ปั้มน้ำหอยโขงดูดน้ำไม่ขี้น

คือว่าผมใช้ปั้มหอยโข่งดูดจากคลองหลังบ้านอะครับ พอเปิดสวิทแล้วปั้มดูดน้ำได้ไม่เต็มท่ออะครับ คือผมปลายท่อเป็นฟุตวาวล์ทองเหลือง และถัดจากฟุตวาวล์มานิดนึงผมติดเช็ควาวล์แบบสปริงค์อะครับ กันน้ำไหลกลับลงคลองอะครับเดี๋ยวเปิดครั้งต่อไปไม่มีน้ำในระบบอะครับกลัวอะ ท่อจากฟุตวาวล์ถึงหน้าปั้มประมาณ 4 เมตรอะครับ แต่พอเอาสายยางมาเติมน้ำกลับใช่้งานได้ดีอะครับผมทำที่ล่อน้ำไว้อะครับ เลยไม่ทราบว่าจะทำยังไงดีครับขอสอบถามท่านผู้ชำนาญด้านนี้หน่อยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

By: woraw
Since: 2 พ.ค. 55 19:54:29

8 thoughts on “ปั้มน้ำหอยโขงดูดน้ำไม่ขี้น

  1. admin Post author

    ฟุตวาล์ว และเช็ควาล์ว  อาจจะมีสิ่งแปลกปลอมติดค้าง  กรณีที่ดูดน้ำจากคลอง อาจจะมีขยะ เศษหญ้า ถูกดูแล้วติดค้าง

    อีกจุดก็มีรอยรั่ว ตรงจุดต่อ ท่อกับฟุตวาล์ว หรือ จุดต่อ ท่อกับเช็ควาล์ว  ลองตรวจหาดู

    ถ้าเป็นไปได้  แก้จุดต่อ พันเทปพันเกลียวใหม่/เพิ่ม ทุกจุดครับ

    แก้ "เช็ค"  เป็น "เช็ควาล์ว" ครับ

    By: ขอนเก่า
    Since: 2 พ.ค. 55 20:32:49

  2. admin Post author

    ตรวจสอบตาม คห 1  แล้วอย่าลืมใส่ตัวกรองน้ำที่หัวกระโหลกด้วย จะทําให้ปัญหาหมดไปครับ

    By: ลุงขาว (renangkull)
    Since: 2 พ.ค. 55 20:41:24

  3. admin Post author

    ทั้งฟูตวาวล์ และเช็ควาวล์สปริง มันจะต้านน้ำมากไปนา

    ขนาดปั๊มอัตโนมัติ ที่ดูดน้ำจากถังใต้ดินที่ระดับน้ำต่ำกว่าปั๊ม ๓ม.ทางทฤษฎี ในทางปฏิบัติของเราเอง เรายังต้องถอดสปริงในปั๊มออก เมื่อระดับน้ำต่ำกว่าแค่เมตรเดียวและมีระยะห่างจากปั๊มไปบ่ออีกเมตรนึงเท่านั้น

    ถอดเช็ควาวล์สปริงออกดีกว่า แล้วใส่บอลวาล์ว ปิดปั๊ม ก็ปิดบอกวาล์วด้วย ตามรูป

    /

    By: ต้นโพธิ์ต้นไทร
    Since: 2 พ.ค. 55 21:07:16

  4. admin Post author

    คุณต้นโพธิ์ต้นไทรครับ ที่ใส่เช็ควาวล์เพราะ เป็นบ้านต่างจังหวัดอะครับ ใช้ระบบรดน้ำอัตโนมัติโดยใช้timer เป็นตัวควบคุมครับ เลยไม่มีคนอยู่คอยเปิดปิดบอลวาวล์ครับ และถ้าผมเอาเช็ควาวล์ออกน้ำมันจะไหลออกทางฟุตวาวล์รึเปล่าครับ

    By: Woraw (woraw)
    Since: 2 พ.ค. 55 22:08:55

  5. admin Post author

    ฟูตวาวล์ ก็คือเช็ควาวล์ชนิดหนึ่ง น้ำไหลทางเดียว กักน้ำได้ แต่ควรใช้ฟูตวาวล์ทองเหลืองยี่ห้อดีๆ ห้ามใช้ฟูตวาวล์pvc

