ปัญหากดชักโครกแล้วน้ำลงช้า

ผมมีปัญหาเรื่องชักโครกครับ
เวลากดชักโครกแล้วน้ำลงค่อนข้างช้า คือ ต่ำกว่ามาตราฐานที่ควรจะเป็น เลยเปิดดูถังเกรอะที่ช่างทำฝาไว้ให้ก็พบตามรูปครับ

ปัญหาที่อยากทราบคือ
1 การที่น้ำค้างอยู่ในท่อน้ำเข้า ทำให้การกดชักโครกมีปัญหาลงช้ากว่าปกติเนื่องจากต้องดันน้ำที่อยู่ในท่อออกไปที่บ่อเกรอะ คำถามคือ ปกติแล้ว น้ำจะค้างอยู่ในท่อหรือเปล่า
2 ระดับน้ำนั้นท่วมท่อน้ำเข้าเล็กน้อย ไม่ถึงกับจม ส่วนท่อน้ำออก ระดับน้ำนั้นจมท่วมท่อ (ระดับท่อเข้าออกไม่เท่ากัน) คิดว่าผิดปกติแน่นอน ถ้าผิดปกติ แก้ไขลำบากหรือเปล่าครับ

แต่ทุกวันนี้ก็ใช้ได้ปกตินะครับ ยกเว้นเรื่องการลงของน้ำเมื่อกดชักโครกเท่านั้นเอง
หมายเหตุ คิดว่าช่างทำไว้ไม่ดี เป็นการประยุกต์ถังอะไรไม่แน่ใจของช่าง เลยมีปัญหา ห้องน้ำชั้นสองกดได้ลงปกติ

ขอคำแนะนำด้วยครับ  ขอบคุณครับ

By: photoes
Since: 15 มิ.ย. 55 21:27:26

12 thoughts on “ปัญหากดชักโครกแล้วน้ำลงช้า

  1. admin Post author

    ข้อมูลเพิ่มเติม
    ท่อน้ำเข้าที่ปลายท่อ ช่างทำไว้เป็นแบบเงยขึ้น (เหมือนเอาข้องอมาต่อไว้ที่ปลายท่อ)  ซึ่งทำไว้ทำไมผมก็ไม่รู้

    By: จขกท (photoes)
    Since: 15 มิ.ย. 55 21:30:13

  2. admin Post author

    ….

    ..

    ..

    เท่าที่อ่านจากที่เขียนและผมแปลเป็นความเข้าใจของผมเองนะครับ..

    จขกท  อาจถึงขั้น … " ซวยเต็มขั้น " .. ???

    ช่างอาจจะ..

      .. วางถังกลับด้านครับ  ?????

    คือ.. ตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของถังบำบัด ( ทุกแบรนด์..ทุกยี่ห้อ )

    ท่อที่สิ่งปฎิกูลเข้า..ที่รับมาจากชักโครก ..จะต้องอยู่สูงกว่าทางออกนะครับ

    ตามรูปที่ผมแนบมา…

    1. คือ ตำแหน่งท่อที่มาจากชักโครก  สังเกตุนะครับมันจะสูงกว่าเกือบๆ 1 ความกว้างของท่อ

    2. คือ ตำแหน่งท่อออกวิ่งไปสู่ท่อสาธารณะหน้าบ้าน  จะต้องอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าครับ..

    .

    .

    คาดเดาต่อไปอีกว่า..ช่างอาจรู้ว่าวางถังผิดด้าน..กลับท่อเข้า – ออกสลับด้านไปซะแล้ว ขุดขึ้นลำบาก..

