รบกวนถามผู้รู้เรื่องเอกสารสิทธิที่ดิน(ภบท5)ตอบหน่อยคับ

มีคนรู้จักกันมาเสนอขายที่ดินอยู่จังหวัดเชียงราย จำนวน 50 กว่าไร่ ราคาไร่ละ 35,000 บาท ราคารวมประมาณ 1,700,000 บาท  สภาพที่ดินเป็นที่ราบเชิงเขา ปลูกต้นยางพาราอยู่บ้างไม่เต็มพื้นที่ (น่าจะปูกมาแล้วประมาณ1-2ปี) ที่ดินห่างจากถนนดำ ประมาณ1 กิโลเมตร ไม่มีไฟฟ้า และไม่มีประปา (ใช้บ่อนำตื้นคับ)ในบริเวณรอบๆไม่มีบ้านคนพักอาศัยเลย หมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างจากที่ดินประมาณ 3 กิโลเมตร คนที่จะขายบอกว่าที่ดินแถวนี้ มีเอกสารสิทธิเป็นภบท5 ทั้งนั้น สามารถครอบครองได้ ไม่มีปัญหาในการถูกไล่ที่หรือเวรคืน รบกวนถามผู้รู้ว่าหากผมสนใจซื้อที่ดินแปลงนี้ไว้จะมีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิหรือไม่ในอนาคต(คิดว่าจะซื้อเอาไว้อยู่ตอนกับครอบครัวตอนเกษียณนะคับ) และถามอีกข้อคับ เอกสารสิทธิภบท 5 มันคืออะไรคับแตกต่างจากโฉนดอย่างไรคับ

คำค้นหา:

  • ที่ดินภบท 5 คืออะไร

5 thoughts on “รบกวนถามผู้รู้เรื่องเอกสารสิทธิที่ดิน(ภบท5)ตอบหน่อยคับ

  1. umibozu

    ที่ดินแบบนี้ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
    มีความเสี่ยงถูกยึดคืนแบบที่ดินอดีตนายกฯที่เขายายเที่ยงครับ

  2. ต้นทำเสา

    ที่ดินแบบนี้ ก็คือที่ดินยังอยู่ในเขตป่านะครับ (ถึงแม้มันจะไม่เป็นป่าแล้วก็ตาม)เท่าที่ทราบ ที่ดินที่จะออกเอกสารสิทธิได้นอกจากที่มีใบจอง สค1 นส3 ก็ต้องเป็นที่ดินที่กรมป่าไม้ขีดออกจากเขตป่าแล้ว และไม่เป็นที่สาธารณะ ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน และต้องไม่เป็นเขต สปก.จึงออกเอกสารสิทธิได้ ทางเหนือจะมีที่ดินประเภทนี้เยอะ ส่วนภบท.5 ก็คือถ้าเรียกทั่วไปก็คือภาษีบำรุงท้องที่ ที่ไปเสียไว้ว่าฉันทำกินอยู่นะ ฉันเสียภาษีอยู่นะ และบางที่เดี๋ยวนี้เท่าที่พอทราบไปเสียภบท.5 อปท.เขาไม่รับแล้ว เพราะไม่ใช่ที่มีเอกสารสิทธิ เขาเกรงมีปัญหา  ถ้าจะว่าไปก็ไม่มีหลักประกันอะไร เพราะที่ดังกล่าวเพียงแค่เสียภาษี แต่ไม่มีเอกสารสิทธิใดๆ ในอนาคตหากกรมป่าไม้เพิกถอนเขตป่าจริง ส่วนมากก็จะกลายเป็นเขต สปก.ต่อ   แต่ถ้ามองในแง่ดีก็ยังดีกว่าไปซื้อที่ สปก.เพราะอันนี้ซื้อขายกันไม่ได้ผิด กม. ทางเหนือเขาจะซื้อขายกัน ยิ่งตอนนี้ก็ปลูกยางกันเพียบ บางคนซื้อกันเป็นรอ้ยเป็นพันไร่ หมุนเวียนเปลี่ยนมือกันไป

  3. tzu149

    ภบท.นี่ ไม่ใช่เอกสารครอบครองที่ดินนะครับ
    เป็นแค่ใบเสียภาษีค่าบำรุงท้องที่ ซึ่งออกโดย อบต.

    ซึ่งหมายความว่า มันสามารถออกทับซ้อน ปลอม (แต่เป็นเอกสารจริง
    ของเจ้าหน้าที่ทีทุจริต) ได้ง่ายก็แค่ใบเสร็จรับเงิน

    ที่ดินแปลงเดียวกัน อาจออกเป็น ภบท.5 หลายใบ เพื่อหลอกขายคนนอก
    ความเสี่ยงจึงสูงมาก

    หากสนใจจะการซื้อขายกันจริงๆ ต้องไปสอบถามจาก อบต และเอกสาร
    สัญญาซื้อขายต้องเซ็นต์เป็นพยานด้วยกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน หรือฝ่ายบริหาร
    ของ อบต.นั้นๆ

    รวมทั้งต้องร่างหนังสือรับรองเขตที่ดิน ที่เซ็นต์รับรู้โดยเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้วยครับ
    (ต้องดู ใบภบท.5 ของเจ้าของที่ดินข้างเีคียงด้วย/ไม่ใช่ฟังจากปากเปล่า)

    …. แบบนี้ ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย แต่จะเห็นได้ว่า ยุ่งยากกว่าการซื้อขาย
    ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ปกติมาก
    (ต้องตรวจสอบ ตามเรื่องกับคนที่เขาอาจจะไม่ยินยอมให้ความร่วมมือเป็น
    จำนวนมาก)

    การซื้อที่ดินชนิดนี้ ข้อดีของมันก็คือหากวันหน้าสามารถออกเอกสารสิทธิ์
    ได้ มูลค่ามันจะสูงขึ้นไปจากตอนซื้อเป็นอันมาก

    หลังซื้อเสร็จอย่าลืมจ่ายภาษี(ภบท.5) ที่เป็นชื่อคุณ
    ด้วยล่ะครับ พร้อมทั้งขอ ภบท.5 ทั้งหมดของคนขาย
    (ใบจริง)ทั้งหมดเก็บมาด้วยล่ัะครับ

    … ไม่งั้น อาจเจอลูกหลานของคนขายหรือคนคนขายเอง
    เอามันไปขายอีกรอบก็ได้นะครับ

    จากข้างบนจะเห็นได้ว่า การซื้อขายแบบนี้จะให้เร็วง่ายต้อง
    ผ่านนายหน้าที่เป็นกำนัน-ผู้ใหญ่ คนใน อบต.เสียส่วนใหญ่

    การซื้อขายผ่านนายหน้าชาวบ้านธรรมดาหรือซื้อขายกัน
    เอง ความเสี่ยงจะสูงเอามากๆนะครับ

  4. peggo

    ไม่อยากสนับสนุนให้ซื้อที่แบบนี้เลย ยิ่งซื้อง่ายขายคล่อง ต่อไปก็จัดสรรกันเยอะ แล้วไม่เห็นคุณค่าของที่ดินได้มาแบบถูกๆ เพื่อเก็งกำไร คนที่อยากทำมาหากินบนพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ แล้วก็ไปบุกรุกป่าเพื่อให้เสื่อมโทรม มีที่ทำกินกันอีก เป็นวัฒจักรต่อไป

Comments are closed.