ห้องน้ำไม่มีหน้าต่างค่ะ ราขึ้นเยอะแยะเลย แก้ยังไง

ห้องน้ำที่บ้าน ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ไม่มีหน้าต่างน่ะค่ะ ก็เลยจะค่อนข้างอับ ทำให้มีราขึ้นตามผนังและพื้นห้องน้ำเยอะมาก

ถ้ามีเวลาล้างบ่อยๆ ก็พอจะแก้ปัญหาได้ แต่พอช่วงที่งานเยอะๆ ไม่ค่อยได้ล้างซักเดือน คราบรานี่หนาเตอะเลยค่ะ เป็นราดำซะด้วย เศร้า T_T

ติดพัดลมดูดอากาศก็แล้ว ราก็ยังตามมากวนใจ

พี่ๆ และเพื่อนๆ ในห้องชายคามีวิธีแก้ปัญหายังไงคะ เคยไปเปิดหาๆ ดู เห็นมีแนะนำใช้หลอด UV แต่ก็ดูอันตรายทีเดียว

แง คิดไม่ตกค่ะ ต้องขอความช่วยเหลือด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

คำค้นหา:

  • หน้าต่างห้องน้ำ

14 thoughts on “ห้องน้ำไม่มีหน้าต่างค่ะ ราขึ้นเยอะแยะเลย แก้ยังไง

  1. แบนแล้วแบนอีก จนแบนแต๊ดแต๋

    ราเกิดขึ้นได้เพราะความชื้น ต้องพยายามไล่ความชื้นออกจากห้องน้ำ

    เจาะหน้าต่างให้เป็นช่องกระจก ให้แดดส่อง

    เปิดประตูทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งาน

  2. กระต่ายจอมพลัง

    เจาะผนังทำช่องแสง/ติดพัดลมระบายอากาศเพิ่ม

  3. คุณหนูจอมเจ้าชู้

    ห้องน้ำผมก็ไม่มีหน้าต่าง
    ใส่บล๊อคแก้ว กับพัดลมระบายอากาศ ขึ้นฝ้า 2 ตัว
    ไม่อับ ไม่ชื้น

  4. fulllove4ever

    ห้องน้ำที่คอนโดเราก็ขึ้นราเหมือนกันค่ะ แต่ขึ้นเฉพาะที่ฝา ตอนแรกคิดว่า เป็นเพราะน้ำห้องข้างบนรั่ว ให้ช่างของโครงการมาเช็คดู ก็ไม่มีคราบน้ำ

    ห้องน้ำอยู่ติดกำแพงด้านที่เป็นทางเดิน แถมห้องอยู่ตรงกลางชั้นอีกต่างหาก จะทำยังไงได้บ้างคะ

  5. banarm

    เจาะผนังแล้วเดินท่าผ่านบ้นผ้าเพื่อทำตะแกรงระบายอากาศครับช่วยได้

  6. johnnatt

    ติดพัดลมดูดอากาศขึ้นไปบนฝ้า  บวกกับทำพื้นให้แห้งเสมอ   ออกจากบ้านก็เปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้ครับ  ช่วยได้ครับ

  7. จขกท (ม่อนน้อยหมูอ้วน)

    ที่บ้านก็เจาะผนังไม่ได้เหมือนกันค่ะ เพราะเป็นตึกแถว ห้องน้ำอยู่กลางบ้าน ถ้าเจาะแสงแดดจะส่องไม่ถึง ก็จะได้เป็นแสงไฟจากส่วนอื่นๆ ของบ้าน อย่างนี้จะดีขึ้นมั้ยคะ ส่วนอีกด้านติดผนังบ้านอื่นค่ะ เจาะไม่ได้แน่นอน

    ทีนี้สงสัยเรื่องหลอด UV น่ะค่ะ ถ้าใช้หลอด UV จะช่วยได้มั้ยคะ แต่ก็กลัวอันตราย ถ้ามีท่านใดพอจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ต้องรบกวนขอความช่วยเหลือด้วยนะคะ

    ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ

  8. โสดจัง

    ผมละนึกถึงโฆษณา ยาล้างห้องน้ำ

    "ราจ๊ะ ออกเถอะจ่ะ"

  9. น้องปลาดาว

    นอกจากทำช่องระบายอากาศ แล้ว
    ถ้าวันหยุดว่างก็ลงมือแซะยาแนวเก่าออก แล้วก็ยาแนวใหม่เอาแบบกันเชื้อราด้วยละครับ

