จะต่อ Pressure switch Danfoss เข้ากับปั้มหอยโข่ง ต้องทำยังไงครับ

ถ้าเป็น Pressure switch  แบบในรูปแรกนี้ไม่น่างงเท่าไหร่เพราะมีท่อน้ำออก น้ำเข้า สายไฟ เห็นแล้วพอเข้าใจได้ แต่ของ Danfoss มันเป็นตัวแบบในรูป มันจะต่อยังไงอ่ะครับ

By: Piboonsak
Since: 16 พ.ค. 55 22:46:30

คำค้นหา:

  • การต่อวงจรไฟฟ้าปั๊มหอยโข่ง

18 thoughts on “จะต่อ Pressure switch Danfoss เข้ากับปั้มหอยโข่ง ต้องทำยังไงครับ

  1. admin Post author

    จริง ๆ อยากได้แบบนี้ แต่อยู่ ตจว. หาซื้อไม่ได้อ่ะครับ ใครมีแหล่งที่เค้ามีบริการส่ง รบกวนชี้เป้าให้หน่อยครับ

    By: Piboonsak
    Since: 16 พ.ค. 55 22:48:51

  2. admin Post author

    Pressure switch Danfoss  แบบนี้จะต่อยังไงหว่า (มีคนขายในเน็ต)
    ปล. ยังไม่ได้ซื้อของมานะครับ

    By: Piboonsak
    Since: 16 พ.ค. 55 22:50:19

  3. admin Post author

    Pressure switch แบบนี้ต่อโดยหมุนเกลียวเข้ากับข้อต่อเกลียวในของท่อน้ำครับ   แล้วข้อต่อเกลียวในมาจากไหน ก็ทำแบบข้อต่อเกลียวสำหรับสวมก๊อกหรือวาล์วเปิด/ปิดนี่แหล่ะครับ  นึกภาพออกไหมครับ เหมือนการต่อก๊อกน้ำนั้นแหล่ะครับเพียงแต่ข้อต่อเกลียวในนิยมหงายขึ้น  ก่อนอื่นต้องแน่ใจว่าเกลียวเข้ากันได้

    ส่วน Contact ก็อยู่ด้านในครับ เปิดหน้ากากก็จะเห็นเทอร์มินัลต่อสาย สำหรับ ตัดวงจรมอเตอร์ครับ

    ก่อนซื้อมา คงไม่ได้ศึกษาวิธีการติดตั้งสินะครับ

    By: arm_cc
    Since: 17 พ.ค. 55 01:43:53

  4. admin Post author

    รูปใน คคห. 1 มัน Pressure Control มันสามารถปรับแรงดันขาออกโดยไม่ต้องอาศัย Pressure Tank ที่ใช้อากาศใน Tank เป็น Buffer ผมเห็น แว๊บๆ ที่ Global House เชียงใหม่นะ คิดว่าสาขาอื่นก็น่าจะมี

    ส่วนรูป คคห.2 ต้องมี Pressure Tank เพราะหากไม่มีเมื่อใช้น้ำน้อยกว่าอัตราสูบปั๊มจะทำงานติดๆ ดับๆ

    By: Waterman (LN106)
    Since: 17 พ.ค. 55 02:51:15

  5. admin Post author

    สมัย 10 กว่าปี ที่พอจะมีปัญญาซื้อบ้านทาวน์เฮ้าส์กับเขา (่อน)  หลังจากอาศัย "บ้านหลวง" มาตลอด

    หลังบ้านมีที่ว่างเกือบๆ  2 x 9 เมตรได้กระมัง ก็ขุดดินลึกลงไป หล่อทำแท้งค์น้ำใต้ดิน 2 x 3 เมตร ลึกเกือบๆ สองเมตร บนฝาก็ลาพื้นคอนกรีต หมุงหลังคา ใช้พื้นทำครัว ถังใต้ดินเก็บน้ำประปา ต่อก๊อกลูกลอยสำรองไว้ใช้ยามน้ำประปาไม่ไหล

    ทำแล้ว ไปได้ปัั๊มน้ำมากิต้า แบบหอยโข่งมาตัวหนึ่ง (ก็ของเก่าราคาถูก) อยากให้มันเป็นปั๊มอัตโนมัติ เวลาใช้งาน เสียบสวิทซ์เป้ดสวิทซ์ ปั๊มทำงาน ไม่เปิดก็อก มันก็เดิน หาวิธีให้มันตัด คิดไปคิดมา ออกมาในรูป