    เลยแก้ไขด้วยการหาท่อ พีวีซี มาดัดโค้ง ๆ พยายามให้จุดเชื่อมต่อทางเข้ามาโหนขึ้นสูงขึ้นเท่าที่ทำได้…

    ส่วนทำไมชั้น 2 กดลงได้ปกติ..เพราะมันอยู่สูงกว่าน่ะครับ ท่อชักโครกแนวดิ่งแรงดัน..เเรงโน้มถ่วงช่วยกระแทก

    ผมหวังว่า…  จขกท  คงไม่ซวยหนักขนาดที่ผมคาดเดานะครับ…

    ถ้าเป็นอย่างที่บอก.. ต้องขุดขึ้นทำใหม่สถานเดียวครับ..

    ..

    .

    By: คีรีบูนปีกบาง
    Since: 15 มิ.ย. 55 22:36:05

  3. admin Post author

    .

    .

    **********************************************************

    ระดับน้ำนั้นท่วมท่อน้ำเข้าเล็กน้อย ไม่ถึงกับจม ส่วนท่อน้ำออก ระดับน้ำนั้นจมท่วมท่อ

    **********************************************************

    ถ้าคิดในทางที่ดีนะครับ  จากประโยคข้างบนนี้ …ถ้าช่างวางถังไม่กลับด้าน

    อาจจะ…อาจจะเป็นไปได้ว่า  ส่วนปลายท่อน้ำออกช่างวางระดับผิด..

    คือวางระดับถังทั้งใบต่ำกว่า หรือ เสมอระดับน้ำในท่อของท่อสาธารณะหน้าบ้าน ทำให้ระดับน้ำมันดันกันอยู่

    หรือวางถังไม่กลับด้าน..แต่วางถังเอียงจนระดับความต่างของท่อทั้งสองด้านเกือบเท่ากัน

    หรือ  อาจะเป็นอีกทางนึง…

    คือ…ถ้าช่างวางถังไม่กลับด้าน  ระดับท่อต่อไปลงท่อสาธารณะได้ความลาดเอียงตามมาตรฐาน

    คือ..ต่อให้มันเอียงไปลงท่อสาธารณะหน้าบ้านนั่นแล.. ถ้าตรงนี้ช่างทำถูกอีก

    อาจจะเป็นที่.. ท่อที่ต่อจากปลายท่ออกอาจจะอุดตันด้วยอะไรบางอย่าง

    ข้อหลังนี้อาจแก้ไขหรือตรวจสอบได้ถ้าที่บ้านช่างต่อท่อโสโครกจากถังบำบัดไปลงบ่อพักเป็นระยะ ๆ ให้เปิดไล่ดู

    ..

    ..

    ลองไล่ไปทีละข้อ ๆ ดูนะครับ…

    .

    By: คีรีบูนปีกบาง
    Since: 15 มิ.ย. 55 22:52:48

  4. admin Post author


    ..

    ลืมไปอีกข้อนึงนะครับ…

    บริเวณผนังหลังชักโครกตั้งอยู่..หมายถึงนอกบ้านนะครับ  ช่างได้ติดตั้งท่อระบายอากาศไว้หรือเปล่่าครับ ..

    ..

    ……..

    เครดิตภาพต้นฉบับจากเวปไซต์บ้านและสวน  / ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้

    ..

    By: คีรีบูนปีกบาง
    Since: 15 มิ.ย. 55 23:08:31

  5. admin Post author

    1. บ้านอยู่แถวไหน
    2. อายุส้วม และ บ้านกี่ปี
    3. ระดับพื้นห้องส้วม สูงกว่า ระดับฝาของถังแซ็ท ที่เซ็นต์
    4. ระยะจากตัวฐานชักโครก ตามแนวนอน ถึง ถังเซ็ท กี่เมตร

    By: น้าพร
    Since: 16 มิ.ย. 55 02:58:21

  6. admin Post author

    ขอบคุณทุกท่านมากครับ
    ตอบ คุณ คีรีบูนปีกบาง มีท่ออากาศครับ แต่ต่อยังไงผมไม่ทราบเหมือนกัน
    ตอบ น้าพร
    1 เทพารักษ์ครับ
    2 อายุบ้านประมาณสามสี่ปีครับ
    3 และ 4 ข้อนี้ผมไม่แน่ใจครับ เพราะเจ้าถังนี่ห่างจากห้องน้ำประมาณสามเมตร เพราะช่างเอาถังไว้หลังบ้าน

    By: photoes
    Since: 16 มิ.ย. 55 07:34:01

  7. admin Post author

    ..
    ..

