หากคุณรู้ว่า " ถนนเข้า-ออกหมู่บ้านจัดสรร เป็นถนนภาระจำยอม " คุณจะซื้อบ้านในหมู่บ้านนั้นไหม

สอบถามเพื่อน ๆ ชายคาหน่อยค่ะ

หากคุณรู้ว่า " ถนนเข้า-ออกหมู่บ้านจัดสรร เป็นถนนภาระจำยอม "
คุณจะซื้อบ้านในหมู่บ้านนั้นมั้ย

หรือถ้ามารู้ทีหลังจากที่ซื้อบ้านแล้ว(โอนแล้ว)
คุณมีความรู้สึกอย่างงัยและจะทำอะไรบ้าง

ปล. เพิ่งมารู้ว่าบ้านที่ซื้อมีถนนเข้าออกเป็นถนนภาระจำยอม // questionสงสัยจังว่าคนอื่น ๆ คิดอย่างงัยกับเรื่องนี้

คำค้นหา:

  • ภาระจํายอม
  • ถนนภาระจํายอม
  • ถนนภาระจํายอม คือ
  • ถนนในหมู่บ้านจัดสรร
  • ถนน ภาระจํายอม
  • ถนนภาระจำยอม
  • ถนน ภาระจำยอม

23 thoughts on “หากคุณรู้ว่า " ถนนเข้า-ออกหมู่บ้านจัดสรร เป็นถนนภาระจำยอม " คุณจะซื้อบ้านในหมู่บ้านนั้นไหม

  1. หนุ่มยอดมนุษย์

    มันก้อยังดีกว่าถนนสมัยก่อนที่ไม่ยอมโอนเป็นทางสาธารณประโยชน์เทศบาลจะเข้าไปพัฒนาถนนก้อไม่ได้..ทุกวันนี้หมู่บ้านจัดสรรกฎหมายเขากำหนดให้ต้องยกถนนในโครงการเป็นทางสาธารณประโยชน์เเล้วครับ..

  2. Ma Chere

    รู้ทันทีว่าหมู่บ้านอะไร ถนนเข้า-ออกหมู่บ้านจัดสรรนั้น เป็นถนนที่อยู๋ข้างบ้านเราเองค่ะ คาดว่าไม่น่าจะมีผลอะไรนะค่ะ

  3. ครอบครัวเงินทอง

    จาก  คห.ที่ 1 ผมเจอหมู่บ้านหนึ่งสร้างมานานแล้วและทางโครงการยังไม่ได้ยกถนนให้เทศบาลหรือเขต เป็นทางสาธารณประโยชน์  และตอนนี้ตัวโครงการก็ไม่มีอยู่แล้ว  

    แบบนี้ควรทำอย่างไรครับ

  4. Moody-Angle

    ต้องดูก่อนค่ะ ว่าภาระจำยอม ที่ว่า เป็นของใคร

    หมู่บ้านเรามี 2 เฟส  
    ตอนซื้อบ้าน ทางโครงการโฆษณาว่า มีทางเข้าออกสองทาง
    หลังจากโอนแล้ว ระหว่างจัดตั้งนิติบุคคล ถึงได้ทราบว่า ถนนที่เราผ่านเข้าออกทุกวัน เป็นภาระจำยอม
    และทางโครงการก็ให้สิทธิในการผ่าน สำหรับทั้ง 2 เฟส

    ซึ่งตอนจดทะเบียนนิติฯ ภาระจำยอมนี้ก็จะติดตามไปด้วย
    ดูๆ แล้วก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรนะคะ

  5. peak6007

    หมู่บ้านผมก็เป็นตอนซื้ิอไม่รู้ มารู้ตอนโอนเสียความรู้สึกเล็กน้อย

    ไม่รู้ว่าอีกหน่อยพอโครงการขายหมดเวลาจะเข้าบ้านต้องเสียเงินหรือเปล่า

  6. แม่อ๊บ (obst)