    เรื่องการป้องกันมอเตอร์ไหม้
    เรื่องไฟฟ้าเราอ่อน ขออนุญาตยกมา

    """ส่วนตัวปั๊มน้ำ ก็จะมี สวิทช์เปิด/ปิดการทำงานปั๊มอัตโนมัติตามแรงดันน้ำที่ตั้งไว้

    จากระบบดังกล่าว ก็ใช้งานได้ดีเรื่อยมา จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง ฟุตวาล์วเกิดปัญหาเปิดค้าง ทำให้ไม่สามารถกักน้ำให้ค้างในท่อฝั่งขาเข้าได้ พอได้เวลาให้สปริงเกอร์ทำงาน แรงดันน้ำฝั่งขาออกตกลง สวิทช์แรงดันน้ำจึงเปิดสั่งให้ปั๊มน้ำทำงาน แต่ปั๊มจะสูบน้ำไม่ขึ้น (สูบไม่มีน้ำเพราะว่าฟุตวาล์วรั่วชำรุด) ปั๊มน้ำทำงานทั้งๆที่ไม่มีน้ำ ทำให้เกิดความร้อนสูงจนกระทั่งควันขึ้น บูชแกนใบพัดละลายแตก ท่อโลหะถูกความร้อนทำให้ขยายตัวจนกระทั่งข้อต่อท่อเอสร่อนหลุดเสียหายครับ

    หลังจากแก้ไข จึงแก้ปัญหานี้ โดยการ เอาสวิทช์เทอร์โมมาจับที่หอยโข่ง ถ้าเกิดความร้อนจากการสูบน้ำไม่ขึ้น สวิทช์จะสั่งตัดไฟฟ้าที่มอเตอร์ทันที"""
    http://www.pantip.com/cafe/home/topic/R11971459/R11971459.html#19

    โดยคุณ Moonlight Sonata  
    เขียนเมื่อ : 18 เม.ย. 55 15:22:02

    By: ต้นโพธิ์ต้นไทร
    Since: 2 พ.ค. 55 22:30:29

  6. admin Post author

    ขอบคุณ คุณต้นโพธิ์ต้นไทร ที่ยกข้อความมาครับ (จะกด Like ให้แต่ว่า ตอนนี้กดไม่ได้ เพราะว่า  Server ของเวปมีปัญหาครับ)

    ผมขอเพิ่มเติมระบบการตรวจสอบและการดูแลรักษา จากประสบการณ์ที่ได้รับจากปัญหาเรื่องนี้นะครับ

    ปัญหาเรื่องฟุตวาล์วที่ใช้ไประยะหนึ่งแล้วจะชำรุดหรือติดขัด เนื่องจากสูบน้ำจากแหล่งธรรมชาตินั้น จะเกิดขึ้นบ่อย ไม่ว่าจะใช้ฟุตวาล์วดีมีคุณภาพก็ตามครับ ผมเองก็เปลี่ยนและแก้ไขมามากครับ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นใหญ่ครับ เพียงแค่เราหาฟุตวาล์วสำรองมาเตรียมไว้เมื่อเกิดปัญหา ให้คนงานจับเปลี่ยนเดี๋ยวเดียว ก็ใช้งานต่อได้ครับ แต่ประเด็นปัญหาอยู่ที่ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า ปัญหาเกิดจากฟุตวาล์วหรือไม่ที่ทำให้ปั๊มสูบไม่มีน้ำครับ ?  การคลำหาสาเหตุปัจจัย ก็จะทำให้เสียเวลาและเปลืองแรงงานโดยเปล่าประโยชน์ครับ

    ผมจึงแก้ปัญหาทำให้สามารถรู้ว่า ปัญหาเกิดจากฟุตวาล์วแน่นอน ไม่ต้องไปคลำหาสาเหตุอื่นก่อนจะเจอว่าเกิดจากฟุตวาล์ว หรือ มัวแก้ฟุตวาล์ว ทั้งๆที่เกิดจากสาเหตุอื่นครับ โดยต่อท่อลดสามทางจากท่อเมนเอาไว้ตรงจุดใกล้ๆทางน้ำเข้าปั๊ม ให้ต่อท่อลดสามทางตั้งฉากกับพื้น จากนั้นค่อยใส่บอลวาล์วไว้ที่จุดนี้ครับ ปลายท่อที่ต่อจากบอลวาล์วจะทำให้สูงกว่าปั๊มน้ำหน่อยนึงครับ

