ปัญหาที่ดิน กับ ภาระจำยอม [ย้ายจาก : ]

สวัสดีครับ

คือ ผมมีปัญหาเกี่ยวกับ การจดภาระจำยอมของที่ดิน

ไม่รู้จะตั้งที่ห้องไหนดี แต่ในห้องชายคา
น่าจะมีผู้มีความรู้หลายท่านพอให้คำแนะนำได้

เรื่องอาจยาวหน่อย แต่จะพยายามเล่าให้ได้ใจความ และกระชับมากที่สุด
รบกวนอ่านหน่อยละกันนะครับ 🙂

By: จ่ามี
Since: 25 พ.ค. 55 09:05:40

20 thoughts on “ปัญหาที่ดิน กับ ภาระจำยอม [ย้ายจาก : ]

  1. admin Post author

    เรื่องมีอยู่ว่า

    ผมได้รับที่ดินแปลง A. จากพ่อ (เป็นมรดกตกทอดจาก ปู่,ย่า อีกที)
    เป็นที่ดินปากซอย ติดถนนสาธารณะ มีรายละเอียดดังนี้

    1. มีการตัดถนน เป็นซอยส่วนบุคคล กว้าง 6 เมตร เพื่อให้ที่ดินด้านหลัง
        ผ่านเข้า-ออกไปยัง ถ.สาธารณะได้ 10 แปลง ตั้งแต่ปี 2530

    2. โดยมีที่ดินแปลง A และ B ซึ่งเป็นที่ปากซอย
        ยอมกันที่ดินเป็นเขตถนน ข้างละ 3 เมตร

    3. ที่ดินมีการจดทะเบียนภาระจำยอม ที่สำนักงานทีดินจังหวัด
        รวมแล้วทั้งหมด 8 แปลง

    4. มีที่ดิน 2 แปลงที่ไม่ได้มีการจดภาระจำยอม

    5. มีการทำบันทึกข้อตกลง ในการทำถนนซอยดังกล่าวไว้
        ว่าจะทำถนนกว้าง 6 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดิน ทั้ง 10 แปลง
        โดยเจ้าของที่ดิน (ณ ตอนนั้น) ทุกแปลง ได้ทำการลงนาม
        ไว้ในบันทึกข้อตกลงนั้นทุกคน
                     
    6. เอกสารข้อตกลงดังกล่าว เป็นเอกสารที่ทำกันขึ้นเอง
       ไม่ได้เป็นเอกสารที่มีการรับรองจากเจ้าหน้าที่ ที่ดิน หรือ อำเภอ

    7. สภาพซอยปัจจุบัน คือที่ดินทั้ง 10 แปลงใช้เข้าออกกันตามปรกติ
        รวมทั้งมีที่ดิน แปลงที่ 11-15 ที่ไม่ได้มีการจดภาระจำยอมให้
        ใช้เป็นถนนเข้าออกอยู่ด้วย

    By: จ่ามี
    Since: 25 พ.ค. 55 09:07:43

  2. admin Post author

    ปัญหา

    สำหรับเจตนาที่ทำถนนซอยเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว (พ่อเล่าให้ฟังอีกที)
    ก็เพื่อตัดถนนซอย เข้าไปยังบ้าน ไปยังสวนของตนเอง
    เจ้าของที่ดินก็เป็นคนรู้จักๆ กันไม่คิดว่าจะมีปัญหาอะไร ไม่ได้คิดค่าอะไรกันมากมาย
     
    ปู่,ย่าก็เป็นชาวบ้าน ชาวสวน ไม่ได้อ่านว่าสัญญาคืออะไร เค้าให้เซ็น ก็เซ็น
    ที่ดินเอง ก็เป็นเรือกสวนไม่ได้มีราคาค่างวดอะไรมากมาย

    เวลาผ่านไป ความเจริญเข้ามาถึง เจ้าของที่ดินเริ่มมีการเปลี่ยนมือ
    จึงทำให้ปัญหาเรื่องภาระจำยอมที่ทำกันไว้ไม่เรียบร้อย เริ่มผุดขึ้นมาตามนี้ครับ

    .

