สอบถามการขอน้ำและไฟฟ้าสำหรับบห้องเช่าค่ะ

ถามนิดนึงค่ะ อยากทราบว่า ห้องเช่าคล้ายๆ ห้องแถว 2 ชั้น มีห้องเช่าชั้นละ 3 ห้อง
ถ้าไม่ได้ขอบ้านเลขที่ จะขอมีมิเตอร์น้ำและไฟได้รึเปล่าคะ

และถ้าต้องขอมีบ้านเลขที่จะต้องทำอย่างไรคะ

By: Prissy
Since: 9 มิ.ย. 55 11:50:09

4 thoughts on “สอบถามการขอน้ำและไฟฟ้าสำหรับบห้องเช่าค่ะ

  1. admin Post author

    ถ้าไม่มีเลขที่บ้าน  การขอใช้ไฟฟ้าจะได้ใช้ไฟฟ้าแบบชั่วคราว
    ราคาต่อหน่วยจะแพงกว่าปกติ

    กรณีได้เลขที่บ้านแล้ว การขอใช้ไฟฟ้า
    การไฟฟ้าทั้งส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง
    จะให้ใช้ไฟฟ้าได้เพียงมิเตอร์เดียว

    ต้องคำนวณการใช้ไฟฟ้าในห้องย่อยทั้งหมดก่อนขอใช้ไฟฟ้า
    แต่อย่าคำนวณมากเกินไปหรือเผื่อเหลือเผื่อเกินจนเว่อร์
    เพราะเดี๋ยวอาจจะโดนการไฟฟ้าให้ติดหม้อแปลงไฟฟ้าประจำบ้าน
    หรือขยายเขตให้ลากสายด้วยการเิดินเส้นเมนส์ใหญ่มาเข้าที่ตู้มิเตอร์ที่บ้าน
    ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเงิน

    ขอแนะนำว่ามิเตอร์ไฟฟ้าควรเป็นแบบสามเฟส
    ไม่ควรต่ำกว่า 15(45) A หรือมากกว่านี้ก็ดี
    แบ่ง load การใช้ไฟฟ้าให้ดีระหว่างชั้นกับห้องให้เช่า

    เนื่องจากการไฟฟ้าจะให้มิเตอร์เพียงลูกเดียว
    แล้วต้องจ่ายไฟฟ้าไปตามแต่ละห้องพักให้เช่า
    ในห้องเช่าที่แบ่งให้เช่า ให้ไปหาซื้อมิเตอร์ติดประจำแต่ละหัอง
    แล้วคิดค่าใช้จ่ายตามยุูนิตที่ใช้จริงแต่ละเดีอน
    คิดง่าย ๆ เอาค่าไฟฟ้าทั้งหมดที่ต้้องจ่ายในแต่ละเดือน/หน่วยที่ใช้
    เป็นอัตราหน่วยละต่อเดือน แต่ส่วนมากเก็บกันระหว่าง 5-10.-บาท/ยูนิต
    แล้วแต่ความต้องการของผู้ให้เช่าและผู้เช่าจำยอมต้องจ่าย

    ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
    1. ขอแนะนำให้หามิเตอร์ยี่ห้อดังกล่าว
    ยี่ห้อ ฮอลลี่ ( HOLLY ) มาตราฐาน มอก. คุณภาพดี+ราคาถูกใข้งานได้ดี
    ระวังของปลอมแปลงหรือสั่งให้จีนผลิตในชื่อดังกล่าวด้วย
    ของแท้แต่เดิมจะผลิตภายในประเทศไทย

    อีกยี่ห้อน่าจะดีที่สุดคือ  มิตซูบิชิ
    การวัดค่าไฟฟ้าเที่ยงตรง และทนทานมาก
    ร้านค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามักจะแนะนำ  
    แต่ราคาต่อหน่วยค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับเจ้าอื่น ๆ

    แต่เดิมเป็นมิเตอร์ยี่ห้อหนึ่ง
    ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) การไฟฟ้านครหลวง
    ใช้ติดตั้งตามบ้านต่าง ๆ พอครบกำหนดอายุการใช้งานประมาณสิบปีขึ้นไป
    หรือมีสภาพชำรุดเสื่อมโทรม หรือมีการเปลี่ยนแปลงขนาดมิเตอร์การใช้งานบางบ้าน
    มีการนำมาขายแบบเหมาเข่งในตลาดสินค้า recycle
    หรือขออนุมัติตัดจำหน่ายทิ้ง วัสดุครุภัณฑ์

