จะเปิดห้องสอนโยคะ ต้องขอมิเตอร์ไฟกี่แอมป์ครับ รายละเอียดด้านใน

คือแฟนจะเปิดสตูดิโอสอนโยคะ แต่ต้องติดมิเตอร์ไฟแยกในส่วนห้องที่เช่า
ห้องที่จะจัดสอนมีขนาด กว้าง 7m.    ยาว 11m       สูง 3 m.  มีแอร์ เทรน 37,200 BTU 2ตัว(แต่คิดว่าคงเปิดใช้ทีละตัวครับ)   ไฟดวงส้ม 16 หลอด ไฟห้องน้ำ 1 หลอด

ที่สำคัญคือตัว heater โยคะครับ ผมยังไม่รู้ว่าจะใช้ไฟกี่ AMP สำหรับเจ้าตัวนี้ เลยคำนวนไม่ออก แต่ทำอุณหภูมิที่ 40 องศาเซลเซียสได้

ใครพอจะแนะนำได้บ้างว่า ผมควรขอติดมิเตอร์ไฟที่ขนาดกี่ amp ดี 30 amp ไม่รู้เยอะไปไหม

ขอบคุณครับ

คำค้นหา:

  • มิเตอร์ไฟฟ้า
  • ฮีตเตอร์
  • ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
  • ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส

16 thoughts on “จะเปิดห้องสอนโยคะ ต้องขอมิเตอร์ไฟกี่แอมป์ครับ รายละเอียดด้านใน

  1. นายสันทัด

    แอร์ เทรน 37,200 BTU ถ้าเป็นไฟสองสาย 220V. ธรรมดา 2 ตัว ก็กินไฟประมาณ 30A. ครับ

    ส่วน Heater ถ้าไม่รู้กำลังว่ากี่กิโลวัตต์ ก็คงประมาณอะไรไม่ได้
    บอกเพียงทำอุณหภูมิ 40 องศา เป็นอุณหภูมิของอะไร?
    ถ้าเป็นอุณหภูมิห้อง ก็ต้องรู้ว่าห้องขนาดเท่าไร?

  2. KanichiKoong

    มิเตอร์ไฟฟ้า 1 เฟส ขนาด 30/100 A. ก็ไม่ถือว่าเยอะไปหรอกครับ เป็นการดีเสียอีก ที่จะได้เผื่อโหลดการใช้ไฟฟ้าในอนาคตได้
    ซึ่งตามเงื่อนไขที่ให้มา ดูจากเงื่อนไขการใช้ไฟฟ้าแล้ว ที่จริง มิเตอร์ขนาด 15/45 A. ก็อยู่ในเกณฑ์ที่รองรับได้
    แต่จะเผื่อรองรับโหลดการใช้ไฟฟ้าเพิ่มเติ่มในอนาคต ได้จำนวนไม่มาก

  3. โจ๋งครึ้ม

    ขอบคุณทุกท่านนะครบั

    ตอบ #1  30A นี่คือการเปิดแอร์ 2 ตัวพร้อมกันใชไหมครับ
                Heater ผมอยากจะทำให้มันร้อน 40 องศาเซลเซียสโดยวัดที่อุณหภูมิห้องจากปริมาตรห้องที่ว่ามาด้านต้น ก็จะมีขนาด
                กว้าง 7m.  X  ยาว 11m   X    สูง 3 m. = 231 ลูกบาศก์เมตร ครับ
                พี่ที่รู้จักว่าจะนัดไปคลองถมไปลองหาร้านทำดู ตอนนี้ก็ร่างแบบอยู่ว่าจะทำเป็นกล่องใส่ Heater แบบแท่ง แล้วพัดลมเป่าด้านล่างให้ลมร้อนวิ่งขึ้นด้านบน แล้วติดล้อให้เคลื่อนที่ได้ครับ

    ตอบ #2  ขอบคุณครับ เออ สอบถามอีกนิด ขนาดมิเตอร์นี่ไม่มีผลกับการใช้ไฟฟ้าจริงใช่ไหมครับ ผมก็คิดว่ามันจะเหมือนรถที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกินไฟมากรึเปล่าน้อ

