เครื่องฟอกอากาศ sharp plasma cluster

ใช้เครื่องฟอกอากาศ sharp รุ่นที่ไม่มีระบบไอน้ำ ซื้อมาราคา 4,900 บาท
เวลาเปิด plasma cluter สังเกตดูว่าผิวจะแห้ง มีผื่นขึ้นและคันจนเป็นแผล ตอนนี้กำลังสังเกตดูให้แน่ใจว่า ใช้สาเหตุนี้หรือไม่ (แต่ค่อนข้างมั่นใจ) ใครเป็นแบบนี้บ้างคะ อย่างนี้เรียกว่าแพ้ plasma cluster หรือเปล่า
ส่วนตัวติดใจเครื่องฟอกยี่ห้อนี้ แต่ไม่ชอบตรงที่ผิวจะแห้ง มีผื่นขึ้นนี่แระ

คำค้นหา:

  • เครื่องฟอกอากาศ pantip
  • plasmacluster pantip

3 thoughts on “เครื่องฟอกอากาศ sharp plasma cluster

  1. จิรศักดิ์

    ไปอ่านเจอ เขาว่า plasmacluster จะถูกล้อมด้วยโมเลกุลของน้ำนะ (ถึงจะไม่ใช่รุ่นที่ทำไอน้ำ) เวลามาปะทะผิว จะมีผลทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ลดริ้วรอย (ว่าไปโน่น เชื่อได้เปล่าก็ไม่รู้)

    http://www.sharp.com.my/images/IG-CL15_CTLG_S.pdf

    http://www.jstage.jst.go.jp/article/jcam/7/2/7_113/_article

    ลองสังเกตุดูต่อแล้วกัน

  2. bashkoo

    ถ้าจำไม่ผิดมันจะปล่อยไอออน(ไม่+ก็-ซักอันนี่ละ เเนะนำให้ดูที่เวปของsharp)มีผลไปทำลายเชื้อจุลินทรีย์ให้เเตกตัวออก ผิวหนังคนก็อาจมีผลได้ครับ
    เเต่ที่ผิวเเห้งนี่เพราะช่วงนี้หนาวป่าวครับ

  3. จิรศักดิ์

    กลไกการทำลายเชื้อแบคทีเรียของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์
    (Bactericidal effects of plasma-generated cluster ions)

    ตีพิมพ์ใน Abstract ของวารสารการแพทย์ Med.Biol.Eng.Comput.,2005,43,800-807
    —————————————————————-
    Diget , A.Temiz Artmann , K.Nishikawa , M.Cook , E.Kurulgan , G.M.Artmann

    University of Applied Sciences, Aachen , Germany
    Sharp Corporation , Japan

    ระบบ plasmacluster เป็นการพ่นอนุภาค + และ – ออกมา จากผลการทดสอบที่ผ่านมาหลายๆครั้งยืนยันได้ว่าเป็นอาวุธอย่างดีในการทำลายเชื้อโรคหลากหลายสายพันธุ์ แต่เราก็ยังไม่ทราบกลไกการทำงานอย่างกว้างขวางนัก วัตถุประสงค์ของการทดสอบครั้งนี้เป็นการศึกษาวิธีการทำงานและประสิทธิภาพการทำลายเชื้อโรคของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ที่มีต่อเชื้อโรคทั่วไปในครัวเรือน จากการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของอนุภาคที่ถูกพ่นออกมากับระยะเวลาที่ใช้ต่อเชื้อแบคทีเรียชนิด Staphylococcus, Enterococcus, Micrococcus และ Bacillus เราพบว่าปฎิกริยาการทำลายเกิดขึ้นทันทีภายในไม่กี่นาทีแรกของการพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ รวมถึงการทำลายเชื้อโรค 99.9% อย่างถาวรภายในเวลา 2-8 ชั่วโมง ผลการทำลายได้เกิดขึ้นที่ผนังเซลล์ของเชื้อโรค ซึ่งเราใช้จากการตรวจสอบแบบเทคนิค SOS PAGE และ 2D PAGE จึงได้บันทึกถึงการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนชั้นนอกที่ผนังเชื้อโรค รวมถึงการบันทึกผลต่อการสูญสลายไปทั้ง DNA และ cytoplasm ด้วย ยืนยันได้ว่าอนุภาคพลาม่าคลัสเตอร์ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผนังเชื้อโรคด้วยปฎิกริยาทางเคมี โดย active hydroxyl ที่เกิดขึ้นมีผลทำให้ผนังโปรตีนของเชื้อโรคถูกทำลายไป ขณะเดียวกันกับการสูญสลายของ DNA ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำงานของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์แต่อย่างใด ข้อมูลการทดสอบครั้งนี้จึงเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำระบบฆ่าเชื้อโรคนี้ไปทำให้เกิดประสิทธิผลในการประยุกต์ใช้กับเครื่องมือได้ดีขึ้น

Comments are closed.