    ให้ระมัดระวังเพราะช่วงหลังมี
    บางรายซื้อสินค้าดังกล่าวมา
    ืำืทำการ rebuilt ใหม่หมด แล้วขายในราคาของใหม่
    ให้กับร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าบางเจ้า
    เจ้าของบ้านต่างจังหวัดบางแห่งจะเจอ
    เพราะคุณภาพไม่ค่อยเที่ยงตรงมากนัก
    อาศัยว่าใช้ในห้องพักให้เช่า
    เลยไม่ค่อยจะมีปัญหามากนัก

    2. ควรติด breaker ประจำไว้แต่ละมิเตอร์ของห้องพัก
    เวลามีปัญหาได้แก้ไขเฉพาะจุดไม่ต้องปลดสายสายไฟฟ้าเฉพาะมิเตอร์
    ค่าแรงงานปลดสายไฟฟ้าจากมิเตอร์
    บางแห่งช่างไฟฟ้าจะเรียกสูงกว่าปกติ
    อ้างว่าทำงานลำบากหรืออันตรายมาก
    ส่วนมากเจ้าของบ้านให้ทำเองก็ไม่ค่อยกล้าทำอยู่แล้ว
    ถ้าไม่ทำการติด Breaker ตามแบบข้างต้นนี้แล้ว
    อาจต้องปิดการใช้ไฟฟ้าหมดทั้งอาคาร
    หรือเฉพาะชั้นอาคารที่จะทำการซ่อมแซม

    3. ถ้าเป็นไปได้ควรมีตู้รวมมิเตอร์ไฟฟ้าไว้ประจำชั้น
    หรือจะวางจุดรวมไว้ที่ข้างล่างแต่เพียงที่เดียว
    จะสะดวกเวลาตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าแต่ละห้องพัก
    ว่ามีคนเข้าพักหรือไม่ หรือการใช้ไฟฟ้าผิดปรกติ
    เมื่อเทียบกับห้องอื่น ๆ มากหรือน้อยเพียงใด

    4. ถ้าเป็นไปได้ควรปิด lock บริเวณตู้ควบคุมมิเตอร์ไฟฟ้า
    เน้นว่าการเปิดเข้าไปทำงานมิเตอร์ไฟฟ้าแต่ละห้องพักต้องแน่นหนา
    กันไว้ดีกว่าแก้ เพราะอาจจะมีมือดีแต่หวังร้าย
    เข้าทำการแก้ไขมิเตอร์ห้องพัก หรือทำให้มิเตอร์หมุนช้ากว่าปกติได้

    5. ระบบสายดินควรเตรียมการไว้ให้ดีเลย
    เพราะอนาคตติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนหรือเครื่องปรับอากาศหรือตู้เย็น
    ให้เดินสายปลั๊กสามขารองรับไว้เลย
    ยอมลงทุนแต่แรก แม้ว่าจะแพงกว่ารายทั่วไป
    แต่ประกันความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของผู้เช่า
    กับสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการ

    การติดต่อการไฟฟ้าให้ไปค้นหาได้ที่

    http://www.mea.or.th/internet/  หรือ

    http://www.pea.co.th/th/services/services_fee_rates.htm

    หรือจากคลังกระทู้เก่า  หัวข้อ มิเตอร์ไฟฟ้า
    ศึกษาหาความรู้เบื้องต้นได้ก่อนพิจารณาครับ

    ส่วนเลขที่บ้านให้ไปติดต่อ อบต. เทศบาล สำนักงานเขต
    โดยนำใบอนุญาตก่อสร้างบ้านไปด้วย
    ถ้าไม่มีต้องเขียนแบบและจ่ายรายการใหม่ย้อนหลัง
    ตามที่ส่วนราชการดังกล่าวแนะนำให้ทำ
    ข้อเสนอแนะ  ควรติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่วนราชการดังกล่าว
    ให้เป็นผู้เขียนแบบรายการ แผนผัง แปลนบ้าน
    ในการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน
    จะลดทอนปัญหาการส่งเืรื่องกลับไปกลับมา
    หรือเสียเวลาในการแก้ไขแบบแปลนก่อสร้าง
    ต้องยอมจ่ายในส่วนนี้  แม้ว่าบางแบบจะค่อนข้างเชยๆ
    แต่ค่อยมาตกแต่งภายในได้ ที่ไม่ใช่โครงสร้างหลัก