    ทำสำรองไว้ ไม่ได้ใช้ยามปกติกับเขาหรอก

    ทดลองว่า พอน้ำไม่ไหล กรอกน้ำเข้าปั๊ม เปิดวาล์วในรูป วิ่งออกไปปิดวาล์วที่มิเตอร์ เสียบปลั๊ก มันก็ ‘อ๋อยๆ’ (เสียงปั๊ม) น้ำไหล ออกทางก๊อก พอปิดก๊อก มันก็ ‘อื๋อๆ’ แล้วก็หยุด

    ทำไว้นาน วันหนึ่ง น้ำประปาไม่ไหล ก็เปิดใช้ ตอนแรก มันก็ใช้ได้ดีอยู่

    ใช้ไป ใช้ไป ไหงปั๊มมันไม่ตัด

    เอาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวมาต่อ

    By: ขอนเก่า
    Since: 17 พ.ค. 55 04:39:13

  6. admin Post author

    รูปร่าง หน้าตาปั๊มเป้ฯแบบนี้ครับ

    เข้ามาต่อ "ทำไม ปั๊มไม่ตัด แถมน้ำก็ ‘อ่อยๆ’ ไหลรินๆ ปิดก๊อกหมดทุกตัว ก็ไม่ไหล  แต่ได้ยินเสียงน้ำไหลที่ถังใต้ดิน

    เพราะน้ำที่ปั๊มดูดมันวนลงไปกลับลงถังใต้ดิน

    รู้ปัญหา ก็เอาเชือกฟาง ล้วงลงไปผูกก้านก๊อกลูกลอย แขวนไว้ ไม่ให้น้ำไหลลง ทำให้ใช้ได้อีก พอน้ำประปามาก็

    แก้เชือกฟางให้น้ำประปาลงถัง สำรองไว้ ใช้มาหลายปี แบบ นานๆ ใช้ที "น้ำมันจะไหลๆ หยุดๆ เหมือนที่คุณ Waterman (LN106)ว่าก็ดีกว่า ไม่มีน้ำไหล น้ำไม่ไหล ปวดหัวกับน้ำในชักโครก น้ำที่สายชำระ

    ข้อจำกัดของบ้านทาวน์เฮ้าส์ คือไม่มีที่ว่างจะวางตั้งถัง หรือขุดบ่อ

    ทั้งหมดก็มีข้อจำกัด ของเจ้าของบ้าน ที่ไม่มีปัญญาไปซื้อบ้านเดี่ยว เพราะ "เงินมันจำกัด"

    นั่นแหละ

    เล่าๆ เอาภาพมาให้ดู  เพื่อบอกความขี้เท่อ ของคนเล่า ที่หาของมาแก้ปัญหาของตัวเองครับ

    นานๆ ได้เจอคุณ Waterman (LN106) ที่ห้องชายคา

    ขอถือโอกาส "สวัสดีครับ"

    By: ขอนเก่า
    Since: 17 พ.ค. 55 04:55:55

  7. admin Post author

    ตามในรูป ตอนหลังผมไปได้ปั๊มแรงดัน ตัวเล็กๆ มา ติดตั้งแทน (ก็ของเก่า ราคาถูกอีกนั่นแหละ) เลยตัดปั๊มตัวที่ว่าออก แต่ระบบต่างๆ ยังคงไว้ ไม่ตัดออก

    ไปติดเช็ควาล์ว ใกล้ๆ มิเตอร์ ทำให้ไม่ต้อง "วิ่ง" ไปปิดวาล์วก่อนเสียบปลั๊ก ทำให้สะดวกขึ้น  กะว่าจะหา gate valve มาติดเพิ่มก่อนถึง วาล์วลูกลอยก็ยังไม่ได้ทำ

    เล่าอีกหน่อย ตอนแรกที่ติดตั้ง ก็ไม่ได้ตัดปั๊มตัวเก่าออก แค่ตัดท่อน้ำเข้า – ออกจากปั๊ม ใส่สามทางจุดที่ตัด สองอัน เอายูเนี่ยนสองอันมาต่อ  