    By: จ่ามี
    Since: 25 พ.ค. 55 09:09:24

  3. admin Post author

    สำหรับการจดภาระจำยอมที่ถูกต้องในกรณีนี้ จะต้องทำการจดภาระจำยอม ดังนี้
    (จากที่ได้หาลองหาข้อมูล และปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่ดิน)

             A,B        ให้  1,2,3,4,5,6,7,8,9,10
             1,2        ให้  3,4,5,6,7,8,9,10
             3           ให้  4,5,6,7,8,9,10
             ……
             9           ให้  10

    ซึ่งจากภาระจำยอมที่ทำการจดไว้จริงนั้น  ไม่ถูกต้องหลายอย่าง ดังนี้

    1. มีการภาระจำยอม ไม่ครบทุกแปลง คือ A และ B ให้ 1,2,3,4,5,6,8,9 เท่านั้น
        แปลง 7 และ 10 ไม่ได้จดภาระจำยอมให้

    2. การจดภาระจำยอมทั้งหมด ได้จดไว้ที่แปลง ปากซอยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น !
       (คือจด A และ B ให้ 1,2,3,4,5,6,8,9)

       โดยไม่มีการจดภาระจำยอมตามด้านล่างเลย
             1,2        ให้  3,4,5,6,7,8,9,10
             3           ให้  4,5,6,7,8,9,10
             …
             9           ให้  10

    3. แปลงที่ 1,2 ซึ่งเจ้าของเป็นคนเดียวกัน (เปลี่ยนมือจากเจ้าของเดิมที่ทำซอยแล้ว)
        อ้างสิทธิ์ว่าที่ดินแปลง แปลง 3,4,5,6,7,8,9,10 ไม่สามารถผ่านที่ดินของตนได้
        เนื่องจากไม่ได้จดภาระจำยอมให้

    4. การจดภาระจำยอมของที่ดิน แปลง A,B ให้ แปลง 1,2,3,4,5,6,8,9,10 นั้น
        ไม่ได้ทำการจดพร้อมกันในครั้งเดียว ก็ยังมีความผิดพลาดอีก ดังนี้

                  4.1 จดภาระจำยอมให้เป็นถนนข้างละ 6 เมตร
                        ทำให้จดเป็นถนนซอยกว้างถึง 12 เมตร !
                        (ที่ถูก เป็นข้างละ 3 เมตร รวมถนนกว้าง 6 เมตร)

                  4.2 บางภาระจำยอมจดระบุแนวถนนผิดทิศ ไม่ตรงกับทิศจริงของถนน

                  4.3 บางภาระจำยอมก็จดให้กับที่ดินทั้งแปลงเลย !!!
                       (อันนี้เครียดเลย -"-)

    By: จ่ามี
    Since: 25 พ.ค. 55 09:12:36

  4. admin Post author

    ทั้งนี้ ได้ลองปรึกษาปัญหาดังกล่าว กับทางเจ้าหน้าที่ที่ดินแล้ว

    ได้รับข้อมูลว่า ภาระจำยอมทั้งหมดที่ได้ทำไว้ เป็นนิติกรรมที่ถูกต้องทั้งหมด
    (ซึ่งผิดจากสภาพความเป็นจริง และเจตนาของผู้เริ่มทำถนนซอย)

    การแก้ไขภาระจำยอมดังกล่าวให้ถูกต้อง สามารถทำได้โดยให้คู่กรณีทั้งหมด

    ยกเลิก และ ทำการจดทะเบียนใหม่ทั้งหมด เท่านั้น !!!

    ซึ่งเจ้าของที่ดินหลายๆ แปลงก็ได้เปลี่ยนมือไปแล้ว และบางเจ้าก็เริ่มจะมีปัญหา
    ใช้ช่องโหว่ของสัญญาอ้างสิทธิ์ (ซึ่งสัญญาที่ทำไว้เป็นประโยชน์กับเค้า)

    คือ คุยกันไม่รู้เรื่องแน่ๆ

    By: จ่ามี
    Since: 25 พ.ค. 55 09:13:50

  5. admin Post author

    คำถาม และ แนวทางการแก้ปัญหา

    1. ผมควรแก้ปัญหาอะไรก่อนดี ? คือปัญหามันเยอะเหลือเกิน
       (หลักๆ ต้องการแก้ปัญหาข้อ 4 ทั้งหมด โดยเฉพาะข้อ 4.3 !!! )

    2. กรณีนี้ คงต้องใช้ทนายช่วยแน่ๆ
        รบกวนทุกท่านแนะนำทนายที่เชี่ยวชาญปัญหาเกี่ยวกับที่ดิน
        หรือหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวปัญหาที่ดินต่างๆ

    3. รบกวนขอคำแนะนำอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ด้วยครับ ?