    ดิฉันว่าทางเข้าหมู่บ้านไหนก็ตาม ไม่ว่าจะเอกชนสร้างขาย
    หรือของผู้คนในหมู่บ้านสร้างมานานแล้วก็ตาม ควรต้องเป็นถนนสาธารณะ

    ตปท.ที่ดิฉันอยู่ ต้องมีถนนสาธารณะก่อนจึงประกาศเป็นเขตที่อยู่อาศัยได้

    ถนนส่วนบุคคลก็มี แต่น้อยมาก

  7. รังสิมันตุ์จันทรวลัย

    เป็นเราก็คงเสียความรู้สึก และต้องคอยหวาดระแวงว่าวันไหนเจ้าของที่ดินที่จำยอมให้ผ่านทางนั้นจะตั้งด่านเก็บเงินเป็นค่าผ่านทางหรือเปล่า

    ถ้าเจ้าของที่ดินนั้นยอมขายที่ให้โครงการหรือยอมเสียที่ดินเป็นทางสาธารณะประโยชน์ก็ดีไป แต่ประการหลังเป็นคุณจะยอมง่ายๆ หรือ??

    และเห็นด้วยกับ คห.1 เพราะว่ามีหมู่บ้านหนึ่งในระยอง
    จนป่านนี้ก็ยังไม่ยอมยกถนนในหมู่บ้านให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์เลย
    ทั้งๆ ที่เป็นหมู่บ้านเปิด ใครอยากเข้าก็เข้า อยากออกก็ออก รถขายอะไรจะผ่านก็เข้ามา ไม่ได้มีหวงห้าม
    ทั้งๆ ที่เจ้าของที่ก็เฝ้าปากทางไว้ เกิดปัญหาขโมยอยู่เนืองๆ และสารพัดปัญหา
    การที่เทศบาล อบต. อบจ. จะเข้ามาพัฒนา ทำถนน วางท่อใหม่ก็ทำไม่ได้
    เพราะไม่ใช่ที่ของรัฐ เจ้าของหมู่บ้านไม่อนุญาตนี้ ก็ไม่รู้ว่าเขาได้ผลประโยชน์อะไรจากตรงนี้
    และเขารู้หรือไม่ว่าปัจจุบันคนที่อาศัยอยู่ที่นั่นก่นด่าสาปแช่งเขาอยู่ทุกวัน
    ยิ่งเวลาที่ฝนตกหนักมีน้ำท่วมเป็นประจำ น่าสงสารมากๆ
    เราเข้าไปทำงานแล้วเห็นสภาพก็พูดไม่ออก ทำอะไรให้ก็ไม่ได้มาก
    รัฐก็ได้แต่แก้ที่ปลายเหตุคือบริจาคของกินช่วยเวลาน้ำท่วมเท่านั้น

    ไม่ยกให้รัฐ ไม่จัดตั้งนิติฯ เปิดหมู่บ้านวิ่งเข้า-ออกได้ตลอด
    แถมยังเก็บค่าใช้จ่ายทุกๆ เดือน ไม่จ่ายก็ให้คนมาก่อความรำคาญแก่ลูกบ้าน

    เพิ่มเติม…มาคิดๆ ดูให้ตกเป็นภาระจำยอมก็ดีเหมือนกันนะ แต่ต้องจดทะเบียนหรือเขียนสัญญาชัดเจน

  8. บัตรผ่านสะเออะ

    โครงการที่มีมากกว่า 1 เฟส
    มักเป็นแบบนี้ทั้งนั้นครับ

    แง่ดีคือ ไม่ต้องทำโครงการเป็นโครงการเดียวขนาดมหึมา
    แต่ทำเป็นโครงการเล็กๆติดต่อกันแบบที่เรียกว่า Cluster และใช้เส้นทางนี้ร่วมกัน นึกถึงแกนก้างปลาหลักคือถนนภาระจำยอม ก้างปลาย่อยคือทางแยกเข้าแต่ละโครงการย่อย

    แง่เสียคือ ภาระจำยอมนั้นอาจทำให้ที่แปลงอื่นของบุคคลอื่นที่ได้ภาระจำยอมนั้น สามารถใช้ทางร่วมได้ด้วยครับ

  9. ควนโส

    หมู่บ้านจัดสรรกฎหมายเขากำหนดให้ต้องยกถนนในโครงการเป็นทางสาธารณประโยชน์เเล้วครับ.

