การป้องกันเสียง ระหว่างอิฐมวลเบากับ Precast

ด้าน กันความร้อน

อิฐมวลเบา => ดีกว่าแน่นอน เนื่องจากตัวมันมีความพรุนสูง ไม่ดูดซับความร้อน
Precast => กันความร้อนได้ไม่ดี เนื่องจากเป็น ปูนพร้อมเหล็ก หล่อมาเลย เลยทึบ ดูดกลืนความร้อนมากกว่า

ด้าน กันเสียง
ได้ยินมาจาก source 1
อิฐมวลเบา => ป้องกันเสียงได้ไม่ดีนัก เนื่องจากความพรุนของมัน
Precast => กันเสียงได้ดีกว่า เนื่องจากทึบ มีความหนาแน่นสูงกว่า อันเกิดจาก ปูนและเหล็กที่หล่อมาสำเร็จรูป

ได้ยินมาจาก source 2
อิฐมวลเบา =>  ป้องกันเสียงดีกว่า (source นี้ไม่ได้ให้เหตุผลไว้ว่าทำไมถึงดีกว่า)
Precast => กันเสียงได้แย่กว่า (source นี้ไม่ได้ให้เหตุผลไว้ว่าทำไมถึงแย่กว่า)

อยากรบกวนขอความรู้หน่อยครับว่า ถ้าพิจารณาในด้าน ป้องกันเสียง วัสดุไหน ป้องกันเสียงได้ดีกว่ากันแน่ครับ ระหว่าง อิฐมวลเบา กับ Precast  แบบว่าค่อนข้างสับสน

ขอบคุณมากครับผม

คำค้นหา:

  • ผนังกันเสียง
  • แผ่นกันเสียง
  • แผ่นซับเสียง

11 thoughts on “การป้องกันเสียง ระหว่างอิฐมวลเบากับ Precast

  1. นั่นซิ (AhMan)

    คห 1  ขอบคุณมากครับผม  

    แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะ อิฐมวลเบา กับ precast อันไหนกันเสียงดีกว่ากัน และเหตุผลที่ป้องกันเสียงได้ดีกว่าคืออะไร ครับผม

    ขอบคุณมากครับผม

  2. เม่นแคระ

    ผนังกันเสียงบนทางด่วน ก็เป็น precast ไม่ใช่หรอ…

    ไม่เห็นเอาอิฐมวลเบาไปกันเสียงรถยนต์เลย…

    เราเข้าใจถูกไหมเนี้ย…

  3. Ont_Happy

    ^
    ^
    แผ่นกันเสียงบนทางด่วน มันคือคอนกรีตเสริมใยแก้ว GLASSFIBER REINFORCED CONCRETE ครับ คนละเรื่องกับผนัง  Precast

  4. pinhead2000

    ด้าน กันความร้อน

    อิฐมวลเบา => ดีกว่าแน่นอน เนื่องจากอิฐมวลเบามีโพรงอากาศเล็กๆ ( Bubble ) เเต่ไม่ถึงกันอยู่ภายในตัว จึงไม่ดูดซับความร้อนเพราะทำหน้าที่ฉนวนกันความร้อนไปในตัว

    อีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่คุณควรพึงรู้ไว้ อิฐมวลเบา ที่ขายในบ้านเรามันกันความร้อนดีกว่าครับเเต่ในระยะหลังๆผมพบว่ามันซึมน้ำผ่านได้ง่าย( ความจริงกับอุดมคติ มักจะสวนทางกัน โครงการต่างๆในบ้านเราเน้นลดต้นทุนลูกเดียว จนผู้ผลิตอิฐมวลเบาจะผลิตสินค้าที่เน้นขายเฉพาะงานโครงการอีกเกรดหนึ่ง จึงทำการเร่งปฎิกริยาโพรงอากาศเล็กๆให้โตขึ้นเพื่อใข้ต้นทุนวัสดุในการผลิตน้อยลง มักเร่งปฎิกริยาการขยายตัวของมวลคอนกรีตจนโพรงอากาศที่ควรเป็นเเบบปิดในเนื้ออิฐมวลเบา  ถูกขยายซะจนโพรงอากาศทะลุถึงกันหมด  )
    ดังนั้นจึงมักพบว่า ในระยะหลังๆพบว่าอิฐมวลเบาไม่ทนต่อความชื้นเหมือนเเต่ก่อน  เจอปัญหาเรื่องเกิดเชื้อราได้ง่าย  เท่าที่เจอๆมาส่วนใหญ่ปัญหาเรื่องเชื้อรามักเกิดขึ้นที่ผนังด้านในห้องบุวอลล์เปเปอร์ เมื่อตรวจสอบพบว่าเกิดจากความชื้นจากน้ำฝนที่สาดที่ผนังอิฐมวลเบา ที่ซึมเข้าในเนื้ออิฐมวลเบา+และห้องที่เป็นเชื้อรานั้นเปิดแอร์ไว้ค่อนวัน

    เหตุผลเพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน และชื้น  การที่เน้นจะใช้วัสดุกันความร้อนเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ครับ จะต้องเน้นการระบายอากาศออกจากตัวบ้านด้วยครับ ( ทําเป็นระบบ )+ กับสถาปนิกมักนืยมออกเเบบ บ้านเเบบสไตท์ทางยุโรป เเละ ปลุกสร้างเต็มพื้นที่( ที่ดินมันเเพง )+ ตัดชายหลังคาให้สั้น,ตัดกันสาดทิ้ง ทำให้น้ำฝนสาดโดนผนังบ้านเต็มๆ……..ปัญหาเรื่อง รา ขึ้นผนังบ้านจึงมักจะเจอบ่อยๆขึ้น

  5. pinhead2000

    ด้าน กันเสียง

    Precast => กันเสียงได้ดีกว่าครับในเทคนิค เเต่ในโลกของความเป็นจริง อิฐมวลเบาดีกว่าครับ

    เหตุผลคือ  ถึงเเม้ว่าผนังคอนกรีคที่หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กล้วนๆจึงมีความหนาแน่นสูงกว่า เสียงจึงทะลุผ่านได้ยากพอๆกับผนังกระจก เเต่การก่อสร้างในปันจุบันในโครงการต่างๆเน้นลดต้นทุน จากการใช้พวกวัสดุซีลเเลนท์ใส่ปืนฉีดอุดรอยต่อระหว่างเเผ่นผนังฯ กับ พื้นคอนกรีตชั้นบน ลดต้นทุนเหลือเป็นเเค่เเผ่นโฟมสีขาวยัดใส่เเทน? เมื่อโฟมที่ถูกยัดปิดช่องว่างถูกใช้งานไปเเค่ 2-3 เดือน โฟมพวกนี้มักจะหดตัวซึ่งเป็นเรื่องปกติของวัสเประเภทนี้ มันทำให้เกิดช่องว่างเล็กๆเป็นเเนวยาวใต้ฝ้าเพดาน เสียงจากห้องหนึ่งจึงสามารถทะลุไปอีกห้องหนึ่งได้ หรือ  บริษัทผู้ประกอบการบางโครงการเน้นการลดต้นทุนเเอบลักไก่ไม่มีการซีลรอยต่อด้านบนผนังกับพื้นชั้นบน เสียงมันเลยทะลุไปอีกห้อหนึ่งได้ครับ โดยที่เจ้าของบ้านก็ไม่รู้เพราะมันไปซ่อนอยู่ใต้ฝ้าฉาบเรียบร้อยเเล้วครับ

    หากคุณสังเกตุเวลาคุณจะเรียกใครอีกด้านหนึ่งของผนังกระจก ถึงคุณตะโกนเรียกไปอย่างไรอีกด้านหนึ่งก็คงไม่ได้ยิน มักจะต้องใช้วิธีเคาะกระจกเรียกเเทน เหตุผลเป็นเพราะ ผนังกระจกมีการซีลตามกรอบ,รอยต่อต่างๆเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมเป็นพิเศษ เสียงต่างๆจึงไม่สามารถจะทะลุไปได้ครับ

     ดังนั้นถ้าคุณสามารถควมคุมงานผนังคอนกรีต Precast ให้มีการซีลด้วยวัสดุซีลเเลนท์ที่ยืดหยุ่นเเต่ไม่หดตัวตามรอยรอยต่อได้ดี  ผนังคอนกรีต Precast จึงจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมวลเบาครับ

  6. นั่นซิ (AhMan)

    ได้ความรู้เพิ่มเยอะเลย

    ขอบคุณ เพื่อน ๆ ทุกท่านด้วยครับผม

  7. นั่นซิ (AhMan)

    รบกวน ท่าน pinhead2000  อีกนิดครับผม

    อิฐมวลเบา ที่ขายในบ้านเรามันกันความร้อนดีกว่าครับเเต่มันซึมน้ำผ่านได้ง่าย
    => แม้กระทั้ง อิฐมวลเบา Q-Con ที่บ้านแลนด์ใช้อยู่ก็ถูกลด spec จนน้ำซึมผ่านได้ง่ายใช่ไหมอ่ะครับผม

    Precast ลดต้นทุนเหลือเป็นเเค่เเผ่นโฟมสีขาวยัดใส่เเทน
    => Precast ในโครงการที่เขาว่าดี เช่น แลนด์แอนเฮ้า  กับ ที่ใช้ในโครงการ พฤกษา  ทั้งคู่ก็ใช้โฟมใช่ไหมอ่ะครับผม หรือว่าแลนด์ดีกว่า คือ ไม่ลด spec ไม่ลักไก่ ?