    ขอบคุณทุกท่านที่เสียสละเวลาอ่าน และขอบคุณล่วงหน้า
    สำหรับคำแนะนำ และความเห็นต่างๆ ครับ

    ขอบคุณครับ

    By: จ่ามี
    Since: 25 พ.ค. 55 09:16:27

  6. admin Post author

    เข้ามาอ่าน ไม่รู้จะแนะนำอย่างไรเพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้ ว่าแต่ที่ดินอยู่จังหวัดอะไรละเนี่ย เพราะถามเรื่องทนายน่ะ แล้วก็เจ้าของกระทู้เป็นเจ้าของที่ด้านหน้าไม่ใช่เหรอ

    By: natlapoon
    Since: 25 พ.ค. 55 09:52:43

  7. admin Post author

    อ่านแล้วปัญหา ซับซ้อนจริงๆ ครับ (ในความเห็น)
      ถ้าจะเรียกทั้งหมดมาเคลียร์ดูอาการแล้วคงยาก ใช่มั้ยครับ
    ในฐานะเจ้าของที่ดิน A เป็นผมคงปรึกษากับที่ดิน B ก่อนให้เป็นแนวทางเดียวกันก่อนเนื่องจากอยู่ปากซอยเหมือนกัน แล้วเคลียร์ ที่คนที่ไม่มีปัญหาไปก่อน เพื่อหาพวก และลดความเสียหายกับที่ดินเราก่อน
    ส่วนที่มีปัญหาคงต้องเคลียร์กันยาว อย่างน้อยก็หาแนวร่วมก่อน

    By: TuM & Ning
    Since: 25 พ.ค. 55 10:03:13

  8. admin Post author

    เฮ้อ มาดูคำตอบด้วยคน อย่างนี้คงต้องพึ่งทนาย + ศาลเท่านั้นมั๊ง
    ปล.คามคิดของคนไม่รู้เรื่องอย่างผม ยังไงมันก็เป็นทางที่ใช้สัญจรกนมาหลายปีแล้ว (กึ่งๆทางสาธารณะ) ถ้าทุกคนเซ็นต์ยกให้เป็นทางสาธารณะ (ของ อบต. หรือเทศบาลบาล หรือกทม.ก็แล้วแต่) น่าจะง่ายกว่าไหม ไม่ต้องเซ็นต์เอกสารหลายฉบับด้วย

    By: zenario
    Since: 25 พ.ค. 55 10:32:44

  9. admin Post author

    สรุป หลักการคร่าวๆ สิทธิของเจ้าของที่ดิน  เพื่อเป็นแนวทาง แต่งานนี้ ต้องพึ่งทนาย เรียกร้องสิทธิ ค่ะ

    1. การจดภาระจำยอม ที่เจ้าของที่ดินเดิมทำไว้ กะ กรมที่ดิน ถือว่าถูกต้อง แม้ว่าจะมีการขาย เปลี่ยนมือมา สิทธินั้นยังคงอยู่ ตกทอดไปถึง เจ้าของคนปัจจุบัน  คืออนุญาตให้ผ่านทางได้ (ตามที่ระบุไว้)

    2. กรณีที่ได้ตกลง ทั้งบันทึก และ ไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน ว่า ให้แค่ 6 เมตร ดังนั้น เจ้าของที่ดินมีสิทธิ เรียกคืน 4 เมตร ได้   (อันนี้ เจ้าของที่ดินใหม่ สามารถยกเป็นข้อต่อสู้ได้นะ เพราะ โฉนดย่อมระบุ ภาระจำยอม เพียง 6 เมตร แต่พอเห็นสภาพจริง รังวัดใหม่  แต่รีบหน่อยก้อดีนะ ไม่งั้นจะติดเรื่องอายุความได้ คือรู้แล้ว แต่ยังปล่อย )