    ************************************************************************
    ข้อมูลเพิ่มเติม
    ท่อน้ำเข้าที่ปลายท่อ ช่างทำไว้เป็นแบบเงยขึ้น (เหมือนเอาข้องอมาต่อไว้ที่ปลายท่อ)  ซึ่งทำไว้ทำไมผมก็ไม่รู้
    ************************************************************************

    ข้อสงสัยตรงนี้น่าจะเป็นเป็นปัญหาก็ได้ …

    โดยพื้นฐานแล้วถังบำบัดจามรูปที่ผมนำมาลง เวลาเชื่อมต่อกับท่อโสโครกจากชักโครก

    จุดระหว่างปลายท่อ พีวีซี วิ่งมาจากชักโครกมาต่อกับท่อหมายเลข 1 ถังบำบัดจะมีท่อยางอ่อนสีดำมาให้ใช้ต่อจุดนี้

    ไอ้ข้องอที่ว่ามันหงายขึ้น ???? … น่าจะไม่ใช่ท่อยางอ่อนสีดำที่ว่าเพราะมันคือข้อตรงตรงดีๆ นี่เอง..

    ว่าแต่ช่างต่อท่อที่ว่าหงายขึ้นทำไมนี่แล  จุดที่น่าสงสัยอีกจุดนึงง..

    ..

    .

    By: คีรีบูนปีกบาง
    Since: 16 มิ.ย. 55 08:09:14

  8. admin Post author

    ระดับ ฐานชักโครก ต่างจากฝาถังแซ็ท กี่เซ็นต์ครับ (ประมาณ เอาครับ)

    ตรงนี้ สำคัญมาก  ผมเชื่อว่า คำตอบ หาได้ง่ายมาก

    เพราะเป็นบ้านของ จขกท เองครับ

    ปล. 1.ไม่ต้องตอบคำถามผม ถ้าไม่ต้องการความเห็นผม
    2. แล้วชักโครกนี้ เป็นชั้นหนึ่ง หรือชั้นสองครับ
    —————————

    ตอนนี้ ผม เห็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งแล้ว
    แถวๆ เทพารักษ์ นี่มีปัญหา อยู่อย่างหนึ่งที่หมู่บ้านใหม่ เป็นกันทุกหลัง

    เอาไว้ ผมได้ ข้อมูล จาก จขกท ครบ แล้ว
    จะสรุปให้ รวมถึง การแก้ไขด้วยครับ

    By: น้าพร
    Since: 17 มิ.ย. 55 02:16:11

  9. admin Post author

    ขออภัยที่ตอบช้าครับ เพราะมีเวลาเล่นเนทเฉพาะช่วงเช้า

    ห้องน้ำอยู่ชั้นล่างครับ
    ฐานชักโครกสูงกว่าฝาถังแซท ประมาณ ย่ี่สิบเซนต์

    By: photoes
    Since: 17 มิ.ย. 55 07:14:28

  10. admin Post author

    OK ครับ

    เทพารักษ์ และใกล้ๆ จะมีปัญหาดินทรุด ถ้าเป็นดินถมใหม่
    ใน 5 ปีแรก จะมีค่าเฉลี่ยการทรุดอยู่ที่ ปีละ 3-5 ซม.

