยือกแข็งของไอศครีมแน่นอน
    ตู้อย่างห่วยๆหน่อย ไอศครีมจะไม่แข็งโป๊ก แต่ก็ไม่เละตักทานได้

    และกระบวนการแช่แข็งไอศครีม มันย้อนกลับได้ ดังนั้นถ้าเกิดอุบัติเหตุ ช่องแช่แข็งไม่เย็น เมื่อมันกลับมาทำงานแล้วมันก็จะกลับไปแข็งใหม่ได้
    เพียงแต่เนื้อไอศครีมจะไม่ละเอียดนุ่มนวล ลักษณะจะเป็นผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่

    ดังนั้นสรุปได้อย่างเดียวคือช่องแช่แข็งเย็นไม่พอ  ส่วนจะเกิดจากสาเหตุอะไรต้องถามผู้เชี่ยวชาญ

    By: simiach
    Since: 20 เม.ย. 55 19:07:52

  2. admin Post author

    ช่างเขาคิดว่าคอมเสีย ที่จริงก็วัดได้ว่า น้ำยารั่ว หรือคอมเสีย หรือมันเสียตรงไหน ท่าทางช่างบ้านๆ คงต้องไปตามช่างที่ร้านขายตู้เย็นในเมืองมาคงพอได้

    By: ไม่รู้เรื่องอะไร?แต่ขอก่อน
    Since: 20 เม.ย. 55 19:38:15

  3. admin Post author

    อาการตู้เย็นแบบนี้ใช้เป็นช่องทางหากินของช่างได้ตลอด

    ของเราโดนตอดจากเล็กไปจนใหญ่(คอมฯ) หายพักเดียวเป็นอีก

    เบ็ดเสร็จหมดไปเกือบเจ็ดพัน ครั้งหลังสุดบอกเซ็นเซอร์เสีย

    เปลี่ยนอีกไม่ดีขึ้นกลับจะยกไปไล่น้ำยาใหม่..

    เจ็บใจมากโดนพวกช่างเถอะหลอกไปเกือบหมื่น

    ตัดสินใจเปลี่ยนใหม่ สิบห้าคิวเพิ่งจะหมื่นเจ็ด ถึงจะช้ายังดีกว่า

    โดนพวกช่างมันเถอะหลอกหากินไปวันๆ (ช่างที่มาเป็นตัวแทนของบริษัท)

    แนะนำให้ซื้อของใหม่เลยนะครับ จะได้ไม่เป็นเหมือนผม

    By: narada
    Since: 20 เม.ย. 55 21:35:59

  4. admin Post author

    ผมว่าอย่าเปลี่ยนคอมนะครับ มันดีอยู่แล้ว
    ตัวตัดอุณหภูมิต่างหาก ที่เป็นปัญหา
    ยิ่งที่มีระบบละลายน้ำแข็งในตัว ใช้แช่ไอศครีมไม่ดี เพราะมันจะตัดไฟเพื่อละลายน้ำแข็งบ่อย
    ไอศครีมพอละลายจะแยกชั้นน้ำเชื่อมลงล่าง ครีมแยกขึ้นบน หมดอร่อยไปเลย
    ถ้าใช้แช่ไอศครีมบ่อย ผมแช่ตู้ที่ละลายน้ำแข็งแบบเราทำเอง มันแข็งดี

    By: คนรักดาบไทย
    Since: 20 เม.ย. 55 22:15:14

  5. admin Post author

    เรื่องตู้เย็นไม่ทราบอ่ะค่ะ
    แต่ไอศครีมเป็นพวกสารอิมัลชั่นแช่แข็งอ่ะค่ะ มีส่วนประกอบคล้ายๆ แบบน้ำมันกับน้ำ แล้วมีตัวช่วยพยุงให้มันอยู่ด้วยกันได้ เป็นเนื้อเดียวกันได้  
    พออุณหภูมิสูงขึ้น ก็เลยแยกชั้นกัน พอเย็นอีกมันก็แข็งแบบแยกชั้นไปอ่ะค่ะ
    ส่วนน้ำไม่มีอะไรเป็นส่วนประำกอบ กลับไปกลับมา มันก็ยังเป็นน้ำ กับ น้ำแข็งอยู่อย่างนั้น

    บ้านเราใช้รุ่นคล้ายๆนี้ ไฟดับทั้งวันช่องแช่แข็งกลับมาก็ยังเย็นนะคะ
    เดาว่าจะเป็นที่เซ็นเซอร์ วัดอุณหภูมิวัดเพี้ยนไปจากอุณหภูมิจริง ?

    By: เหมียวลั้นลา
    Since: 20 เม.ย. 55 22:46:34

  6. admin Post author

    ความสามารถของช่างแต่ละคนไม่เท่ากัน  ความซวยคือ ไม่เคยมีช่างบอกว่าตัวเองทำไม่ได้ ดังนั้นกระบวนการลองเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยเราออกค่าแรงและค่าอะไหล่ก็จะเริ่มขึ้น จนกว่าความอดทนสิ้นสุด

    ปกติช่องแช่แข็งอุณหภูมิ -18 C ส่วนห้องช่องแช่เย็น 3-5 C

    By: cpbu
    Since: 21 เม.ย. 55 11:37:50

Leave a Reply