    ด้วยหวังว่า ตัวหนึ่งตัวใดเสีย จะสลับใช้อีกตัวแทน ตามประสา คนใช้ของเก่าๆ มันจะงอแงเอา

    ซ่อมนะพอซ่อมได้อยู่  แต่ ถ้าต้องมาซ่อม ตอนจะใช้งาน มันหงุดหงิด รำคาญใจ

    พอต่อเสร็จ ทดลอง มันใช้ไม่ได้  เพราะน้ำมันวนไป วนมาอยู่แถวนั้นเอง

    จะทำให้ใช้ได้จริงๆ ก็ทำได้ แต่ถ้าเราไม่อยู่บ้าน คนอื่นคงปวดหัว เลยตัดตัวเก่าออก ให้มันรู้แล้วรู้รอดไป

    By: ขอนเก่า
    Since: 17 พ.ค. 55 05:18:41

  8. admin Post author

    — ที่บ้านผมก็ทำแบบคุณ ขอนเก่านั่นแหล่ะครับนี่ถังน้ำผม วงบ่อ 1.50ม.ลึก 4 วง ไว้เก็บน้ำประปาที่มานจะไหลแบบเอื่อยเฉื่อย ตอนไม่มีคนใช้น้ำลงบ่อ (เรียกว่าถังสำรองแล้วกัน)  ต่อท่อเข้า ออก มั่วไปหมด ใช้ดูดเวลาใช้งาน  ใช้ดูดจากประปาโดยตรง ใช้ดูดเข้าถังสำรองอีกใบหลังบ้าน  วุ่นวายไปหมด (ผบ.ที่บ้านบ่นมาก ปิดเปิดไม่ถูก ถ้าผมไม่อยู่จะทำไง)ตอนหลังเลย ใช้ปั้มอัตโนมัติใช้ดูดเพื่อใช้ภายในบ้านอย่างเดียว

    — อยากจะทำปั้มหอยโขงเป็นอัตโนมัติบ้าง จะนำไปใช้ที่สวน ใครจะรีวิวบ้าง

    — ขอสวัสดีครับคุณ ขอนเก่า

    By: nasum
    Since: 17 พ.ค. 55 06:42:51

  9. admin Post author

    คุณ Waterman
    ผมอยู่ลพบุรีอ่ะครับ Global House ไม่มีสาขาเลย ไปเดินดู HP กับไทยวสดุ ก็ไม่มีเลยอ่ะครับ เลยยังชั่งใจอยู่ว่าจะเอายังไงดี ระหว่าง ซื้อปั้มหอยโข่ง สเปคตามรูปแล้วซื้อ Pressure Control มาใส่ ราคาก็ ปั้ม 1800+ Pressure Control ประมาณ 1500 รวม 3300 บาท

    By: Piboonsak
    Since: 17 พ.ค. 55 06:42:57

  10. admin Post author

    กับซื้อปั้มอัตโนมัติ TQ400 ราคา 4300 บาท ชอบตัวนี้และแถวบ้านมีขายด้วย แต่ติดตรงที่ปั้มแบบนี้ส่วนมากเค้าจะเอามาใช้ในบ้านพักอาศัยกัน ส่วนผมจะเอาไปรดน้ำต้นไม้ (ทำสวน) ไม่รู้มันจะเหมาะกับลักษณะงานหรือเปล่า ดูจากสเปคแล้วสูสีกับที่ผมอยากได้ (แต่ตัวด้านบนดีน่าจะเหลือ ๆ เพราะระบุไว้ว่า 50-250 L/M ส่วนตัวนี้ ประมาณ 75 L/M

    ปล. ผมต้องการใช้น้ำ จ่ายจากหัวมินิสปริงเกอร์ 1.5 ลิตร/นาที จำนวน 50 หัว รวมคือต้องการปั้มน้ำที่สงน้ำได้ 75 ลิตร/นาที และ ต่อปั้มน้ำเข้าตัวตั้งเวลาอัตโนมัติครับ