    3. กรณีที่ ไม่ได้จดภาระจำยอมให้ กับบางแปลงนั้น ต้องมาดูว่า ตลอดระยะเวลาที่ ให้เจ้าของแปลงอื่นผ่านนั้น เค้าได้ใช้เป็นเส้นทางผ่าน เกิน 10 ปีแล้วเหรอยัง ถึงแม้ว่า จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ เค้าก้อสามารถขอให้เจ้าของที่ดินไปจดทะเบียนได้ (แต่ต้องร้องขอต่อศาล บังคับให้จดได้ ต้องไปพิสูจน์กันอีกที )

    *** ข้อสังเกตุ นะ กรณีนี้ การต่อสู้ในชั้นศาล เจ้าของที่ดินที่ยอมให้เดินผ่าน อาจจะต่อสู้ได้ ว่า เป็นการผ่านแบบ ถือวิสาสะ (คือผ่านเอง ยังไม่ได้อนุญาต  )

    4. การที่จะมาเริ่มนับใหม่ จดสิทธิใหม่ ได้ค่ะ หากทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันได้ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก้อให้ใช้สิทธิเดิมที่เคยอนุญาต ส่วนคนที่ไม่ได้รับอนุญาต และ เจ้าของที่ดินที่ยอมให้ที่ดินของตัวเองเป็น ภาระจำยอม อาจจะ เรียกค่าผ่านทาง จากเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้สิทธิ นั้นได้

    อันนี้ เป็นแนวทาง เพราะ แต่ละฝ่าย จะต้องไปพิสูจน์ สิทธิ แท้จริงกันอีกที แต่ ขอย้ำให้สบายนิดนึง เจ้าของโฉนด ย่อมมีสิทธิดีกว่า ใครๆๆ ค่ะ ตราบใดที่คุณ ยังไม่ได้ยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่ทางราชการ และ เส้นทางผ่านเข้าออกนั้น ไม่ใช่เป็นเส้นทางเดียว  

    แนะนำ ไปตั้งห้อง ศาลาประชาคม จะดีกว่าค่ะ ห้องนั้น ท่านที่ให้ความรู้ด้านกฎหมาย เก่งๆๆ เยอะค่ะ

    By: soluna
    Since: 25 พ.ค. 55 10:44:56

  10. admin Post author

    เข้าใจว่าถ้าที่ของใครที่มีหลังโฉนด ไม่ได้จดภาระจำยอมในอนาคตไม่มีสิทธิเข้าออกได้ ถ้าเจ้าของที่ด้านหน้าไม่ยินยอม มันต้องมีการลงลายลักอักษรให้ชัดเจนหลังโฉนด ต้องให้เจ้าของที่ต้องการผ่านที่คุณไปทำการจดภาระจำยอมให้ถูกต้อง ตอนที่คุณซื้อทีแรกไม่มีปัญหา แต่ตอนนี้ได้เเปลี่ยนมือซื้อ ขาย โอน แบ่งแยก มันมีปัญหา โดยเฉพาะกับรุ่น ลูก หลาน แน่นอน

    By: Nipa (loveanimals)
    Since: 25 พ.ค. 55 11:04:24

  11. admin Post author

    1 กับ 2 นี่คิดยังไงไม่ให้คนอื่นผ่าน ตัวเองก็ต้องผ่านที่ดิน A กับ B ด้วยแท้ๆ
    แบบนี้ต้องบีบค่ะ ถ้า 1 กับ 2 ไม่ให้คนอื่นผ่าน A กับ B ก็อย่าให้ 1 กับ 2 ผ่าน

    By: asujug
    Since: 25 พ.ค. 55 11:07:32

  12. admin Post author

    .