    ที่เสนอแนะแบบนี้เพราะ
    จุดเป็นจุดตายของบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว
    ถ้าตรวจสอบประเมินไม่ผ่าน
    ทางราชการก็จะไม่ออกทะเบียนบ้านให้
    หน่วยงานบางแห่งจะทำการจัดระเบียบรายได้
    จากการดำเนินการในแบบนี้
    ยิ่งถ้าไม่ผ่านขั้นตอนของราชการ
    จะยิ่งยุ่งยากมากกว่าปรกติมากเลย

    บ้้านที่ยังไม่มีเลขที่บ้าน
    การติดต่อขอมิเตอร์ไฟฟ้าและประปา
    จะทำได้ก็แต่มิเตอร์ชั่วคราว
    ซึี่งมีค่าใช้้จ่ายสูงมาก
    แม้ว่าภายหลังจะได้เลขที่บ้านมาแล้ว
    แต่การติดต่อขอคืนเงินบางส่วนจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
    ก็ล่าช้าพอ ๆ กับหน่วยราชการอื่นเช่นกัน
    เว้นแต่บางหน่วยงานจะทำงานได้รวดเร็ว

    การขอเลขที่บ้านหลังใหม่
    บางแห่งต้องแนบเอกสารกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
    หรือสัญญาเช่าที่ดินแนบไปด้วย
    พร้อมทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน
    ใบยินยอมของผู้ให้เช่า
    สอบถามจากส่วนราชการก่อนได้

    ถ้าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแล้ว
    จะได้สำเนาทะเบียนบ้านเล่มสีฟ้ามาหนึ่งเล่ม
    จะโอนชื่อตนเองเข้าไปหรือไม่ก็ได้
    ไม่ีมีปัญหาแต่อย่างใด
    เพราะกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดิน
    กฎหมายไทยถือเอาหลักฐานการจดทะเบียน
    ในตราจองที่ดิน โฉนดที่ดิน นส.3 นส.3 ก.
    หรือโฉนดเฉพาะแปลง(ประเภทคอนโด)
    เป็นหลักฐานที่สำคัญที่่สุด
    ทะเบียนบ้านบางแห่ง
    เจ้าของบ้าน  จึงอาจเป็นผู้เช่าบ้านหรือผู้ขายบ้านรายเก่าก็ได้
    ตามแต่การจดบันทึกหรือหลักฐานเดิมที่ยังไม่ได้แก้ไข
    ถ้าจะแก้ไขต้องนำหลักฐานไปยื่นขอแก้ไข

    แต่ถ้าจะไปหักภาษีเงินได้ส่วนบุคคล
    ต้องโอนชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านดังกล่าว
    มิฉะนั้นจะหักภาษีไม่ได้
    ในกรณีที่มีเงินกู้จากการซื้อบ้าน
    ที่ต้องการนำดอกเบี้ยมาหักภาษีเงินได้ส่วนบุคคล
    กรณีที่มีสิทธิ์หักได้ตามกฎหมาย
    แต่ต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินที่สรรพากรกำหนดก่อน

    ส่วนการมืรายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
    ต้องบันทึกรายได้หรือแจ้งรายได้ตามหลักเกณฑ์ของ
    อบต. เทศบาล ว่าได้ค่าเช่าต่อห้องเดือนละเท่าไร
    จะมีอัตราขั้นต่ำให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้
    (ถ้ายอมบอกว่าแจ้งต่ำสุดได้เท่าไร)

    ปลายปีต้องไปยื่นเสียภาษีโรงเรือน
    คิดจากรายได้แต่ละห้องต่อปี คูณประมาณ 1.5  ต่อห้อง
    เรียกว่ารายได้ทั้งปีต้องจ่ายภาษีให้ อบต. หรือ เทศบาล
    ปีละหนึี่งเดือนครึ่งเป็นภาษีโรงเรือน
    และอย่าลืมแจ้งห้องว่างให้ทางอบต. หรือเทศบาล
    ิมิฉะนั้นจะประเมินเหมารวมหรือประมาณการ
    อาจจะต้องจ่ายมากกว่ารายอื่น ๆ