  10. blossom

    อาจต้องทำร่วมกันหลายอย่างถึงได้ผล

    เครื่องดูดความชื้น dehumidifier ใช้ดูดความชื้นในอากาศ ก็เปิดทิ้งไว้ให้ห้องแห้ง

    สารดูดความชื้น moisture absorber ตั้งทิ้งไว้ในห้องน้ำ มีอายุการใช้งาน เดือน ถึงสองเดือน แล้วซื้อมาเปลี่ยน

    ไม่แน่ใจว่ามีขายในไทยไหม

  11. moonface

    ถ้ามองหลอด UV  นานๆ ตาอาจบอดได้ค่ะ

     รังสี UV ที่ปล่อยออกมาจากหลอด ก็เหมือนกับที่มาจากแสงอาทิตย์ค่ะ

     ที่เคยเห็น  เค้าใช้ในห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สวิตช์ไฟจะถูกแยกอยู่นอกห้อง

    เพื่อป้องกันรังสีเวลาเปิดหลอดค่ะ

    ออ! แสง UV ช่วยฆ่าเชื้อโรคค่ะ แต่เรื่องความชื้นคงช่วยไม่ได้

  12. ม่อนน้อยหมูอ้วน

    ขอบคุณทุกท่านมากนะคะ เดี๋ยวจะปฎิบัติการกำจัดเชื้อราช่วงวันหยุดนี้เลยค่ะ ^^

  13. ป้อม (Bgate)

    เคยมีคนแนะนำเรื่องราตามเฟอร์นิเจอร์ เขาใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของคีโตโคนาซีน ใส่กระบอกฉีด แล้วฉีดน่ะครับ  เขาบอกช่วยได้

    แชมพูพวกนี้ ซื้อได้ตามร้านขายยา เอายี่ห้อถูกๆ อย่าง Nura ก็ได้ครับ

  14. จิรศักดิ์

    กลไกการทำลายเชื้อแบคทีเรียของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์
    (Bactericidal effects of plasma-generated cluster ions)

    ตีพิมพ์ใน Abstract ของวารสารการแพทย์ Med.Biol.Eng.Comput.,2005,43,800-807

    ————————————————————————————————————
    Diget , A.Temiz Artmann , K.Nishikawa , M.Cook , E.Kurulgan , G.M.Artmann

    University of Applied Sciences, Aachen , Germany
    Sharp Corporation , Japan

    ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์เป็นการพ่นอนุภาค + และ – ออกมา จากผลการทดสอบที่ผ่านมาหลายๆครั้งยืนยันได้ว่าเป็นอาวุธอย่างดีในการทำลายเชื้อโรคหลากหลายสายพันธุ์ แต่เราก็ยังไม่ทราบกลไกการทำงานอย่างกว้างขวางนัก วัตถุประสงค์ของการทดสอบครั้งนี้เป็นการศึกษาวิธีการทำงานและประสิทธิภาพการทำลายเชื้อโรคของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ที่มีต่อเชื้อโรคทั่วไปในครัวเรือน จากการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของอนุภาคที่ถูกพ่นออกมากับระยะเวลาที่ใช้ต่อเชื้อแบคทีเรียชนิด Staphylococcus, Enterococcus, Micrococcus และ Bacillus เราพบว่าปฎิกริยาการทำลายเกิดขึ้นทันทีภายในไม่กี่นาทีแรกของการพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ รวมถึงการทำลายเชื้อโรค 99.9% อย่างถาวรภายในเวลา 2-8 ชั่วโมง ผลการทำลายได้เกิดขึ้นที่ผนังเซลล์ของเชื้อโรค ซึ่งเราใช้จากการตรวจสอบแบบเทคนิค SOS PAGE และ 2D PAGE จึงได้บันทึกถึงการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนชั้นนอกที่ผนังเชื้อโรค รวมถึงการบันทึกผลต่อการสูญสลายไปทั้ง DNA และ cytoplasm ด้วย ยืนยันได้ว่าอนุภาคพลาม่าคลัสเตอร์ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผนังเชื้อโรคด้วยปฎิกริยาทางเคมี โดย active hydroxyl ที่เกิดขึ้นมีผลทำให้ผนังโปรตีนของเชื้อโรคถูกทำลายไป ขณะเดียวกันกับการสูญสลายของ DNA ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำงานของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์แต่อย่างใด ข้อมูลการทดสอบครั้งนี้จึงเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำระบบฆ่าเชื้อโรคนี้ไปทำให้เกิดประสิทธิผลในการประยุกต์ใช้กับเครื่องมือได้ดีขึ้น

    http://www.icnurse.org/webboard/webboardDetail.php?detailID=825

Comments are closed.