    คุณ natlapoon    : ที่ดินอยู่ชานๆ เมืองกรุงเทพ ที่ดินก็อยู่ด้านหน้าครับ
                              แต่สัญญาที่ทำๆ กันเอาไว้นี่แบบว่า อ่านเจอแล้วทรุดเลย

    คุณ TuM & Ning : ที่ดินแปลง B ก็เป็นของญาติกันแหละครับ ก็ทำผิดเหมือนๆ กัน
                              หลายๆ แปลงคงคุยกันรู้เรื่อง  และอีกบางแปลงคุยกันยาก

    คุณ zenario        : สำหรับยกเป็นทางสาธารณะ เคยจะทำเหมือนกัน
                              แต่มีบางแปลงไม่ยอมครับ

    คุณ soluna         : ให้ข้อมูลมาเพียบ ขอบคุณมากครับ
                              เดี๋ยวไปทำ link มาจากห้องศาลาประชาคมอีกทาง

    By: จ่ามี
    Since: 25 พ.ค. 55 11:16:20

  13. admin Post author

    ภาระจำยอม  เกิดขึ้นได้ 2 วิธี

            1. โดยจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่

             2. โดยอายุความ   … เจ้าของที่ดินรายใดยินยอมให้เจ้าของที่ดินรายอื่น

    ผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ  โดยสงบและเปิดเผย  เป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป

    ทางนั้นเป็นภาระจำยอม   (เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น  ต้องสู้ความกันในศ่าล)

    By: dpdome32
    Since: 25 พ.ค. 55 11:25:00

  14. admin Post author

    แล้วที่ดินด้านในเดิมเคยเป็นสวน แล้วตอนนี้จะทำอะไรครับ question  

    ใจเขา ใจเรา
    ถ้าด้านใน ผุดคอนโด หรือ สถานบันเทิง

    คนในนั้น คงเครียดเหมือนกันนะ
    เพราะถนนบุคคล ที่เคยอะลุ่มอล่วยสละทีดินให้

    กลับกลายเป็นที่สาธารณะของ สถานประกอบการณ์

    By: TrialWare
    Since: 25 พ.ค. 55 11:40:04

  15. admin Post author

    การจดบันทึกเรื่องใช้ที่ดินเป็นภาระจำยอม โดยมิได้จดทะเบียนต่อสำนักงานที่ดินนั้น ย่อมบังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา
    และถือว่าเป็นบุคคลสิทธิ หมายถึง ย่อมเรียกร้องต่อกันได้ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น
    ส่วนคนที่รับโอนมาไม่ใช่คู่สัญญาในฐานะบุคคลสิทธิ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในเรื่องภาระจำยอมนี้แต่อย่างใด

    แต่ถ้าการตกลงเรื่องภาระจำยอมนั้น ได้จดทะเบียนสิทธิไว้กับเจ้าหน้าที่แล้ว
    ย่อมถือได้ว่าการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้น เป็นทรัพยสิทธิ ส่งผลให้ภาระจำยอมตกติดไปกับที่ดินไม่ว่าจะโอนไปให้แก่ผู้ใดก็ตาม

    อีกหนึ่งที่เกิดภาระจำยอม คือ เกิดโดยอายุความ
    หมายถึง เดินเข้าออกมาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน ๑๐ ปีขึ้น ก็จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความ ทั้งนี้โดยไม่ต้องไปขอจดทะเบียนแต่อย่างใด
    เพราะเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตาม ปพพ ม.๑๒๙๙ ว.๒ ประกอบ ม.๑๓๘๗ และ ม.๑๔๐๑ และ ม.๑๓๘๒

    เรื่องนี้มีคำบางคำที่ใช้เป็นข้อต่อสู้ หรือ ฟ้องให้ชนะคดีกันได้อยู่ในคำถามแล้ว
    ดังนั้นผมขอแนะนำหลักกฎหมายกว้างๆ โดยไม่ขอระบุว่า คำใดจะชนะคดี และคำใดจะทำให้แพ้คดี