    By: Piboonsak
    Since: 17 พ.ค. 55 06:51:35

  11. admin Post author

    คุณ Piboonsak เล่นเอาของใหม่ๆ ไปเลย  แถมมีข้อมูลมาอ้างอิงได้

    ผมนะเอาแต่ของเก่าๆ ราคาถูกๆ มาคิด ดัดแปลงแก้ไข แก้ปัญหาที่เจอ แบบ "ใช้ได้ แต่ไม่ดี หรือ ดีกว่า ไม่มีใช้" นั่นแหละครับ

    คนเก่งๆ บางคน จึงดูถูกว่า มั่ว โม้ เอา

    แต่ผมถือว่า ถึงจะมั่ว แต่ก็ใช้งานได้  จะมาว่า "โม้"  ได้อย่างไร? เพราะ ถ้าโม้ ก็คงไม่มีผลงาน ชิ้นงานออกมาให้เห็น ไม่ใช่หรือ?

    แต่ตอนนี้ มีคนมาบอกว่า ทำเหมือน (ความผมอาจจะเป็นคนทำเหมือนก็ได้) ก็ดีใจที่มีคนมีแนวความคิดร่วม แล้วเอามาบอกต่อ

    เผื่อมีคน คิดเอาไปต่อยอด ทำได้ดีกว่าที่เราคิด เราทำไว้อีกครับ

    By: ขอนเก่า
    Since: 17 พ.ค. 55 08:59:10

  12. admin Post author

    Pressure switch พวกนี้ต้องใช้คู่กับ relay และ Magnetic contactorนะครับ ไม่ควรต่อตรง

    อีกอย่าง มันไม่กันน้ำนะ

    แล้วราคามันนี่แทบจะซื้อปั้มน้ำตามบ้านได้ตัวนึง

    By: กิมทุย
    Since: 17 พ.ค. 55 09:29:48

  13. admin Post author

    ผมเพิ่งซื้อมาติดตั้ง ยังไม่ได้ทดลองเลย ไม่รู้คุณภาพเป็นไงบ้าง

    By: ทองปลิว
    Since: 17 พ.ค. 55 18:46:00

  14. admin Post author

    1. หากใช้น้ำเพื่อส่งให้หัว Sprinkler เพียงอย่างเดียว และใช้น้ำเป็นช่วงเวลา สำหรับผม ใส่แค่ Timer เพื่อคุมปั๊มอย่างเดียวครับ ไม่ไปใส่ Pressure Control ให้เสียเงิน หรือใส่ Pressure Switch ที่ยุ่งยากต้องมี Pressure Tank ด้วย

    เดินท่อ Main เผื่อ HeadLoss ปลายทางหน่อย แล้วก็มีประตูน้ำทองเหลืองไว้เป็นตัวปรับแรงดันน้ำในระบบโดยการหรี่วาล์วนี้ พอแล้วครับ

    หลักการทำงานของ Pressure Control ก็คือ การสร้าง HeadLoss โดยการบีบทางน้ำไหล ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเป็นตัวตวบคุม เพื่อให้แรงดันคงที่เมื่อมีการปรับอัตราการไหลปลายทาง เช่น เปิดก๊อกน้ำปลายทางเพิ่มหรือเพิ่มจุด

    แต่ในกรณีนี้ไม่จำเป็นเพราะอัตราการไหลคงที่ จึงใช้แค่ Gate Valve ควบคุมก็พอ

    2. Performant Curve ในรูป คคห. 10 เป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราการสูบกับแรงดันที่ปั๊มส่งออก เส้นนึงก็ปั๊มรุ่นนึง ในรูปจะมี 2 ส่วน โดยทางซ้ายเมื่อใช้ไฟฟ้าที่มีความถี่ 50 Hz กราฟก็จะได้แบบนึง ส่วนทางซขวาใช้กับไฟฟ้าที่มีความถี่ 60 Hz (ความถี่ไฟฟ้าของไทยอยู่ที่ 50 Hz) จะเห็นว่าปั๊มตัวเดียวกัน H และ Q จะเปลี่ยนไป (ซึ่งขนาดมอเตอร์ก็จะเปลี่ยนด้วย) ซึ่งเป็นไปตาม Affinity Law และเวลาเลือกใช้ปั๊มควรเลือกให้อยู่ใกล้เส้นนี้มากที่สุด ซึ่งหากไม่ได้จริงๆ ก็ให้เอา Head สูงกว่าที่ต้องการไว้ก่อน (หากเอา Q มาก HeadLoss ในระบบอาจจะมากกว่าที่คำนวณ แรงดันปลายทางก็จะไม่ได้ ซึ่งคนออกแบบหลายๆ ท่าน ลืมในเรื่อง System Head Curve ไป) (ปอลิง แรงดันเกิน เราก็มาปรับที่ Gate Valve เอาไงครับ) ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ อย่าให้จุดที่ต้องการอยู่เหนือเส้นกราฟ เพราะปั๊มมันทำงานไปไม่ถึงจุดนั้นแน่ๆ