    อย่าลืมว่าต้องจ่ายภาษีเงินได้ส่วนบุคคลจากการให้เช่าห้องพัก
    ให้กับกรมสรรพากรในช่วงกรกฏาคม-กันยายนของทุกปี
    รายได้ช่วงครึ่งปีแรก  ตั้งแต่มกราคม-มิถุานยน ของแต่ละปี
    ก่อนจะไปเสียภาษีเงินได้อีกรอบช่วงมกราคม-มีนาคมปีหน้า
    รายได้พยายามให้สอดคล้องต้องสอบยันกับอบต. เทศบาล
    มากเกินไป น้อยเกินไป จะีมีปํญหาโดนตรวจสอบรายรับได้

    ควรทำแบบหักรายจ่าย  
    ถ้าหาใบเสร็จและรายการมาหักรายจ่ายได้
    ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า อะไรนำมาหักได้บ้าง
    อะไรที่นำมาหักไม่ได้ ใบเสร็จแบบไหนสมบูรณ์
    แบบไหนใช้ไม่ได้เลย
    ลองศึกษาหรือสอบถามสรรพากรก่อนได้
    เพราะพนักงานสรรพากรส่วนมาก
    ตอนนี้ให้บริการค่อนข้างดีและประทับในหลายคน

    แต่ถ้าหาไม่ได้ต้องยอมจ่ายแบบเหมาไปเลย
    (เว้นแต่จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
    การคิดคำนวณภาษีก็เป็นอีกบบหนึ่ง
    ขอยกเว้นไม่กล่าวถึง เพราะมีระเบียบขั้นตอนมากกว่านี้)

    รายได้ส่วนบุคคลแบบบุคคลธรรมดา
    ถ้ามีรายได้มากต่อปีจะเข้าเป็นอัตราก้าวหน้าภาษีจะสูงมาก
    แนะนำให้ซื้อพวกกองทุน LTF  RMF ประกันชีวิต ประกันสังคม
    เอาไว้หักทอนลดภาษีเงินได้จำนวนหนึ่ง
    และเป็นเงินออมระยะยาวของชีวิตและธุรกิจได้

    ข้อควรระวัง  
    รายได้จำนวนน้อยไม่ถึงเกณฑ์
    ต้องเข้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ไม่จำเป็นอย่าเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    เพราะเข้ายากออกยาก
    ต้องรอสามปีติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง
    รายได้ไม่ถึงเกณฑ์จึงจะออกจากระบบได้

    รวมทั้งจะหาใบเสร็จภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ประเภทรายจ่ายของธุรกิจที่มี Vat
    ค่อนข้างยากในช่วงธุรกิจดำเนินการแล้ว
    แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นก่อสร้างหรือระหว่างก่อสร้าง

    แต่ธุรกิจเริ่ม start up หรือดำเนินการไปเรื่อย ๆ แล้ว
    ใบเสร็จประเภทมี Vat จ่าย
    จะหาได้น้อยหรือค่อนข้างยากมาก
    ยิ่งจ้างช่างท้องถิ่นมาทำงานหรือ้
    ซื้อสินค้าตามท้องถิ่น
    ราคาบวก Vat จะแพงกว่าราคาไม่บวก Vat
    หรือจะขอบัตรประชาชน
    หรือใบเสร็จแทบหาให้ไม่ได้เลย

    จะมีแต่รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม
    หรือหา Vat ซื้อมาหัก Vat ขายไม่ได้ง่าย
    ภาษีก็จะโป่งโตอยู่ด้านเดียวตลอด
    เป็นต้นทุนระยะยาว
    ถ้าไม่สามารถผลัก Vat ขายให้ผู้เช่าได้

    ขอตอบพอสังเขป

    หมายเหตุ แก้ไขคำผิด/เิพิ่มเติมข้อมูลเท่าที่นึกขึ้นมาได้
    อาจจะไม่สมบูรณ์ถูกต้องมากนัก

    By: ravio
    Since: 9 มิ.ย. 55 16:35:40

  2. admin Post author

    ขอบคุณมากเลยค่ะ ข้อมูลแน่นมากๆ เราความรู้น้อยไม่เข้าใจอะไรเลย คิดว่าการขอบ้านเลขที่แต่ละบ้านจะทำไม่ได้ซะอีก เห็นช่างบอกว่าต้องแบ่งโฉนด งงไปหมดเลยทีนี้