    ตอนนี้ก็มองไว้ที่ 30 A   ซึงน่าจะเป็นตัวเดียวตามรูป

  4. KanichiKoong

    แอร์ขนาดที่คุณติดตั้ง โดยประมาณแล้ว ผู้ผลิตจะกำหนดสเปค ว่าขณะเครื่องเดินปกติมีอัตรากินกระแสไฟประมาณ 17 A.
    ซึ่งกระแสใช้งานจริงๆที่วัดได้ อาจจะต่ำกว่าที่ระบุไว้บนป้ายบ้างเล็กน้อย ประมาณ 1-3 A. ขึึ้นกับปัจจัยแวดล้อมและแรงดันในระบบ
    แอร์สองเครื่องรวมกัน เปิดใช้พร้อมกัน กระแสก็จะอยู่ราวๆ 30 A. ตามที่คุณสันทัดได้กล่าวไว้แต่ต้น
    ซึ่งมองดูแล้วถ้าใช้มิเตอร์ขนาดเล็กกว่า 30/100 A. อย่าง 15/45 A เปิดแอร์พร้อมกันสองเครื่อง จะรองรับการใช้ไฟฟ้า
    สำหรับโหลดอื่นๆได้น้อยลง ดังนั้นเงื่อนไขการใช้ไฟฟ้าสำหรับเผื่อการเปิดแอร์พร้อมกันและโหลดอื่นๆเพิ่มเติม
    เลือกใช้มิเตอร์ 1 เฟส ขนาด 30/100 A. ดูเหมาะสมที่สุดครับ

    ขนาดมิเตอร์ มีผลในการ รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าครับ แต่ไม่มีผลในเรื่องการกินไฟเพิ่มขึ้น
    ขนาดของมิเตอร์ยิ่งใหญ่ ก็ยิ่งสนองความต้องการในการใช้ไฟฟ้าได้มาก  
    ซึ่งมิเตอร์ยิ่งขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดตั้งมาขึ้นตามขนาด

  5. นายสันทัด

    ถ้าจะทำห้องกว้าง 7m. ยาว 11m  สูง 3 m. ให้มีอุณหภูมิถึง 40oC
    คงต้องใช้พลังงานความร้อนราวๆ 10,000 Kcal./Hr (ตัวเลขไม่ยืนยันเพราะไม่มี Psychrometric Chart)
    ถ้าใช้ Heater ก็ต้องมีขนาดประมาณ 12,000 วัตต์ ก็ใช้ไฟ 54 A.

    หาบริษัทผู้รับเหมาติดตั้งระบบปรับอากาศที่มีวิศวกรเก่งๆ
    ออกแบบระบบปรับอากาศให้ใช้ทั้งด้าน Cooling Coil และ Condenser Coil
    จะประหยัดไฟกว่าครับ

  6. น้องปลาดาว

    ถ้าฮีตเตอร์นี่กินไฟขนาดนั้น
    ถ้าเดินไฟอีกชุดบนฝ้า ให้เป็นหลอดไส้ ทั้งแผง จะใช้ฮีตเตอร์ขนาดเล็กลงหน่อยได้มั้ยครับเนี่ยะ

  7. นายสันทัด

    คุณ น้องปลาดาว
    ถ้าติดตั้งหลอดไฟ เพื่ออาศัยความร้อน คงไม่ไหว
    กว่าห้องจะร้อน ฝ้าจะไหม้เสียก่อนเพราะความร้อนมันลอยสูงครับ

  8. โจ๋งครึ้ม

    ขอบคุณทุกความเห็นครับ

    คุณสันทัดครับ เนื่องจากห้องที่จะใช้นั้นเครื่องปรับอากาศเป็นของเจ้าของสถานที่น่ะครับ ผมคงไม่สามารถที่จะไปทำอะไรกับเครื่องปรับอากาศได้ ผมเลยจำเป็นต้องทำฮีตเตอร์ขึนมาใหม่น่ะครับผม