    ประโยชน์ที่ทำท่อนี้ไว้ก็เพื่อ ความสะดวกในการ

    – ตรวจสอบว่า ในท่อเมนจากฟุตวาล์วถึงทางน้ำเข้าปั๊ม มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่หรือไม่  ถ้าไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง ก็แสดงว่า ท่อเมนนี้มีจุดรั่วไหลที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ฟุตวาล์ว หรือ จุดเชื่อมต่อระหว่างฟุตวาล์วกับท่อเมนครับ

    – เอาไว้เติมน้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงท่อเมนเมื่อตรวจซ่อมเสร็จแล้ว

    – เอาไว้เป็นส่วนผสมอะไรก็ตามที่เราต้องการผสมเข้าไปในน้ำ เช่น ปุ๋ย, จุลินทรีย์ หรือแม้แต่อากาศ เป็นต้น

    ส่วนระบบป้องกันอื่นๆที่ทำไว้เพื่อป้องกันปัญหาใหญ่หลวงเนื่องจากการชำรุดเสียหายนั้น นอกจากติดตั้งเทอร์โมสวิทช์ไว้ที่หอยโข่งแล้ว ยังมีติดตั้งสวิทช์แรงดันน้ำ และติดตั้ง  Time Switch ไว้ให้ปั๊มทำงานเฉพาะกลางวัน หรือทำงานช่วงเฉพาะที่มีคนอยู่ดูแลครับ เนื่องจากปั๊มที่ผมใช้งานอยู่เป็นปั๊มใหญ่ครับ ถ้ามีการชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม จะสิ้นเปลืองแรงงาน, ทรัพย์สินและเวลาเป็นอย่างมากครับ

    ส่วนกรณีที่ว่า จะติดตั้ง เช็ควาล์ว หรือบอลวาล์วไว้ที่ท่อเมนทางเข้าปั๊มนั้น ผมเห็นว่าไม่จำเป็น แต่ถ้าจำเป็นที่จะต้องติดตั้งจริงๆ ผมคิดว่า น่าจะเป็นประเภท โซลินอยด์วาล์ว โดยสั่งเปิดวาล์วจากตัวปั๊มน้ำมากกว่าครับผม

    By: Moonlight Sonata
    Since: 3 พ.ค. 55 10:18:00

  7. admin Post author

    ผมเคยเจอปัญหาแบบคุณ ผมแก้ปัญหาตามคำแนะนำของคุณต้นโพธิ์ต้นไทร พบว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากฟุตวาล์ว และไม่ต้องใช้เช็ควาล์วเพิ่ม พบปัญหาง่ายๆที่คาดไม่ถึงอย่างนี้ครับ ผมเปิดน้ำไป 3 โซน พบว่ามี 2 โซน ปลายท่อปล่อยน้ำอยู่ต่ำกว่าปั๊มน้ำ หากปิดปั๊มน้ำเมื่อปล่อยน้ำไป 2 โซนนี้น้ำจะไหลออกจากระบบท่อในปั๊มต้องใช้น้ำล่อใหม่ทุกครั้งถ้าทิ้งไว้นาน แต่อีกโซนหนึ่งปลายท่อเป็นสปริงเกิลสูงกว่าปั๊มหากปิดปั๊มขณะปล่อยน้ำในโซนนี้จะไม่ต้องล่อน้ำใหม่ ผมแนะนำว่าให้คุณวางท่อขาออกโดยให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งสูงกว่าปั๊มน้ำจะได้ไม่ไหลออกจากระบบ ผมง่วนกับมันเกือบ 3 เดือนหมดปัญหาครับ

    By: คมชาญ
    Since: 4 พ.ค. 55 19:45:10

  8. admin Post author

    คุณติดทั้ง 2 อย่าง ปั๊มไม่ run dry มอเตอร์ไหม้ก็โชคคดีแล้วคับ

    หากระดับน้ำต่ำกว่าปั๊มต้องติด ฟุตวาล์วอย่างเดียว ดูว่าท่อต้องไม่สูงกว่าระดับของตัวปั๊มไม่งั้นอากาศบล๊อก
    ล่อน้ำก่อนเปิดปั๊มแค่เนี้ย
    หากไม่ขึ้นอีก สุดท้ายต้องมาดู NPSH เป็นบวกหรือ ลบ ( อาจไม่จะเป็น ) แค่ทำอย่างที่ว่าก็ได้คับรับรอง

    By: เก้ากระบี่เดี่ยวดาย
    Since: 8 พ.ค. 55 17:49:34

Leave a Reply