ควรจะเช๊คเสาเข็มก่อนออกแบบบ้านหรือทุบบ้านค่อยเชคดีกว่าค่ะ กรณีมีเสาเข็มเดิมอยู่แล้ว

ก่อนสร้างบ้านใหม่ ในที่ดินเดิม (ปัจจุบันมีบ้านที่อยู่ทุกวันนี้)
แต่อยากใช้เสาเข็มเดิมบ้าง เพราะคิดว่ายังแข็งแรงอยู่ เพราะตอกไว้ลึก และไม่อยากเสียค่าลงเสาเข็มเพิ่ม
มีงบสร้างบ้าน 3 ชั้น แค่ 3 ล้าน (ไม่รวมตกแต่ง)

ควรจะให้วิศวกรมาเช็คดูว่าเสาเข็มที่มีอยู่ ว่าเสาเข็มยังใช้ได้ดีหรือเปล่าขอบเขตไหนถึงไหน ก่อนให้สถาปัตออกแบบบ้าน (ในตอนที่บ้านยังไม่ได้ทุบ ) หรือว่าควรจะทุบก่อนเหลือแต่ที่ดินแล้วค่อยให้วิศวะกรมาตรวจดูอีกที มันต่างกันหรือเปล่าคะ ขอบคุณค่ะ คิดไม่ออก เป็นปัญหาถกเถียงกันในบ้าน เพราะวิศวะกรที่จะมาดูให้ เค้าคิดค่าดู ก่อนทุบบ้าน ดูเฉยๆ 5000 บาท แต่เพื่อนที่เป็นสถาปัตที่จะออกแบบบ้านให้ บอกว่า ไม่ต้องให้มาดูหรอก ออกแบบไปก่อนก็ได้แล้วพอถึงเวลาทุบบ้านจะสร้างจริงๆค่อยให้วิศวกรมาดูก็ได้ เราก็กลัวว่าถ้าไม่ได้ เชคเสาเข็มเดิมเป็นค่าที่แม่นยำตั้งแต่ก่อนออกแบบ จะมีปัญหา ต้องเสียเวลาปรับเปลี่ยนแบบหรือเปล่าค่ะ วิศวะที่ตรวจเสาเข็มเดิมทั่วไปเค้าดูเสาเข็มในตอนที่มีบ้านอยู่ได้หรือเปล่าคะ ขอบคุณค่ะ

9 thoughts on “ควรจะเช๊คเสาเข็มก่อนออกแบบบ้านหรือทุบบ้านค่อยเชคดีกว่าค่ะ กรณีมีเสาเข็มเดิมอยู่แล้ว

  1. KittySP

    บ้านเดิมกี่ชั้น สร้างมานานหรือยัง และอยู่พื้นที่ใหน ช่วงเสาจะเหมือนเดิมเป๊ะหรือเปล่า

  2. thirawhut

    หาพิมพ์เขียวมาดู ตำแหน่งและจำนวนเสาเข็ม  ต้องสำรวจตำแหน่งฐานรากด้วยว่า
    เข็มอยู่ตำแหน่งไหนเพื่อวาง ณ ตำแหน่งเดิมป็นการประหยัดงานฐานราก ให้สถาปนิกออกแบบ แล้วให้วิศวกรออกแบบเฉพราะงานเสา คาน พื้น หลังคา
    ถ้าทุบบ้านเสร็จก้สุ่มเช็ค ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธี
    Seismic Test (Low Strain Pile Integrity Test) ว่าเข็มยังใช้การได้อยู่หรือไม่
    โดยการใช้ฆ้อนตอกแล้วอ่านกราฟ ถ้าผ่านก็ใช้ได้ แล้วนำข้อมูลพิมพ์เขียวของ
    งานเข็มเดิมเป็นข้อมูลให้วิศวกรทำการ
    คำนวณย้อนกลับว่าเข็มต้นนี้รับน้ำหนักได้กี่ตัน เข็มเดิมมีกี่ต้น ต้องสร้างเข็มใหม่กี่ต้นเพื่อรับกับน้ำหนักบ้านใหม่ได้เพียงพอ เป็นต้น ถ้าใช้ของเดิมได้จะประหยัด
    มูลค่างานสูงถึง 5-10% ของมูลค่างาน เป็นอันเสร็จสิ้น