    3. และต้องขอโทษ จขกท. เป็นอย่างมาก ที่ไม่ได้ส่งการบ้านให้ซักที เพราะช่วงนี้งานหลายแห่งมาก คนช่วยออกแบบและเขียนแบบก็ยังไม่มี ระดับผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมต้องมาทำเองโม้ด สำหรับของจขกท. นั้น ผมว่าใช้ระบบน้ำหยด หรือเอาท่อทำเป็นวงรอบต้น แล้วเจาะรูเล็กๆ ให้น้ำซึมจะประหยัดกว่าเยอะครับ เพราะอตนนี้ผมก็ยังหาหัว Micro Sprinkler (ไม่ใช่ Mini นะครับ) ที่มีรัศมี ครึ่งเมตรยังไม่ได้ เพราะหากให้น้ำเกินบ่อวงมันก็เปลืองน้ำเปลืองไฟ โดยใช่เหตุ แถมต้นนึงส่งให้วันละ 10-15 ลิตรก็เหลือแล้ว (ยางปี สองปีแรก ฝ่ายวิชาการยังบอกใช้น้ำแค่ 4 ลิตร/ต้นเอง ในกรณีนี้ง่ายๆ ให้น้ำแค่ความลึก 1 ซม. ก็เหลือแล้วครับ บ่อวงขนาด 1 ม. มีพื้นที่ประมาณ 0.8 ตารางเมตรเอง) สำหรับท่อ ไม่จำเป็นต้องเดินทุกแถว ใช้แถวเว้นแถว ซึ่งจะแยกท่อแขนง (Sub Lateral) ออกไปซ้าย ขวาได้

    แถมการให้น้ำแบบนี้ไม่ต้องใช้แรงดันสูง แค่ 2 บาร์ก็เหลือเฟือแล้ว ลองคำนวณดูเอาแล้วจะรู้ว่าขนาดปั๊มลดลงมหาศาล วันนึงส่ง 2 รอบ เช้าชั่วโมง เย็นชั่วโมง ก็ได้ หรือจะเพิ่มชั่วโมงการส่ง ปั๊มก็จะยิ่งเล็กลงไปอีก

    สุดท้าย หากมอเตอร์ มีขนาดไม่เกิน 750 วัตต์ หรือ 1 แรง Timer ที่มีขายทั่วไป หน้าสัมผัสมันรับกระแสได้โดยไม่ต้องไปผ่าน Relay หรือ Magnetic Contactor ให้ยุ่งยาก  ผมไม่ชอบทำอะไรยุ่งยากซับซ้อน ทำง่ายๆ ใครดูแลต่อก็ได้ ไม่ต้องมาตามตัวผม

    By: Waterman (LN106)
    Since: 17 พ.ค. 55 23:53:48

  15. admin Post author

    อ่านความเห็นของคุณ Waterman (LN106)แล้วเห็นด้วยเลยครับ

    ขอเสนอแนวความคิดเห็นเพิ่มเติม ต่อยอดนะครับ

    ถ้าพื้นที่เป็นที่ราบ สม่ำเสมอ ก็น่าจะใช้ถัง หรือวงบ่อ วางซ้อนๆ ขึ้นไป ยาปูน/ฉาบปูนไม่ให้น้ำรั่ว  เจาะรูที่ก้น ต่อท่อออก เดินท่อ การเกษตร ขนาดที่เหมาะสม ใช้ระบบ น้ำหยด โดยเจาะรูเล็กๆ ให้น้ำหยด