    By: Prissy
    Since: 9 มิ.ย. 55 21:58:40

  3. admin Post author

    ขอเพิ่มเติมประเด็นเรื่องน้ำของห้องเช่า
    ที่ตกประเด็นลืมตอบไป

    ถ้าใช้น้ำบาดาลได้จะลดต้นทุนได้มาก
    แต่มีค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะน้ำบาดาล
    และติดตั้งเครื่องปั้มน้ำบาดาลขึ้นมาใช้งาน
    ราคาและการขุดเจาะขึ้นกับความลึก
    และขนาดท่อน้ำที่จะใส่ลงไปในชั้นใต้ดิน
    โดยทั่วไปนิยมขนาด 2 นิ้วขึ้นไป
    หรือมากกว่านั้นถ้าจะใส่ปั้มน้ำ
    แบบจุ่มลงไปในท่อใต้ดินหรือเรียกว่าแบบ  submerge
    ส่วนมากจะนิยมยี่ห้อ Grundfos
    ค่อนข้างทนทานใช้งานได้นาน
    แนะนำให้ใช้ท่อ stainless ในการติดตั้ง
    ปั้มน้ำดังกล่าวลงไปในใต้ดิน
    โอกาสหักหรือขาดจากสนิมแทบไม่มีเลย
    รวมทั้งการดึงขึ้นมาบำรงุรักษาในระยะยาว
    จะค่อนข้างทนทานแข็งแรงกว่าท่อประเภทอื่น ๆ
    แต่ราคาลงทุนเบื้่องต้นค่อนข้างแพง
    ข้อดีประสิทธิภาพสูง ทนทานงานหนัก

    หมายเหตุ  อยากแนะนำการใช้น้ำประปาแทนบาดาลมากกว่า
    แต่ขอให้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการพิจารณา

    คุณภาพน้ำบาดาลเป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน
    เช่น น้ำเป็นสนิม หรือมีกลิ่นสาบ หรือกระด้าง หรือเป็นเมือก
    ต้องมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องกรองน้ำ
    มีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาในระยะยาว
    มีตั้งแต่ระบบกรองโบราณ
    ใช้ ทรายละเอียด ทรายหยาบ กรวด หิน ถ่่าน
    การประปาส่วนภูมิภาค และการประปาชนบท
    นิยมใช้แบบนี้มาก  เพราะต้นทุนต่ำ ราคาถูก
    แต่ค่อนข้างสิ้นเปลืองสถานที่ในการตั้งถังกรอง
    ต้องหมั่นทำความสะอาดสารกรอง
    ด้วยระบบ reverse  ไหลย้อนกลับจะสะดวกกว่า
    ลองหาข้อมูลได้ใน google
    หรือสอบถามพนักงานการประปาที่ดูแลเรื่องการกรองน้ำ

    แบบเป็นถังเหล็กกล้าปิดผนึกแน่่นหนา
    ใช้สารกรองหลากหลายประเภท
    ค่อนข้างจะสะดวก  กินเนื้อที่ค่อนข้างน้อย
    ในการกรองน้ำบาดาลที่มีปัญหาการใช้งาน
    ราคาค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาแตกต่างกันไป
    ขึ้นกับประสิทธิภาพและความสามารถในการกรองน้ำ
    อย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่า 2,000.-ลิตรขึ้นไปต่อวัน
    เพราะต้องรอบรรจุในถังพักน้ำ
    ก่อนสูบปั้มน้ำไปใช้งานต่อไป
    จะมีข้อมูลด้านล่างว่า ทำไมต้องกรองได้ขนาดนี้

    แ่ต่ต้องขยันหมั่นทำความสะอาดสารกรองน้ำ
    สารบางประเภทต้องเติมเกลือแกงด้วย
    ถังประเภทนี้มักจะเป็นระบบ reverse
    หรือระบบไหลย้อนกลับในถังน้ำเลย
    ปิดผนึกถังอย่างแน่นหนามาก
    เพราะถ้าสารอุดตันหรือสารเสื่อมสภาพแล้ว
    ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนสารตัวใหม่ค่อยข้างแพง
    รวมทั้งวุ่นวายสกปรกเลอะเทอะภายในพื้นที่ทำงานพอสมควร
    ยิ่งจัดเตรียมสถานที่คับแคบ
    หรือไม่วางแผนให้มีพื้นที่ว่างให้ทำงาน
    จะทำงานได้อย่างยากลำบากมาก
    ในการรื้อสารตัวเก่าออกมาทั้งหมด
    เื่พื่อเปลี่ยนสารตัวใหม่เข้าไปแทน

