ิวิธีการชำระ เงินกู้บ้าน (แบบเกิน)

สมมติว่าผมต้องชำระงวดละ 20000 บาท ทุกวันที่ 25 ของเดือน
เปรียบเทียบระัหว่าง
A : ไำปชำระที่หน้า counter ทุกวันที่ 25 เป็นจำนวน 30000 บาท
กะ
B : ใช้บริการตัดยอดอัตโนมัติ 20000 บาทแล้วไปชำระที่หน้าเค้าเตอร์ 10000 บาทวันที่ 25
อย่างนั้นมันจะทำให้ยอดเงินกู้ของเราหมดเร็วกว่ากัน???

18 thoughts on “ิวิธีการชำระ เงินกู้บ้าน (แบบเกิน)

  1. นายกว้าง

    เท่ากัน ดอกเบี้ยคิดเป็นรายวันครับ

  2. U_Nee-na

    มารอฟังด้วยคนครับ

    คห.ที่ 1 ตอบสั้นไปนิด ขอคำอธิบายเพิ่มเติมกว่านี้ได้ไหมคับ

  3. ~แซลมอนมากิ~

    ตาม คคห.1
    ตัดยอดอัตโนมัติ เค้าก็ตัดวันที่25เหมือนกัน
    มีค่าเท่ากับคุณถือเงินไปจ่ายหน้าเคาเตอร์30000
    เพราะเค้าคิดดอกเบี้ยเป็นวันค่ะ

  4. เด็กหญิงไข่ไก่

    ก็จำนวนเงินที่จ่ายเท่ากัน เขาก็คิดดอกเบี้ยเท่ากันไง วิธีไงคุณก็จ่ายวันที่ 25 จำนวน 3หมื่นบาทอยู่ดี

    แต่แนะนำเป็นการตัด auto บางส่วนก่อนก็ดี เพราะหากวันไหนที่คุณติดธุระด่วนมากๆ ไม่สามารถนำมาชำระในวันที่ 25 ได้ ก็เกรงว่าจะติดประวัติขาดชำระรึเปล่า อันนี้ก็เดาเอาเองค่ะ

  5. เกมส์123

    ถ้ากับ ออมสิน เขาไม่คิดว่าจะติดประวัติขาดชำระนะ เพราะเงื่อนไขเขาคือ จ่ายขั้นต่ำ อย่างน้อยเดือนละงวด จ่ายขาดไม่ได้ จ่ายเกินไม่ว่ากัน หักต้นหักดอก จ่ายมากหักมาก จ่ายน้อยหักน้อย

  6. xmiracle7

    ,มันไม่ใช่ เอายอด 20000 ไปคิดเป้นต้น :-)ก แล้ว 10000 ที่ไปจ่ายต่างหากเป็นต้นเพียวๆ ใ่ช่มั้ยคับ
    เคยอ่านเจอ มีคนบอกประมาณนี้ ก็เลยงงว่ามันเป็นไปได้จิงเหรอ

  7. littlelion13

    aและbมีค่าเท่ากัน
    เพราะทำรายการวันเดียวกัน
    กรณีที่อยากจ่ายเองเดือนละ30000ให้หมดเร็วที่สุด
    ก็แยกจ่ายกลางเดือน1ครั้ง ประมาณวันที่13 แล้วก็วันที่25 อีก1ครั้ง
    ครั้งละ15000 จะช่วยลดต้นได้เร็วขึ้นสักหน่อย
    หากให้แบงค์ตัดบัญชีอัตโนมัติไว้20000 ทุกวันที่25
    ต้องการจ่ายเพิ่มอีก10000 ก็จ่ายก่อน25 วันไหนก็ได้ให้เร็วที่สุดโดย
    วันสุดท้ายคือ25 หากจ่าย26 ก็มีดบ.โผล่แล้ว1วัน
    พูดง่ายๆดบ.ขึ้นทุกวันหากจ่ายเร็วก็ลดต้นเร็ว
    จ่ายบ่อยมันก็ช่วยลดต้นลงก่อน อันมีผลให้ดบ.ก็จะลดลงตามอัตราส่วนเช่นกัน
    ข้อควรระวังคือ หากมีเงื่อนไขการชำระของแบงค์ว่า
    ห้ามชำระเกิน2เท่าของที่ตกลงในสัญญา เนื่องจากใช้fix rate อยู่
    ห้ามชำระหมดก่อน3ปี อันนี้มาตรฐาน
    หรือข้อห้ามอื่นๆในสัญญา เช่นโปะเงินก้อนใหญ่ทั้งที่ใช้fix rateอยู่
    อันนี้ให้ระวัง ล้วนแล้วแต่มีค่าปรับทั้งสิ้น
    หากเป็นดบ.ลอยตัวแล้วก็โปะเท่าไหร่ก็ได้ค่ะ

