สอบถามเรื่องการจ้างผู้รับเหมาสร้างบ้าน กรณีกู้เงินจากธนาคาร

มีเรื่องรบกวนสอบถามค่ะ  เกี่ยวกับการจ้างผู้รับเหมาสร้างบ้าน  กรณีกู้เงินจากธนาคาร  คือว่า
– ถ้าเราจะสร้างบ้าน   จะต้องจ้างบริษัทฯ หรือผู้รับเหมา มาสร้างให้  โดยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างให้ธนาคารด้วยใช่ไหมค่ะ    
– แล้วถ้าหากพ่อแม่พี่น้องซึ่งปกติก็รับสร้างบ้าน  แต่ว่าไม่ได้อยู่ในรูปบริษัท    เป็นประมาณช่างภูธรน่ะค่ะ    จะทำได้ไหมค่ะ     จะเป็นประเด็นปัญหาตอนยื่นกู้ไหมค่ะ  
– ถ้าให้พ่อแม่พี่น้องสร้างให้    เราจะต้องเตรียมเอกสารอะไรให้ธนาคารบ้างหรือเปล่าค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

5 thoughts on “สอบถามเรื่องการจ้างผู้รับเหมาสร้างบ้าน กรณีกู้เงินจากธนาคาร

  1. ม่วยถ่าว

    ได้ค่ะ เราจะจ้างใครหรือซื้อจากใครธนาคารไม่สนใจหรอก กรณีสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ เค้าไม่สนใจดูใบเสร็จด้วยซ้ำ (แต่ใบเสนอราคาหรือสัญญาจ้าง คงต้องให้แนบให้เค้า เพื่อนำข้อมูลมาใช้ตอนประเมินวงเงิน) เพราะสุดท้ายมันก็เป็นทรัพย์สินของผู้กู้อยู่ดี ไม่ใช่ทรัพย์สินของธนาคาร (แค่จำนองไว้กับธนาคาร)

    ประเด็นก็คือ ธนาคารจะปล่อยเงินออกมาเป็นงวดตามความคืบหน้าของงาน เจ้าหน้าที่จะมาดูหน้างานจริง

    ตอบจากความเข้าใจนะคะ ไม่มีประสบการณ์เหมือนกัน

  2. banarm

    ต้องทำสัญญาจ้างกับผู้รับเหมา เพื่อนำไปแสดงให้ทางธนาคารเห็นว่ามีการจะสร้างจริง แต่ให้ระบุไปในสัญญาว่าใช้เพื่อประกอบการขอวงเงินกู้กับธนาคาร และมีสำนำบัตรประชาชนของผู้รับเหมาและรับรองสำเนาด้วยครับ

  3. Nuudao_kookkai

    ให้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง 1 ฉบับคะ (ถึงเราให้ใครสร้างให้ก็แล้วแต่ จะเสียเงินหรือไม่เสียเงินก็แล้วแต่ต้องทำคะ) และในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างต้องระบุ ค่าแรง ค่าเหมาต่างๆ ให้ครบถ้วน เพื่อที่ค่าแรงต่างๆ ในสัญญา ทางธนาคารเขาจะเอาไปคำนวณเป็นค่าแรงให้เราคะ และการจ่ายเงินงวดให้กับผู้รับเหมา ต่างๆ คะก็จะประกอบเป็นสัญญาคะ แล้วก็มีใบ BOQ ราคาก่อสร้างแนบด้วยนะคะ ที่แน่ๆ สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างต้องแนบสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของ ผรม ด้วยนะคะ

  4. สวนครัวข้างบ้าน

    ขอบคุณมากๆ นะค่ะ   ที่ช่วยไขข้อสงสัย   แฮ่ ๆๆ  ว่าแต่ว่า พอจะมีตัวอย่างสัญญา  ใบ BOQ มั๊ยค่ะ

  5. tzu149

    ทำ 2 สัญญาครับ

    1.สำหรับธนาคาร ให้สูงกว่าราคาจริง 20% กันธนาคารตัดยอดกู้
    (ทำ BOQ ให้สอดคล้องกันด้วย ทำฉบับเดียวพอ สำหรับเจ้าของบ้าน/ของผู้
    รับเหมาไม่ต้องทำ)

    2.สัญญาจริง สำหรับผู้รับเหมา
    (ใช้งานจริง ทำ 2 ฉบับสำหรับเอาไว้ฟ้องร้องกัน ยามรักจือจาง)

Comments are closed.