    บางเจ้าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
    คือ การติดตั้งเครื่องปั้มน้ำยาคลอรีนผสมเจือจาง
    ลงไปผสมกับน้ำที่ผ่านการกรองน้ำแล้ว
    จะมีค่าใช้จ่ายปั้มน้ำ (ค่าไฟฟ้า และค่าซ่อมแซม/เปลี่ยนภายหลัง)
    รวมทั้งค่าน้ำยาคลอรีนผสมเจือจาง
    ที่ต้องซื้อเตรียมไว้ในการใช้งาน
    ต้องเสียพื้นที่บางส่วนในการตั้งถังน้ำบรรจุคลอรีน
    และค่าไฟฟ้าในการปั้มน้ำยาคลอรีนผสมลงในถังน้ำกรอง

    แต่ถ้าเป็นน้ำประปา  ไม่ต้องเลยทำการแบบนี้
    ได้น้ำมานำไปใช้งานได้เลย

    อนึ่ง การเจาะบาดาลในบางพื้นที่ต้องขออนุมัติจากส่วนราชการ
    และถ้าใช้ในเิชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม
    จะมีการติดตั้งมิเตอร์เรียกเก็บน้ำตามปริมาณการใช้น้ำ
    ต้องชั่งน้ำหนักในค่าใช้จ่ายที่จะต้องจายต่อเนื่้องระยะยาวด้วย
    เว้นแต่จะไม่ต้องขออนุญาตเจาะน้ำบาดาลมาใช้งาน
    แต่ถ้าน้ำมีปัญหาก็ต้องติดตั้งเครื่องกรองอยู่ดี
    จะมีค่าใช้จ่ายเครื่องกรองน้ำ ปั้มน้ำ ติดตามมา

    By: ravio
    Since: 10 มิ.ย. 55 13:52:00

  4. admin Post author

    การติดตั้งประปาจากส่วนภูมิภาคหรือนครหลวง
    ต้องมีเลขที่บ้านได้รับอนุญาตจากส่วนราชการก่อน
    ถ้าไม่มีเลขที่บ้าน จะได้มิเตอร์น้ำแบบชั่วคราว
    ค่าน้ำค่อนข้างแพงกว่าอัตราปกติ

    ถ้าขอมิเตอร์น้ำขนาดหนึ่งนิ้วได้ยิ่งดี
    น้ำจะมีแรงดันและปริมาณน้ำมากกว่าท่อขนาดเล็กทั่วไป
    ตามหลักการที่ถูกต้องแล้ว
    ห้ามติดตั้งปั้มน้ำดูดน้ำโดยตรงจากท่อประปา
    เพราะจะทำให้บ้านข้างเคียงน้ำแทบไม่ไหลเลย
    รวมทั้งเวลาน้ำขุ่นหรือสกปรกจะไหลเข้าท่อในบ้านเร็วขึ้น

    แต่ในเมืองใหญ่มักจะมีบางบ้านลักไก่กันทำ
    ถ้าการประปาตรวจจับได้มักจะมีค่าปรับ
    แต่นาน ๆ ครั้ง จะเห็นพนักงานประปาไปทำงานสักที
    ต้องมีคนร้องเรียนมาก ๆ หรือสงสัยว่า
    น้ำไหลผิดปรกติ drop ในท่อน้ำมาก ๆ
    จึงจะไปทำการตรวจสอบย้านต้องสงสัย

    เมื่อได้ประปาแล้วทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
    จำเป็นต้องมีถังพักน้ำจากน้ำประปาก่อน
    เพื่อสูบหรือปั้มไปใช้งานในชั้นสองและสาม
    ชั้นล่างต่อตรงได้เลย แทบไม่จำเป็น
    ต้องผ่านปั้มน้ำแรงดันใช้งาน
    ต้องมีพื้นที่ในการวางถังพักน้ำด้วย

    แต่บางแหล่งโชคดี  แรงดันน้ำประปาสูงมาก
    สามารถดันน้ำขึ้นชั้นสองชั้นสามได้สบาย ๆ เลย
    เจ้าของบ้านที่โชคดีแบบนี้หาได้ไม่มากนัก

    การคำนวณการใช้น้ำประจำวันของแต่ละคน
    หลักการเดิมที่มักจะใช้คำนวณคือ 200 ลิตรต่อคนต่อวัน
    ถ้ามี 10 ห้อง ห้องละ 2 คน
    จะมีการใช้น้ำรวมวันละ 20*200= 4,000.- ลิตรต่อวัน
    หรือต้องเตรียมน้ำสำรองไว้ประมาณนี้
    หรือควรจะมากกว่านี้ในแต่ละวัน
    เผื่อน้ำประปาไม่ไหล หรือน้ำประปาไหลไม่ทัน
    แต่บางสูตรหรือบางราย
    จะคำนวณน้อยกว่านี้ตามประมาณการ
    แนะนำว่าควรจะประมาณการอย่างต่ำ 100-150 ลิตร/วัน/คน