  8. swlmt

    —————————————————————————

    ขอถาม …
    สมมติส่งเดือนละ 10000.-
    แต่เราชำระเป็น 2 งวด งวดละ 5000 ภายในเดือนเดียวกัน ได้หรือเปล่า
    และมันจะมีผลต่อต้น ต่อดอกเบี้ยหรือไม่ …

    ————————————————————————–

  9. littlelion13

    ^^มีผลค่ะ
    แต่คงไม่มากเท่าไหรนัก
    ต้องเทียบกับเงินต้นที่มี เคยอ่านไม่แน่ใจว่าของอ.วรากรณ์ หรือเปล่า
    กรณีอยากให้หนี้หมดเร็วขึ้นโดยชำระเท่าเดิมตามปกตินี่แหละ
    ให้ชำระ2ครั้ง ในจำนวนเงินเดิมที่เรามี
    จะเป็นต้นเดือนครั้ง กลางเดือนครั้ง แล้วแต่สะดวก
    มันก็จริงนะ ลดต้นเร็ว ก็คือลดจำนวนเงินที่จะไปคิดดบ.เร็วขึ้น
    แม้จะไม่มากนักต่อครั้ง แต่เราต้องชำระหนี้นี้กันเป็น10ปีขึ้นไป
    มันก็มีผลสะสมระยะยาวค่ะ

  10. -=KiNg=-

    ต้องแยกจ่ายครับ และ แนะนว่าควรจะหลังจากจ่ายค่างวดเรียบร้อยครับ

    วันที่ 25 ให้ตัด ออโต้ไปเลยครับ 20000  แบงค์จะมองว่าอันนี้คือค่างวดประจำเดือน  แล้วรอสัก 3 วันทำการ ค่อยไปจ่าย อีก 10000 ที่หน้าเคาเตอร์ ครับ แบงค์จะมองว่าอันนี้คือเงินต้นล่วงหน้า

    ถ้าคุณจ่ายพร้อมกัน 30000 แบงค์จะมองว่าคุณจ่าย ค่างวดประจำเดือน 20000 และ จ่าย ค่างวดล่วงหน้าของเดือนถัดไปอีก 10000 เท่ากับว่าไม่ลดต้นให้ แต่ค่างวดเดือนต่อไปคุณจะจ่ายแค่ 10000

    ถ้า อยากจ่ายเพือลดต้น ควรจะจ่ายหลังจากจ่ายค่างวดปกติ 3 วันทำการ และไม่ควรจ่าย เท่ากับจำนวนเงินค่างวด  ยกเว้น คุณจะแจ้งหน้าเคาเตอร์ว่า จ่ายเพื่อลดต้น แบบนั้น จ่ายเท่าไร ก็ ได้

  11. ddd (chadin)

    ตัดเท่ากันครับ

    ปกติแบงค์จะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน
    เช่นครบกำหนดชำระวันที่ 25
    แบงค์ก็จะคิดดอกเบี้ยถึงวันที่ 25 และจะหักออกจากเงินชำระตามงวดปกติของคุณ(20,000 บาท) ส่วนที่เหลือก็ตัดเงินต้นไป
    กรณีคุณจ่ายเกิน อีก 10,000 บาท ณ วันที่ 25  เงินส่วนนี้ก็จะไปตัดเงินต้น 10,000 บาท เต็มจำนวน

    แต่หากคุณจ่ายส่วนเกิน 10,000 บาท ในวันที่ 27
    เวลาตัดเงินต้น แบงค์จะคิดดอกเบี้ย ของวันที่ 26-27(คิดจากเงินต้นที่หัก การชำระเมื่อวันที่ 25 ไปแล้ว)
    แล้วนำดอกเบี้ย 2 วันนั้น หักออกจาก เงินส่วนเกิน 10,000 บาท
    ที่เหลือก็จะตัดเงินต้นคุณ