    เป็นทุกที่ แก้ไม่หาย เนื่องจากดินแถวๆ นี้ยังไม่อยู่ตัว
    อายุของชั้นดินมีประมาณ 50,000 ปี กว่าจะอยู่ตัวต้องผ่านไป 10 ล้านปี
    ซึ่ง ยังอีกนาน (นี่เป็นเรื่องทางธรณีวิทยา) ตัวเลขของจำนวนปีอาจคลาดเคลื่อน
    แต่ไอเดียคือ ต้องใช้เวลานานมากๆๆๆ

    ส่วนค่าเฉลี่ยของการทรุด เป็นตัวเลขล่าสุดที่ผม เก็บมาเอง จากหลายๆที่
    ที่เคยผ่านตามา ตั้งแต่ปี 2547 ครับ เก็บมาเรื่อย  สุดท้ายได้ค่าประมาณที่ว่ามา

    ตัวเลขแรก ก็มาจากการสังเกตขั้นบันไดของสยามเซ็นเตอร์ในปี ปี 2518
    วันนี้ น่าจะ ทรุดลงไปเกือบ 60 เซ็นต์แล้วมั้ง

    By: น้าพร
    Since: 17 มิ.ย. 55 12:44:29

  11. admin Post author

    ถ้าอายุบ้าน อยู่ที่ 4 ปี ค่าการทรุดตัว ของดินรอบบ้าน น่าจะไม่น้อยกว่า 10 ซม.
    เอาเป็นว่า 10 ซม นะครับ การทรุดตัวขนาดนี้ ทำให้ ท่อที่ต่อจากตัวบ้านทรุดลงไปด้วย
    ส่งผลให้ท่อแตก ฉีกขาด หรือหลุดจากตัวบ้าน
    อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ ท่อของเสียจากชักโครก ส่งของเสียออกมาได้ไม่ดี

    วิธีแก้ไข ต้อง เจาะพื้นตรงที่ท่อวางอยู่ แล้วให้ท่อลอยอยู่อย่างนั้น
    หากดูน่าเกลียด ก้อทำเป็นรางของท่อซะ แล้วหาฝามาปิด คล้ายๆ ฝาท่อระบายน้ำ

    แก้ไข ตรงนี้ก่อน แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น

    ขณะแก้ไข ให้ถอดทุกอย่างออกมา อาจเห็นเศษวัสดุติดค้าง ก็ต้องเอาออกให้หมด
    ตรงไหนแตกหัก ต้องแก้ไข แล้วใช้ท่ออ่อน ยาวตลอด
    วางท่อให้มีการยืดหยุ่นบ้าง เช่นใช้ท่อยาง หรือท่อ PE จะช่วยได้มาก
    ผ่านไป 5 – 10 ปี ต้องเปิดฝามาซ่อมอีกครั้ง แก้ไม่หายครับ
    เนื่องจาก ต้นเหตุที่ว่ามา

    ขณะซ่อมท่อใหม่ ต้องใส่ท่อระบายอากาศอีกเส้นหนึ่ง
    ตามความเห็นข้างบน ให้ใส่ในจุดที่ใกล้ฐานชักโครกที่สุดเท่าที่จะทำได้

    รายละเอียด อื่นๆ ก็ตาม ความเห็นของคุณ คีรีบูนครับ

    By: น้าพร
    Since: 17 มิ.ย. 55 13:01:10

  12. admin Post author

    อีกอย่างหนึ่ง ระยะ 3.0 เมตร แล้วมีความต่าง 20 ซม. ถือว่าไม่มาก
    ผมเห็นว่า อย่างน้อยควรจะมี 30 – 40 ซม.

    ผลที่ระยะต่างเป็น 20 ซม. นี้ ทำให้ปลายท่อ ที่อยู่ในถังแซท อาจจมน้ำอยู่ตลอดเวลา
    ถ้าแก้ไข ตรงนี้ได้ จะช่วยได้มาก แต่แก้ไขยาก
    เนื่องจาก จะติดระยะท้องคาน ทีนี้ ถ้าเป็นระยะต่างกัน 20 ซม.
    ผมเห็นว่าน้อยไป อยากให้ จขกท ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
    ด้วยระยะท้องคาน อย่างน้อย ต้องมี 30 ซม แล้วครับ

    By: น้าพร
    Since: 17 มิ.ย. 55 13:07:26

Leave a Reply