    หมาหอน

    By: น้าออด
    Since: 25 พ.ค. 55 12:05:19

  16. admin Post author

    ลองดูตัวอย่างการฟ้อง ภาระจำยอมที่ได้มาโดยกฎหมาย (ไม่ได้จดทะเบียนไว้ แต่ได้เพราะใช้มานานเกิน 10 ปี) ไม่รู้ว่าจะได้ประโยชน์มั๊ยนะคะ แต่ข้อมูลน่าจะครบถ้วนเข้าใจง่าย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกีับที่ดินแปลงที่ไม่ได้จดภาระจำยอมไว้ กรณีนี้มีถนนตัดไว้นานแล้วกับพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องมาก ไม่น่าจะฟ้องยาก แต่ถ้าคุยให้เจ้าของที่ดินที่ไม่ให้ผ่านเข้าใจกฎหมายก็อาจจะไม่ต้องฟ้องร้องกันค่ะ

    http://www.facebook.com/photo.php?fbid=356547181046328&set=a.356547094379670.88827.286462761388104&type=3&theater

    By: แม่ถ้วยฟูฯ
    Since: 25 พ.ค. 55 12:55:30

  17. admin Post author

    ที่ดินที่อนุญาต หรือไม่อนุญาต แต่มีการผ่านเข้าออกเกินกว่า 10 ปี นั้นผมว่าย่อมตกเป็นภาระจำยอมแล้วครับ ทางผมก็มีปัญหาอย่างนี้เหมือนกัน ถามทนาย ถามที่ดิน ทุกท่านก็บอกไว้อย่างนี้ ว่าเจ้าของปากทางไม่มีสิทธิที่จะปิดทางได้

    ผิด ถูก อย่างไรจะรอฟังคำตอบด้วยคน

    By: โมน้อยกุ๊บกิ๊บ
    Since: 25 พ.ค. 55 22:28:32

  18. admin Post author

    ขอบคุณทุกๆ คำแนะนำครับ ผมอาจจะเล่าปัญหาเยอะเกินไปหน่อย

    แต่ประเด็นปัญหาของผมจริงๆ จะเป็นปัญหาในข้อ 4 ครับ (ความเห็นที่ 4)

        4.1 ภาระจำยอมควรจะเป็นแนวถนน 3 เมตร แต่จดไว้ 6 เมตร
        4.2 ภาระจำยอมควรอยู่แนวถนน ทิศใต้ แต่จดไว้ ทิศตะวันออก
        4.3 บางภาระจำยอมจด โดยให้ทั้งแปลง A เลย !!

    เราจะสามารถแก้ไข ภาระจำยอมที่ไม่ถูกต้องข้างบน ได้อย่างไรบ้างครับ
    ถ้าคู่กรณีไม่ยอมเซ็นแก้ไขให้

    ขอคำแนะนำด้วยครับ

    .

    By: จ่ามี
    Since: 26 พ.ค. 55 06:56:44

  19. admin Post author

    4.2 น่าจะเจรจาไม่ยากนะคะ เค้าน่าจะอยากแก้อยู่แล้ว เพราะเป็นประโยชน์ของเค้าด้วย

    แต่ 4.1 กับ 4.3 คงลำบากน่ะค่ะ ต้องพยายามเจรจา ถ้าไม่สำเร็จอาจต้องลองฟ้องดู

    มีกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับการหมดไปของภาระจำยอมอยู่สองมาตรา ถ้าทนายเก่งๆอาจจะเขียนฟ้องให้ชนะได้หรือเปล่าไม่รู้นะคะ ต้องลองปรึกษาดู เพราะเคยค้นดู ฎีกาเก่าๆก็ยังไม่เคยเจอตรงๆแบบนี้

    มาตรา 1399 ภารจำยอมนั้นถ้ามิได้ใช้สิบปี ท่านว่าย่อมสิ้นไป

    มาตรา 1400 วรรค สอง ถ้าภารจำยอมยังเป็นประโยชน์แก่สามยทรัพย์อยู่บ้าง แต่เมื่อเทียบกับ ภาระอันตกอยู่แก่ภารยทรัพย์แล้ว ประโยชน์นั้นน้อยนักไซร้ ท่านว่าเจ้าของภารยทรัพย์จะขอให้พ้นจากภารจำยอมทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน

    By: แม่ถ้วยฟูฯ
    Since: 26 พ.ค. 55 09:05:19

Leave a Reply