    ถ้้าในเมืองใหญ่  ระบบประปา
    การจ่ายน้ำประปามีปัญหาน้อย
    ไม่ต้องจัดเตรียมถังสำรองน้ำไว้เผื่อเหลือเผื่อขาดมาก
    แต่ประมาณการว่าถังเก็บพักน้ำควรมีขนาดอย่างน้อย 1,000 – 2,000 ลิตรต่อวัน
    ถ้าได้น้ำประปามาเติมเต็มเร็ว
    ค่อยทะยอยปั้มน้ำไปใช้งานได้
    ถ้าคนพักใช้น้ำไม่ค่อยพร้อม ๆ กัน

    การใช้น้ำในบ้านให้เช่า
    ถ้าใช้ปั้มน้ำแบบแรงดันให้น้ำจ่ายทุกห้อง
    ค่อนข้างจะเปลืองไฟฟ้าและมีเสียงรบกวน
    รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายของเจ้าของกิจการ
    ที่ผลักภาระให้ผู้เช่าค่อนข้างยาก

    แต่ถ้าสูบน้ำจากถังพักด้านล่าง
    แล้วขึ้นไปเติมเต็มถังพักน้ำบนดาดฟ้าข้างบน
    ยกถังน้ำสำรองข้างบนด้าดฟ้าให้สูง
    ตามที่ผู้รู้ในพันทิปหลายท่านแนะนำ
    อย่างน้อยต้องสูงประมาณ 7 เมตร
    จะทำให้จ่ายน้ำได้ดีกว่าปกติ
    แต่ต้องคำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักอาคารก่อนทำการ

    เพราะน้ำหนักน้ำประมาณการ หนึ่งลิตร
    หนักประมาณหนึ่งกิโลกรัม โดยประมาณ
    ข้างบนมีถังพักน้ำขนาด 4,000.-ลิตร
    หรือ 4 ลูกบาศก์ลิตร หรือ 4 คิว
    น้ำหนักโดยประมาณคือ 4 ตัน
    จึงต้องมีการคำนวณเรื่องโครงสร้างและการรับน้ำหนักให้ดี
    ลองปรึกษาวิศวกรเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

    เพราะตัวอย่างประวัติศาตร์
    โรงแรมที่โคราชแห่งหนึ่ง
    โครงสร้างตึกวิบัติจนพังถล่มลงมา
    มีคนเจ็บคนตายจนเป็นข่าวเกรียวกราว
    เพราะการบรรจุถังพักน้ำบนดาดฟ้าจำนวนมาก
    โดยไม่ผ่านการคำนวณและวิเคราะห์โครงสร้างในการรับน้ำหนักอย่างแท้จริง

    ควรแยกท่อน้ำในแต่ละชั้น
    ไม่ควรใช้ท่อรวมแล้วเดินแยกลงไปในแต่ละชั้น
    จะมีประโยชน์ในเรื่องแรงดันน้ำ
    และการบำรุงรักษาซ่อมแซมในระยะยาว
    สามารถปิดเฉพาะชั้นที่มีปัญหาได้
    นอกเหนือจากการปิดซ่อมแซมเฉพาะห้องพัก
    แต่ต้องยอมรับก่อนในเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นบ้าง
    ในระยะยาวจะประหยัดและสะดวกในการทำงาน

    ถังพักน้ำข้างบนดาดฟ้ากับข้างล่าง
    ถ้าจะสูบขึ้นไปใช้งานข้างบน
    ต้องทำงานสัมพันธุ์กัน เช่น
    ข้างบนเหลือน้ำอยู่ประมาณ 2,000 ลิตร
    ถังข้างล่างที่บรรจุน้ำเตรียมไว้ 2,000.-ลิตร
    จะเีริ่มทำงานปั้มน้ำขึ้นไปเก็บไว้บนถังบาดาลข้างบนเลย
    ควรเป็นระบบอัตโนมัติที่บำรุงรักษา ซ่อมแซมง่าย
    รวมทั้งควรจะทนทานต่อการใช้งานหนัก
    ตั้งแต่ ปั้มน้ำ ลูกลอยน้ำ ลูกลอยไฟฟ้า
    วงจรไฟฟ้าเปิดปิดเครื่องปั้มน้ำ ตู้ Control ระบบน้ำ+ไฟฟ้า
    การติดตั้งควรติดต่อช่างไฟฟ้าที่ชำนาญงาน
    หรือมีประสบการณ์ในการนี้ แทนการลองผิดลองถูก
    หรือลองศึกษาจากคลังกระทู้เก่า ๆ ได้
    มีผู้รู้หลายท่านแนะนำเรื่องแบบนี้ไว้มาก