    ไม่มีข้อบังคับนี้
    มีแต่สิ่งที่เป็นสาธารณูปโภค ต้องเป็นของสมาชิกหมู่บ้าน โดนสมาชิกรวมตัวกันบริหารด้วยนิติบุคคล
    จากนั้นถ้าสมาชิกที่ผ่านระบบนิติบุคคลเห็นว่า ด้วยการลงมติว่า ถนนจะยกให้เป็นสาธารณะก็ได้

  10. TLL01

    ถ้าเป็นทางสาธารณประโยชน์ยิ่งมีปัญหานะครับ เพราะหมายความว่าใครจะเข้าออกหมู่บ้านก็ได้ ไม่มีความปลอดภัย

    วิธีที่ดีที่สุดคือการเข้าสู่กระบวนการจัดสรรที่ดิน แต่ก็ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นมาก เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง

    ภาระจำยอมเป็นทางออกสุดท้ายที่ดีที่สุด ส่วนเรื่องนิติบุคคล ถ้าไม่มีการจัดสรรที่ดินไม่ทราบว่าตามกฏหมายแล้วสามารถตั้งนิติบุคคลได้หรือไม่

  11. ละอ่อนธรรม

    ภารจำยอม นั้นเป็นประโยชน์แก่เรานะครับ   พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินกำหนดบังคับไว้เลยว่า สาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดินที่ตั้งขึ้นภายหลังปี 2543  ไม่ว่าจะเป็น ถนน สวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น  ให้ตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร (ก็หมายถึงว่า ให้เป็นประโยชน์แก่บ้านทุกๆ หลังที่ตั้งอยู่ในโครงการนั้น  ไม่ใช่ว่าให้เสียประโยชน์)

    พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543

    มาตรา ๔๓  สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้

    ให้ผู้จัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้น และยังอยู่ในความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาของผู้จัดสรรที่ดินตามวรรคหนึ่งกับคณะกรรมการ และให้นำมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

  12. ละอ่อนธรรม

    ถ้ายกให้เป็นถนนสาธารณะของ อบต. หรือเทศบาล  ก็หมายความ พลเมืองทุกคนมีสิทธิจะเข้าใช้ประโยชน์ในถนนสาธารณะนั้นได้   ไม่มีใครมีสิทธิหวงกั้น   อย่างนี้ก็เท่ากับว่า ไม่มีความเป็นส่วนตัวทันที  ใครจะเข้าจะออกก็ได้ทุกเมื่อ  ถ้าไปปิดกั้นทางเข้า มีป้อมยาม รปภ. คอยตรวจบัตร อย่างนี้ทำไม่ได้  ขืนทำ  อาจจะโดนฟ้องศาลให้เปิดทางเสรี   อย่างนี้ ผลเสียตกอยู่กับเจ้าของบ้านในหมู่บ้านนั้นเอง

  13. MirrorLake

    ขึ้นกับว่าภาระจำยอมนั้นจะมีผลต่อความวุ่นวายและการจัดการของหมู่บ้านแค่ไหน

    ถ้ามีชุมชนหนาแน่นที่ต้องมาใช้ทางร่วม จะก่อปัญหาเรื่องความปลอดภัย จะจัดการบริเวณนั้นให้สะอาดเรียบร้อยก็ทำได้ยาก

  14. nat1234

    เอ เรื่องถนนในหมู่บ้าน

    ถนนในหมู่บ้านก้อต้องเป็นสิทธิของคนในหมู่บ้านซิครับ
    เจ้าของหมู่บ้านก้อคือสมาชิกทุกคนในหมู่บ้านนั่นแหล่ะ
    จะยกให้เป็นของรัฐหรือไม่ ก้อขึ้นอยู่กับมติในที่ประชุม
    ในเมื่อเสียงส่วนใหญ่ของคนในหมู่บ้านลงมติว่าไม่ยอมยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ก้อต้องยึดตามนั้น