  9. นายสันทัด

    ถ้าคุณจะใช้ไฟเพียง 30A. คุณก็คงใช้ Heater ได้ไม่เกิน 6,000 วัตต์ ซึ่งเท่ากับเครื่องทำน้ำร้อนเครื่องหนึ่งเท่านั้น
    ห้องของคุณใหญ่มาก ในวันที่อากาศร้อน คงไม่มีปัญหา ใช้ Heater 6,000 วัตต์ก็คงพอช่วยได้
    แต่วันที่อากาศเย็น เหลือ 25-28 องศา Heater 6,000 วัตต์คงช่วยไม่ไหว

    มิเตอร์ขนาด 30A. ถ้าเป็นมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ มันคือขนาด 30(100) ใช้ได้ถึง 100A. นะครับ

    ส่วนการคำนวณขนาด Heater เนื่องจากคุณต้องคำนวณเผื่อไว้สำหรับการทำอุณหภูมิช่วงอากาศเย็น โดยเฉพาะกลางคืน
    คือประมาณ 25 องศา ให้สูงถึง 35 องศา นั่นคือเพิ่มอุณหภูมิขึ้น 10 องศา ทำให้ต้องใช้ Heater ใหญ่

    แต่ถ้าคุณใช้เฉพาะเวลากลางวัน แสงแดดคงช่วยได้บ้าง
    ทางที่ดีทดลองใช้ไดร์เป่าผมขนาด 1,000 วัตต์ หลายๆ ตัวเป่าในห้องดู
    ลองเป่าทั้งในช่วงเวลาอากาศร้อน และอากาศเย็น ไม่ต้องเสียเวลาหาตำรามาคำนวณ

  10. โจ๋งครึ้ม

    ขอบคุณคุณนายสันทัดมากครับ ขอรบกวนสอบถามต่อหน่อยนะครับ(แหะๆๆ)

    คือเหมือนทางแฟนจะขอติดตั้งตัว 30(100A)  ไปแล้ว ตอนแรกผมกลัวว่าถ้าตามเสปคที่คุณแนะนำมันจะใช้ไม่ได้เพราะมันใช้ได้แค่ 30A รึเปล่า แต่ถ้าเป็นไปตามที่คุณตอบล่าสุด ถ้ามิเตอร์ของการไฟฟ้าคือ 30(100A) คือแสดงว่าผมยังสามารถใช้ตัว Heater ตามเสปคเดิมที่คุณว่ามาได้ใช่ไหมครับ เพราะมันใช้ประมาณ 54A เท่านั้น

  11. โจ๋งครึ้ม

    โอเค้ สบายใจไปเปราะหนึ่งล่ะ ขอบคุณนายสันทัดและทุกท่านมากครับ

    ตอนนี้อยู่ที่การออกแบบฮีตเตอร์ล่ะ คร่าวๆว่าจะเป็นแบบนี้ครับ

  12. นายสันทัด

    Duct Heater ควรวางนอนนะครับ
    พัดลม ใช้ Centrifugal จะให้ลมได้ดีกว่า สู้ Static Pressure ได้ดีกว่า
    โดยเฉพาะถ้าต้องต่อท่อ ไม่ว่าจะท่อสังกะสี หรือท่อ Flexible

  13. โจ๋งครึ้ม

    ถ้าเป็นแบบนอนแล้ว ควรใช้ตัวฮีตเตอร์แบบไหนหรือครับ
    เท่าที่อ่านข้อมูลดู แบบคลีบ  และเแบบอินฟาเรต น่าจะเหมาะสมกับการสร้างอยู่ อยากรู้เกี่ยวกับราคาและคุณสมบัติอื่นๆว่าต่างกันอย่างไรครับ

  14. นายสันทัด

    แบบครีบ คือ Duct Heater ลองเข้า Google มีทั้งรูป และร้านรับทำตามความประสงค์ของคุณเลยครับ

  15. โจ๋งครึ้ม

    โอ้ ขอบคุณมากมายครับผม เดี๋ยวไปหาข้อมูลร้านต่อละครับ

    ขอบคุณอีกครั้งครับ

Comments are closed.