    มิเตอร์น้ำถ้าไม่ใช่เป็นห้องน้ำรวม
    ควรติดตั้งประจำห้องพักแต่ละห้อง
    อย่าใช้วิธีการเหมาจ่ายรายเดือน
    แนะนำใช้มิเตอร์ยี่ห้อ sanwa
    ของจีนไม่แนะนำให้ใช้งาน
    เพราะชำรุดเสียหายง่ายมาก
    ไม่มีร้านรับซ่อมแซมเหมือน  sanwa
    แ่ต่ต้องทำใจเพราะราคาแพงกว่าเจ้าอื่น

    ที่แนะนำติดตั้งมิเตอร์น้ำประจำห้องพัก
    แทนการเหมาจ่ายแบบรายเดือน
    เพราะลูกค้าบางรายหลง ๆ ลืม ๆ
    หรือไม่รับผิดชอบ ต้องการแกล้งเจ้าของ
    เปิดน้ำใช้แบบทิ้ง แบบขว้าง หรือเปิดไหลเอื่อย ๆ

    รวมทั้งชักโครกแบบลูกลอยน้ำ
    ถ้าเกิดมีการชำรุดภายในเกิดขึ้นแล้ว
    น้ำไหลทิ้งมักจะไม่รู้เลย
    หรือรู้แล้วไม่ยอมแจ้งให้เจ้าของทราบ
    ปรากฎว่าปริมาณน้ำใช้เพิ่มขึ้นสูงผิดปรกติ
    ดังนั้นจึงปรากฎว่า หอพักมหาวิทยาลัยบางแห่ง หรือแฟลตบางแห่ง
    จะทะยอยเปลี่ยนเป็นโถส้วมแบบนั่งราบ
    แต่ให้ใช้น้ำราดแทนการใช้ชักโครกแบบลูกลอย
    เพราะน้ำรั่วซึมแบบนี้ตรวจยากมาก
    บางครั้งต้องเงียบสนิทจริง ๆ
    จึงจะเงื่ยหูฟังได้ว่ามีน้ำไหลทิ้ง
    รวมทั้งมิเตอร์ในห้องพักแทบจะไม่กระดิกเลย

    การเก็บค่าน้ำจากการใช้งานตามมิเตอร์
    ถ้าใช้นำประปาต้องคำนวณ
    ตามอัตราจากค่าน้ำที่ใช้รวมทั้งหลังจริง
    ตามที่การประปาเรียกเก็บค่าน้ำ
    แล้วค่อยมาคำนวณเฉลี่ยต่อห้องต่อหน่วย
    บวกกำไรเล็กน้อย หรือบวกจากค่าประกันมิเตอร์น้ำ

    เพราะถ้ามีการใช้น้ำปริมาณมาก ๆ แล้ว
    ราคาต่อหน่วยจะแพงมากกว่า
    การใช้งานตามบ้านพัก
    เพราะจะเข้าเป็นอัตราก้าวหน้า
    ยิ่งใช้น้ำมากแล้ว ค่าน้ำจะแพงมากขึ้น

    ที่มาของข้อมูล

    http://www.pwa.co.th/service/tariff_rate.html

    ดังนั้นไม่ควรใช้วิธีการคำนวณค่าน้ำแบบเหมาจ่าย
    ถ้าใช้เกินลูกบาศ์ลิตรที่กำหนดจะคิดเงินเพื่ม
    ตามที่บางรายหรือชาวบ้านมักจะบอกต่อ ๆ กัน

    การใช้แบบเหมาจ่ายเหมาะสำหรับ
    การใช้น้ำบาดาลมา treatment หรือกรองน้ำมาใช้งาน
    ต้นทุนจะต่ำกว่าน้ำที่ใช้จากการประปาส่วนหนึ่ง

    ขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกส่วน
    อาจจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์มากนักครับ

    By: ravio
    Since: 10 มิ.ย. 55 13:59:52

Leave a Reply