    ส่วนปั๊มก็ใช้ปั๊มธรรมดา ราคาถูก ต่อกับสวัทซ์ลูกลอย เปิด เมื่อระดับน้ำลดต่ำลงใกล้ๆ ตอนน้ำหมด พอน้ำเต็มถังก็ตัด

    น่าจะเป็นทางออกที่ประหยัด  ท่อน้ำออก ก็ควรมีตะแกรงกรอง ดักเศษผงไปอุดรูจ่ายน้ำ บนปากถัง ก็ควรมีตะแกรงกันใบไม้ ขยะหล่นลงไป

    ถ้าพื้นที่เป็นที่ลาดชัน ก็สามารถวางถังบนเนิน ก็จะยิ่งมีแรงส่งน้ำ

    แต่ต้องแลกกับ ปั๊มที่จะสูบน้ำขึ้นที่สูง ถ้าแหล่งน้ำอยู่ที่ต่ำ

    น้ำก็ค่อยๆ หยดเลี้ยงต้นไม่ไปเรื่อยๆ ที่ละน้อยๆ ทำให้ดินบริเวรที่น้ำหยดชุ่มชื้น น้ำในถังใกล้หมด ปั๊มก็จะสูบน้ำขึ้นไปเติม จะให้ประหยัดกว่านั้น ก็มีตัวตั้งเวลาให้ปั๊มสูบน้ำขึ้นถัง

    หรือจะใช้ตัวตั้งเวลา จ่ายน้ำออกจากถัง แบบใด แบบหนึ่งร่วมก็ได้

    ลองพิจารณาดูนะครับ

    แจ้งข่าว สำหรับ สวิทซ์แรงดัน ยังหาไม่ได้เลยครับ  ถ้ากลับไปแถวบ้าน มีแน่ๆ ไม่ว่า "ของเก่า" หรือ "ของใหม่" ครับ

    แต่ถ้าเลือกตามที่ คุณ Waterman (LN106)หรือที่ผมแนะนำ สวิทซ์แรงดัน และหัวสปริงเกอร์ก็ไม่มีความจำเป็น

    สำหรับ หัวสปริงเกอร์ขนาดเล็ก แบบเจาะ กดติดกับท่อการเกษตร ผมเคยซื้อได้ที่ ‘Hard ware house’ และที่ ‘Home Pro’ ครับ

    แล้วไม่แน่ใจว่า เคยเห็น แว๊บๆ ที่ โลตัส อีกแห่ง  แต่ไม่กล้ายืนยันครับ

    By: ขอนเก่า
    Since: 18 พ.ค. 55 04:11:15

  16. admin Post author

    พวกอุปกรณ์ สาย ท่อ หัวปริงเกอร์ ผมซื้อมาหมดแล้วอ่ะครับท่าน คงต้องเลยตามเลย

    (เหตุผลที่ไม่เลือก น้ำหยดแต่แรกคือ น้ำเป็นน้ำบาดาล มีหินปูนมาก ถ้าเป็นหัวน้ำหยด มันจะอุดตันง่ายกว่าหัว มินิอ่ะครับ ผมอยากตัดปัญหาข้อนี้ เพราะไม่ค่อยมีเวลาเข้าสวนเท่าไหร่)

    คุณ Waterman
    โอ้…..ตอนแรกไม่เข้าใจ จะให้อธิบายเพิ่มเติม ผมลืมคิดไป ว่าผมต่อน้ำจากโอ่ง ไม่ได้ต่อจากท่อปะปาที่มีแรงดันตลอด ถ้าปั้มไม่ทำงาน น้ำมันก็จะไม่ไหล ถูกไหมครับ โง่…จริง ๆ เลยตรู แบบนี้เราก็แค่ใส Timer แค่ที่ปั้มพอ พอปั้มตัดการทำงาน น้ำก็ไม่ไหลแล้ว แค่นั้นเอง ผมลืมคิดครับ เคยต่อน้ำแต่ระบบในบ้านมันมีแรงดันตลอด เลยคิดว่าต้องใช้โซลินอยวาล์วด้วย (แล้วซื้อมาแล้วด้วยซิ ปวดตับจริง ๆ โง่แท้เหลา)