    ว่าแต่ ยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ มันดีจริงหรือครับ

  15. จูออน07

    ความเห็น13 ละเอียดแล้วค่ะ
    แต่เวลาโอน อย่าโอนแต่บ้านและที่ดินที่เราซื้อ

    ต้องจดภาระจำยอมด้วย แปลว่า แปลงถนนนั้น เราสามารถเข้าออกได้ตลอดไม่มีการปิดถนนไม่ให้เราเข้า

    สรุป อย่าลืมให้จดภาระจำยอมเพิ่มด้วยค่ะ

    แต่ถ้าเราไม่จดภาระจำยอมไว้ อีกหน่อยอาจมีปัญหาในการเข้าออกได้ค่ะ

    ปล.ถนนในโครงการ ถ้ามีภาระจำยอม แสดงว่า ณ ปัจจุบัน ยังเป็นพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวของโครงการนั้นๆๆ เค้าต้องจดภาระจำยอมให้เราในแปลงที่เป็นถนน

    ส่วนในอนาคต ถ้าเจ้าของโครงการจะยกให้เป็นสาธารณประโยชน์ก็ดีไป
    แต่ถ้าไม่ยกเราก็ไม่มีปัญหาค่ะ

  16. แม่ถ้วยฟูฯ

    ตามความเห็นคุณจูออน07เลยค่ะ (ชื่อน่ากลัวจังค่ะ)

    ภารจำยอมไม่เหมือนทางจำเป็น เค้าจะมาปิดหรือเก็บเงินค่าเข้าออกไม่ได้ค่ะ เป็นหน้าที่เจ้าของที่ดินที่เป็นทางเข้าออกต่อเจ้าของที่ดินที่ได้สิทธิเข้าออก (คนชอบเอาภารจำยอมไปปนกับทางจำเป็นซึ่งมีสิทธิทางกม.แตกต่างกันค่ะ)

  17. จขกท (ป้านัท)

    ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นค่ะ

    คุณละอ่อนธรรม : ถนนเข้าออกหมู่บ้านเป็นถนนอยู่หน้าเข้าทางโครงการค่ะ ไม่ใช่สาธารณูปโภคของโครงการ(ไม่ใช่ถนนในหมู่บ้านค่ะ)

    คุณMoody-Angle : ที่บอกว่า " ตอนจดทะเบียนนิติฯ ภาระจำยอมนี้ก็จะติดตามไปด้วย " ทำอย่างงัยค่ะ มีขั้นตอนอย่างไร แล้วป้อมรปภ. ใครดูแลค่ะ เพราะบอกว่ามี 2 เฟส ตอนจดนิติ จดเป็นนิติเดียวหรือค่ะ

    คุณMirrorLake : เราก็กังวลเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักค่ะ

    คุณจูออน07 : " อย่าลืมให้จดภาระจำยอมเพิ่มด้วยค่ะ " ให้โครงการ จดภาระจำยอมให้เราหรือค่ะ ทำอย่างไรค่ะ

  18. กองกำลัง12วานร

    เคยเจอแต่ก่อนหน้าเป็นของหมู่บ้าน พอสักพักโอนไปเป็นของคนอื่นแล้วจดภาระจำยอม
    เรื่องเลยท่าจะแย่ เพราะตอนนี้ก็มีการฟ้องร้องกันค่ะ ไม่แน่อาจจะมีร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐ

  19. Kingdom of Heaven

    ต้องถามก่อนว่าใครเป็นฝ่ายจำยอม
    เพราะอย่างหมู่บ้านที่ผมซื้อ ทางโครงการเป็นฝ่ายจำยอมให้ชาวบ้าน
    แถวนั้นใช้ทางสัญจรตัดผ่านโครงการได้ ถ้าไม่ให้เป็นภาระจำยอม
    ชาวบ้านแถวนั้นก็คงเดือดร้อนกัน
    ส่วนใหญ่แล้วโครงการบ้านต่างๆ น่าจะเข้าเงื่อนไขนี้ เพราะถ้าเป็น
    ตรงข้าม มันคงเป็นไปได้ยาก เพราะนั้นหมายถึงโครงการไปตั้งอยู่
    เป็นไข่แดงในที่ทางของคนอื่น จึงต้องขอให้เจ้าของที่ยอมให้ผ่าน
    เป็นภาระจำยอม ถ้าเป็นแบบนี้ คงไม่มีใครยอมซื้อบ้านโครงการนั้นแน่
    แล้วทางเจ้าของโครงการเองจะลงทุนมหาศาลขนาดนั้นก็คงไม่โง่ไปทำ
    โครงการในที่ดินแบบนั้น
    อย่างน้อยทางโครงการต้องซื้อที่ดินในส่วนของทางเข้าออกเพื่อให้
    คนซื้อบ้านได้สิทธิ์ในการผ่านได้แบบชัวร์ๆ หรือไม่ก็ไม่ทำโครงการ
    ในที่ดินที่มีทางเข้าออกเป็นสาธารณะอยู่แล้ว

    ดังนั้น คำตอบคือ ถ้าทางโครงการเป็นฝ่ายยอมให้คนอื่นผ่าน ก็อาจเกิด
    ปัญหาคนภายนอกเข้าออกได้โดยอิสระ ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก
    ก็ไม่ถือว่าเลวร้ายมากนักถ้าจัดรปภ.ให้ทำงานอย่างเข้มงวด ความน่าสนใจ
    ที่จะซื้อบ้านในโครงการแบบนี้ก็ลดลง
    แต่ถ้าโครงการต้องขอให้คนอื่นยอมให้ใช้ถนนเป็นทางผ่านเข้าออก อันนี้
    ถือว่าแย่สุดๆ เป็นผมไม่ซื้อแน่นอน แทบไม่ต้องคิดเลย

  20. lookwai

    ผมเดาว่ามีหลายท่านหลงประเด็นนะครับ ถ้าผมเข้าใจไม่ีผิด เจ้าของกระทู้น่าจะหมายถึงทางเข้าหมู่บ้านก่อนเข้าภายในโครงการ ถามว่าแปลกไหมคงไม่แปลกหรอกครับ ถ้ามองในแง่ดีคือผู้ขายจัดการเรืื่องทางเข้าออกก่อนเข้าให้ภายในโครงการ (เบอร์ 1 ของวงการก็มีบางที่ใช้แบบนี้)
      ส่วนถนนภายในโครงการ ก็ยืนยันว่าไม่มีข้อกำหนดบังคับว่าถนนภายในโครงการต้องยกเป็นทางสาธารณประโยชน์
    ภารจำยอมก็คือการให้สิทธ์การใช้ประโยชน์(ตามที่เขียนไว้ในบันทึกข้อตกลง)
    เพียงแต่ไม่ได้ถือกรรมสิืทธิ์เท่านั้นเองครับ

  21. อุ่นละไม

    เราอยู่่มาสามปีแล้ว เจ้าของเขาเพิ่งลงมือสร้างเฟสสองด้านในที่ลึกเข้าไป
    ไมไ่ด้เซ็งเรื่องคนที่อยู่เฟสข้างในเข้าออกหรอก เซ็งตอนก่อสร้างนี่แหละ
    ทั้งรถใหญ่เข้าออก ทั้งฝุ่น ทั้งสะเทือน ปัญหาขยะแคมป์คนงาน
    วันไหนมีตลาดนัด คนงานพวกนี้จะเดินสวนสนามในหมู่บ้าน ตั้งแต่
    ช่วงห้าโมงไปถึงสองทุ่มโน่น พร้อมทั้งเสียงโหวกเหวกโวยวาย และเสียงหมาเห่าหอน
    เฮ้อ เซ็งคอดๆ

Comments are closed.