    รบกวนขอความรู้เพิ่มเติมด้วยครับผม
    ขอบคุณมากครับผม

  8. pinhead2000

    เรื่อง อิฐมวลเบา Q-Con คุณคงไปถามทางผู้ผลิตเองว่า สินค้าที่ส่งให้ทางโครงการต่างๆเป็นเกรดไหน

    เอาง่ายๆขนาด ถังบำบัดน้ำเสีย ยี่ห้อดังๆในตอนนี้ยังทำเป็น 3 เกรด เกรดงานโครงการ, เกรดพอใช้งานได้เเต่ราคาถูก เเละ เกรดมาตราฐานสูง เกรดงานโครงการจะราคาถูกที่สุด,ส่วนลดเยอะที่สุด เเต่คุณภาพโดยรวมต่ำสุด )

    ในสมัยก่อนเท่าที่ทราบ โครงการหมู่บ้านของเจ้าที่คุณถามมานั้น เคยมีปัญหาเรื่อง ผนังบ้านขึ้น รา ที่ผนังด้านในเกือบทั้งโครงการ เล่นเอาบริษัทผู้รับเหมาอย่าง บริษัทลูก ของอิตัลไทย เเละ สยามซินเท็ค เข็ดเขี้ยวเลิกรับงานประเภทโครงการหมู่บ้านไปเลย เเต่ต่อมาผมก็ไม่เคยได้ยินเรื่อง รา ขึ้นกำเเพงของหมู่บ้านเจ้านี้อีกเลยครับ

    ส่วนพวกบ้านระบบ Precast ที่หลายๆเจ้าใช้งานกันบอกตามตรงไม่รู้ปัญหาอะไรมากครับ เพียงเเต่เคยเจอเจ้าของบ้านที่ไปซื้อโครงการเหล่านี้ โดยเฉพาะพวกบ้านเเฝดจะบ่นเรื่อง เสียงลอดข้ามมาอีกด้านหนึ่งได้

    สิ่งที่คุณควรทำการบ้านพวกบ้านระบบ Precast ในบ้านเราคือ การป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าตามเเนวด้านบน,ด้านล่าง ของผนังด้านนอกชั้นล่างกับตัวพื้นอาคารชั้นบน เเละ พื้นชั้นล่าง ส่วนใหญ่ที่เจอๆมายังควบคุมคุณภาพการป้องกันการรั่วซีมของน้ำฝน เวลาสาดเข้าที่ผนังยังทำได้ไม่ดี

  9. กกร่ม

    Glass fiber Reinforced Concrete (GRC) คอนกรีตเสริมใยแก้ว (GRC)

          เป็นเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่มีความอเนกประสงค์มากที่สุด เหมาะกับการใช้ในงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม  GRC เป็นส่วนผสมระหว่าง ซีเมนต์ ทรายละเอียด น้ำ สารเพิ่มประสิทธิภาพ และใยแก้วชนิดพิเศษ มีวิธีการผลิตหลายแบบ เช่น ระบบพ่น หรือระบบเทหล่อกับที่ หล่อเปียกหล่อแห้ง ระบบหล่อสำเร็จจากโรงงานผลิตภัณฑ์ GRC สามารถผลิตหรือขึ้นรูปให้มีขนาดที่บางและเล็กได้เพียง6 มม. หรือ 1 ส่วน 4 นิ้ว จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ นั้นๆ มีน้ำหนักเบามากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากคอนกรีตแบบเดิม ๆ

    จากกระทู้ : ทำไมวิศวะกร ออกแบบแผ่นปูนกันเสียง บนทางด่วน ทำไมต้องใช้ปูน
    http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/10/X8491129/X8491129.html

         การควบคุมทางผ่านของเสียง โดยการใช้วัสดุกันระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับตัวผู้รับเสียง ดังจะพบเห็นได้จาก บนทางต่างระดับ (ทางด่วน), สะพานข้ามแยกต่างๆ โดยทำการติดตั้งกำแพงกันเสียงระหว่างการจราจรกับตัวอาคาร, บ้านพัก เพื่อลดเสียง โดยมีวิธีการลดเสียงได้ ดังต่อไปนี้

    1ระบบสะท้อนเสียง (Dispersion Noise) เป็นการสะท้อนเสียงจากแหล่งกำเนิดกลับไปในทิศทางเดิม แต่เสียงที่มากระทบผิวแผ่นกันเสียง จะทำมุมทแยงตามผิวกำแพงเพื่อให้เสียงกระจายหายไป

  10. กกร่ม

    2 ระบบซับเสียง (Absorption Noise) เป็นการติดตั้งแผ่นกันเสียงแบบซับเสียงให้หาย แบบไม่มีการสะท้อนกลับ โดยภายในกำแพงกันเสียง จะบรรจุวัสดุที่มีคุณสมบัติดูดกลืนเสียง วิธีนี้เหมาะสำหรับบริเวณที่เสียงไม่เหมาะสม ที่จะสะท้อนกลับได้

Comments are closed.