    เคยทำ static load test โดยการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกให้กับเข็มไปเรื่อยๆ จนถึงค่า
    น้ำหนักบรรทุก2.5เท่าของน้ำหนักใช้งาน ปรากฏว่าเข็มทรุด ไป 12 มม. พอถอน
    น้ำหนักออก เข็มคืนตัน (rebound) 10 มม. เหลือทรุดแค่ 2 มม.กำลังจะสือสารว่า
    ถ้าทุบบ้านทิ้ง เสาเข็มเดิมกับใหม่ น่าจะมีพฤติกรรมในการทรุดตัวใกล้เคียงกัน
    ถ้ามีขนาดและความลึกใกล้เคียงกัน

  3. TritonBoy

    แล้วเสาใหม่จะตรงเสาเดิมทุกต้นเลยเหรอ งงมาก ผมว่าก็ได้นะหากตรงทุกต้นและเสาเข็มที่ตอกไปนั้นได้ความลึกที่ออกแบบ (หมายถึงบ้านหลังใหม่ได้หนักไปกว่าหลังเดิมและต้องขุดไปถึงระดับฐานรากเดิมและหัวเข็มเก่าเลยเพิ่องานก่อสร้างใหม่

  4. พิงค์วู

    แบบโครงสร้างบ้านหลังเดิมไม่มีหรือครับ…??

    ถ้ามี..วิศวกรสามารถคำนวณจากแบบเดิมได้ครับว่าฐานรากและเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้เพียงพอหรือไม่??…

  5. 114

    ความคิดเห็นที่ 3จากคุณ : TritonBoy
    วิธี Seismic Test (Low Strain Pile Integrity Test) จำเป็นตอ้งเคาะที่หัวเสาเข็มโดยตรงในแนวดิ่ง ต้องขุดไปถึงระดับฐานรากเดิมและหัวเข็มเก่าเพิ่อทำSeismic Test แต่ถ้าใช้วิธีของคุณพิงค์วูความคิดเห็นที่ 5 โดยออกแบบฐานรากบ้านของบ้านให่มวางตงตำแหน่งเดิมมากที่สุดก็ o.k. ครับ ส่วนที่ไม่ตรงก็เสริม หาผู้รับดีๆ ทำตามวิศวกรแนะนำก็จำเป็นครับ
    แต่ถ้าบ้านเดิมเป็นบ้านชั้นเดียวคงตอ้งทุบฐารากและตอกแฃมข้าง ถ้า 2 ชั้นก็ต้องดูขนาดหน้าตัดและความลึกของเข็มเดิมดว้ย ว่าไหวไหม ถ้าออกแบบช่วยๆกันคุณหน้าจะได้โครงสร้าง พื้นชั้นล่าง คานคอคิน ฐานรากบางส่วน เก็บไว้ใช้ครับ

  6. โจโจ้ (โจ_Do)

    จขกท ตรับ  สิ่งที่คุณกังวลนั้นถูกแล้ว  ตำแหน่งฐานรากเดิม และเสเข็มเดิมมีผลต่อการก่อสร้างเหมือนกัน
      – สมมุติว่า สถาปนิกคุณออแบบไปตามปรกติ  เมื่อถึงตอนก่อสร้างตำแหน่งฐานราก อาจจะไปทับหรือเกยกับฐานราก หรือเสาเข็มเดิมก็ได้  ทำให้การก่อสร้างยากขึ้น
      – การให้วิศวกรมาดูเฉย ๆ คงไม่ช่วยอะไรมาก  อาจจะทำให้เสีย 5000 ฟรี

      –  ถ้าเข้าใจไม่ผิด คุณมีสถาปนิกแล้ว   คุณก็จ้างเขาเพิ่มให้เขียนสถาพบ้านเดิมก่อนการทุบ   แสดงตำแหน่งเสา ระยะห่าง    แล้วเมื่อสถาปนิกคุณออกแบบบ้านใหม่   ให้นำแบบแปลนของบ้านเดิมกับบ้านใหม่มาทับซ้อนกัน    ซึ่งการนำแบบแปลนมาทับซ้อนกันด้วย Auto Cad ก็ทำได้ไม่ยาก…..ถึงตอนนั้นก็จะมองปัญหาต่าง ๆ ได้ชัดเจน  และการออกแบบฐานรากใหม่ หรือการเลือกใช้ฐานรากเดิมก็ทำได้ ตามประสบการณ์ของวิศวกร

    สงสัยไว้ก่อน   แก้ปัญหาบนกระดาษ…..ดีกว่าสร้างไปแก้ปัญหาไปครับ

  7. KittySP

    เข้าตำราที่ว่า ฆ่าควายเสียดายพริก

    ระวังจะตามด้วย เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

Comments are closed.