    พองวดถัดไป ธนาคาร ก็จะคิดดอกเบี้ย จากวันที่ 27 เดือนนี้ถึงวันที่ 25 เดือนถัดไป โดยคำนวณจากเงินต้น ที่เหลืออยู่ ณ วันที่ 27 ครับ

  12. นายกว้าง

    มาเพิ่มเติมให้ครับ ดอกเบี้ยเงินฝากก็เหมือนกัน ในวันเดียวกันจะฝากกี่ครั้งก็ตามก็จะจับมารวมกัน ดอกเบี้ยก็จะคิดให้ในวันถัดไป

  13. Tamจัง

    เรื่องอื่นคนอื่นตอบไปแล้ว
    ขอแนะนำเรื่องการเดินไปจ่ายที่ counter เปลี่ยนเป็นจ่ายทาง e-banking
    เถอะครับ อุตส่าห์มี internet เล่นแล้วใช้ให้คุ้มค่าหน่อย ประหยัดค่ารถด้วย

  14. xmiracle7

    #11 คุณ ddd
    ที่บอกตัดเท่ากัน ผมงงอะ
    ก็ถ้าบอกว่า

    แบงค์ก็จะคิดดอกเบี้ยถึงวันที่ 25 และจะหักออกจากเงินชำระตามงวดปกติของคุณ(20,000 บาท) ส่วนที่เหลือก็ตัดเงินต้นไป
    กรณีคุณจ่ายเกิน อีก 10,000 บาท ณ วันที่ 25  เงินส่วนนี้ก็จะไปตัดเงินต้น 10,000 บาท เต็มจำนวน
    เป็นแบบ A
    และ
    แต่หากคุณจ่ายส่วนเกิน 10,000 บาท ในวันที่ 27
    เวลาตัดเงินต้น แบงค์จะคิดดอกเบี้ย ของวันที่ 26-27(คิดจากเงินต้นที่หัก การชำระเมื่อวันที่ 25 ไปแล้ว)
    แล้วนำดอกเบี้ย 2 วันนั้น หักออกจาก เงินส่วนเกิน 10,000 บาท
    ที่เหลือก็จะตัดเงินต้นคุณ
    เป็นแบบ B

    หมายความว่า A จะดีกว่านะคับ เพราะตัดต้น เต็มๆ 10000 เลยไม่ใช่หรือ?

  15. ddd (chadin)

    คุณ จขกท เข้าใจถูกครึ่งเดียวครับ
    ที่ผมบอกว่าเท่ากัน หมายถึง
    การจ่ายหน้าเคาร์เตอร์ 30,000 บาท กับ แบบตัดอัตโนมัติ 20,000 บาท+จ่ายหน้าเคาร์เตอร์วันเดียวกันอีก 10,000 บาท ครับ

    ส่วนกรณี แบบ A และ แบบ B
    แบบ A ดีกว่า เพราะ คุณจ่ายเงินส่วน 10,000 บาท ก่อนแบบ B สองวันครับ
    ทำให้เวลาคิดดอกเบี้ย วันที่ 26-27 ของแบบ A จะคิดจาก เงินต้นลบด้วย 10,000 บาทครับ ในขณะที่แบบ B จะคิดเต็มจำนวนเงินต้นขณะนั้น
    ทำให้ดอกเบี้ยที่คุณต้องจ่ายทั้งหมด(หมายถึงคิดจนสิ้นสุดสัญญา) ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับแบบ B
    (ลดลง (((10,000xดอกเบี้ย)/365) x 2)
    เช่นดอกเบี้ย 3% จะเท่ากับ (((10,000×0.03)/365)x2) = 1.65 บาท ครับ)

    จะว่า แบบ A ดีกว่าเพราะตัดเต็ม 10,000 ก็พอได้ครับ แต่จริงๆ ดอกเบี้ยส่วนที่หักออกในแบบ B มันก็จะไปหักดอกเบี้ย ของเดือนถัดไป ทำให้ดอกเบี้ยของเดือนถัดไปของแบบ B จะน้อยกว่าแบบ A นะครับ(เพราะคุณจ่ายของวันที่ 26-27 ไปแล้ว)

  16. xmiracle7

    นั่นซิคับ ผมอ่านแล้วก็ยังงงๆ ว่าิวิธีไหนมันดีที่สุด

  17. ddd (chadin)

    สรุปง่ายๆว่า
    จ่ายเร็วกว่า ก็จะดีกว่าครับ

Comments are closed.