    เออ…ลืมคิดอีกข้อ ผมแบ่งเป็น 2 โซน แบบนี้จะทำยังไงอ่ะครับ ถ้าไม่ใช่ timer กับโซลินอยวาล์วคุม หรือว่าจะ ทำมันเป็นโซนเดียวไปเลย 1.5 ลิตร/นาที 100 หัว ก็ 150 ลิตร/นาที ปั้มมันบอกได้ถึง 250 ลิตร/นาที น่าจะพอได้มั้งครับ

    เอายังไงดีครับท่าน

    By: Piboonsak
    Since: 18 พ.ค. 55 08:14:53

  17. admin Post author

    ปั๊มอัตโนมัติ มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ

    1. ปั๊มน้ำ

    2. ส่วนควบคุมการปิดเปิดโดยใช้แรงดัน ก็ใช้ Pressure Switch เป็นตัวควบคุม โดยเมื่อแรงดันในระบบต่ำกว่าที่ตั้งสวิทช์ก็จะทำงาน เมื่อมีแรงดันในระบบมากกว่าที่ตั้งสวิทช์ก็จะตัดการทำงาน

    3. ส่วนเก็บแรงดัน ก็ใช้ Pressure Tank เป็นตัวเก็บ โดยใช้อากาศซึ่งปริมาตรจะลดลงเมื่อมีแรงดันมากขึ้น โดยเมื่อระบบฯ ทำงานระบบจะมีแรงดันไม่มาก ปั๊มจะสูบจ่ายน้ำในอัตราสูบสูง ในขณะที่น้ำไหลออกน้อย น้ำส่วนเกินนี้ก็จะไหลเข้าไปใน Pressure Tank ไปอัดอากาศให้มีปริมาตรลดลง แรงดันจะเพิ่มขึ้น และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าอัตราการสูบ(ซึ่งจะลดลงตามแรงดันที่เพิ่มขึ้น) จะเท่ากับอัตราการไหลออก (ซึ่งจะมากขึ้นตามแรงดันที่เพิ่มขึ้น) และหากค่านี้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าค่าที่ตั้งสวิทช์แรงดันให้ตัด ปั๊มก็จะทำงานโดยมีแรงดันคงที่มื่อปั๊มอัดน้ำส่วนเกินถึงเมื่อไหร่ ปั๊มจะตัดการทำงาน น้ำก็ยังไหลออก(ในขณะที่ไม่มีการสูบเข้า) แรงดันจะลดลง จนปั๊มทำงานอีกที ในกรณีนี้ปั๊มจะทำงานแบบติดๆ ดับๆ แรงดันก็จะไม่สม่ำเสมอ

    สำหรับถังอัดนี้ อาจใช้ท่อ 4 นิ้วมาอุดปลายให้น้ำเข้าด้านล่าง (ควรมีวาล์วระบายน้ำด้วย) ปริมาตรของอากาศในท่อนี้(หรือถัง) จะช่วยหน่วงการทำงานของระบบฯ เมื่อมีการรั่วของน้ำในระบบ หากต่อใช้โดยไม่มีถังนี้ น้ำรั่วแค่หยดสองหยดปั๊มก็ทำงานแล้ว และท่ออาจจะสั่นเนื่องจาก Water Hammer ด้วย

    สำหรับ Pressure Control มันจะมี Flow Switch (สวิทช์ทำงานเมื่อน้ำไหลผ่านตัวมันมากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้) เป็นตัวควบคุมการปิดเปิด

    อ้อเกือบลิมอ่านย่อหน้าสุดท้าย หากคำนวณแล้วปั๊มมีอัตราการสูบ (ตามแรงดันที่ต้องการ) มากกว่าการจ่าย ก็สามารถให้มันจ่ายทีเดียวทั้งหมดครับ เพราะที่ผมบอกไว้หากเลือกปั๊มสูบมากกว่าจ่าย ปั๊มก็จะทำงานติดๆ ดับๆ การมี Pressure ก็คือการหน่วงเวลาออกไปอีกหน่อย ครับ

    สุดท้าย ดูกำลังมอเตร์ด้วยนะครับ เพราะส่วนใหญ่หากมอเตอร์ใหญ่เกิน 3 แรงม้าหรือ 2.2 Kw. มันมักจะเป็นมอเตอร์ 3 Phase ครับ

    By: Waterman (LN106)
    Since: 19 พ.ค. 55 04:05:43

Leave a Reply